HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 12/06/2556 ]
โรคใหม่ยอดฮิตหนุ่มสาวออฟฟิศ

 หลายๆ คนอาจจะได้ยินคำว่า ออฟฟิศซินโดรม กันจนชินหู จากอาการนั่งทำงานนานอยุ่หน้าจอคอมพ์ อยู่หน้ากองเอกสาร ไม่ได้ลูกไปไหนจนปวดร้าวไปทั่วร่าง แต่ตอนนี้มีโรคเกี่ยวกับการทำงานที่ (ชื่อ) ใหม่กว่า และเฉพาะเจาะจงไปที่ต้นเหตุกันเลยคือ โรคคอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดรม หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรคซีวีเอส ซึ่งเจ้าโรคนี้มักจะเกิดกับผู้ที่ต้องใช้สายตาอยู่หน้าคอมพ์เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการแสบตา ปวดตา ตาพร่ามัว และอาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วย โดยสาเหตุส่วนใหญ่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ประการ
          1 ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เรียกว่าเพ่งหรือจ้องจนตาแทบไม่กะพริบ ปกติแล้วคนเรามักจะต้องกะพริบตาอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเกลี่ยน้ำตาให้คลุมทั่วผิสตา โดยมีอัตราเฉลี่ยกะพริบตา 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งในช่วงที่เราอ่านหนังสือหรือจ้องคอมพ์นานๆ จะทำให้อัตราเฉลี่ยการกะพริบตาลดลง ทำให้ผิวตาแห้ง เกิดอาการตาแห้ง รู้สึกฝืด
          2 แสงจ้า  แสงสว่างจากนห้าจออาจทำให้ดวงตาเมื่อยล้า หรือการใช้คอมพ์ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอก็มีส่วน แสงจากหน้าต่างที่ส่องหน้าจออาจสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทางที่ดีควรจัดห้องทำงานไม่ให้มีแสงจ้าส่องหน้าจอ
          3 ระยะห่าง ระยะห่างของสยตากับหน้าจอ ควรจัดให้อยู่ในระยะที่เหมาะสมประมาณ 45-50 ซม. และตาจะต้องอยู่สูงกว่าจอภาพ โดยเฉพาะผุ้ที่สวมแว่นสายตา จะสามารถมองจอผ่านแว่นสายตาได้ในระดับที่พอดี
          ข้อแนะนำ สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของสายตาอยู่แล้ว ไม่ว่าจะสายตาสั้น เอียง หรือยาว แนะนำว่าควรแก้ไขสายตาให้มองเห็นได้ชัดที่สุดจะได้ไม่ต้องเพ่งสายตา ทำให้เกิดอาการตาล้าได้ หลังจากทำงานอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานานๆ ควรจะหาเวลาพักสายตาทุกๆ 5-10 นาที กะพริบตาบ่อยๆ ให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาป้องกันอาการตาแห้ง ปรับแสงสว่างของหน้าจอไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป ปรับให้มองแล้วรู้สึกสบายตาที่สุด นอกจากการดูแลดวงตาด้วยปัจจัยภายนอกแล้ว ก็อย่าลืมที่จะดูแลดวงตาคู่สวยด้วยการกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตาอย่างผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทั้งหลาย


pageview  1205849    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved