HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 21/05/2556 ]
สิ่งเสพติดอันตราย ทำร้ายคนใกล้ชิด

  บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดอันตรายอย่างหนึ่ง มีสารพิษไม่น้อยกว่า 4,000 ชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสารก่อมะเร็งไม่น้อยกว่า 60 ชนิด โดยองค์การอนามัยโลกเคยสรุปถึงอันตรายของการสูบบุหรี่ว่า "ผู้สูบตายก่อนวัยอันควรมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ"
          แม้ในปัจจุบันหลายคนจะรู้จักกันดีถึงโทษของบุหรี่ว่าไม่มีประโยชน์ต่อผู้สูบแต่อย่างใด แต่ก็ยังคงมีอีกหลายๆ คนที่ยังคงชะล่าใจมองข้ามถึงพิษภัยที่ไม่ได้มีผลต่อเพียงผู้สูบเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิด โดยสถาบันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา และศูนย์วิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ พิสูจน์แล้วว่า ควันบุหรี่มือสองเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เมื่อคนไม่สูบบุหรี่ได้รับควันบุหรี่มือสองก็จะได้รับสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกายเช่นเดียวกับคนสูบบุหรี่ แม้จะได้รับเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็เป็นอันตรายได้
          หากผู้ใกล้ชิดคนสูบบุหรี่เป็นลูกหลานที่อยู่ในวัยเด็ก ก็อาจเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม ง่ายกว่าเด็กทั่วไป มีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลาง และในระยะยาวเด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
          หรือถ้าไม่ใช่เด็ก แต่เป็นคนข้างตัว ก็อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ในบรรยากาศรายล้อมไปด้วยสิงห์อมควัน ก็อาจจะเกิดการระคายเคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูกน้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะยิ่งทำให้อาการของโรคกำเริบและเพิ่มขึ้น และมีโรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะยิ่งทำให้อาการของโรคกำเริบและเพิ่มขึ้น และมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้ โดยเฉพาะมะเร็งปอด
          เฉพาะว่าที่คุณแม่ทันทีที่จุดบุหรี่สูบจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แถมยังมีโอกาสแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด เกิดภาวะรกเกาะต่ำและรกลอกตัวก่อนกำหนดมากขึ้น ที่สำคัญคือลูกน้อยอาจจะมีน้ำหนักตัวและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการด้านสมองช้าหรือผิดปกติทางระบบประสาท
          เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ จึงได้มีการห้ามสูบในสถานที่สาธารณะ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 ได้แก่ สถานที่ที่ต้องปลอดบุหรี่ทั้งหมด เป็นต้นว่า โรงพยาบาล สถานีอนามัย สปา โรงเรียน เนอสเซอร์รี่สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ตลาดสด สถานบันเทิงกลางคืน ป้ายรถเมล์ วัด ฯลฯ และสถานที่ที่ต้องปลอดบุหรี่แต่อาจจัดหรือไม่จัดให้มีเขตสูบบุหรี่ก็ได้ คือ สถานที่ราชการ มหาวิทยาลัย ปั๊มน้ำมัน และสนามบินนานาชาติ โดยเฉพาะ "พื้นที่ส่วนที่เป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างจะต้องเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100 %" (ยกเว้นอาคารสนามบิน)เพื่อเป็นการรณรงค์ "สร้างสังคมไทยปลอดควันบุหรี่กันเถอะ" กรมควบคุมโรค จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมรณรงค์ต้านภัยยาสูบพร้อมกันทั่วประเทศ และได้กำหนดจัดงานรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2556 ขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ ณ ชั้น G ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต พร้อมทั้งจะจัดแสดงนิทรรศการทางวิชาการ การให้บริการทางการแพทย์ การให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่ และกิจกรรมบันเทิงสอดแทรกสาระความรู้ต่างๆ ตลอดงาน
          นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค โดยสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ ยังจะไปให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ในงาน "มติชนเฮลท์แคร์ 2013...สู้โรคไร้พรมแดน" ซึ่งจะจัดในวันที่ 30 พฤษภาคม - 2 มิถุนายนนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดอันตรายอย่างหนึ่ง มีสารพิษไม่น้อยกว่า 4,000 ชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสารก่อมะเร็งไม่น้อยกว่า 60 ชนิด โดยองค์การอนามัยโลกเคยสรุปถึงอันตรายของการสูบบุหรี่ว่า "ผู้สูบตายก่อนวัยอันควรมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ"
          แม้ในปัจจุบันหลายคนจะรู้จักกันดีถึงโทษของบุหรี่ว่าไม่มีประโยชน์ต่อผู้สูบแต่อย่างใด แต่ก็ยังคงมีอีกหลายๆ คนที่ยังคงชะล่าใจมองข้ามถึงพิษภัยที่ไม่ได้มีผลต่อเพียงผู้สูบเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิด โดยสถาบันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา และศูนย์วิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ พิสูจน์แล้วว่า ควันบุหรี่มือสองเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เมื่อคนไม่สูบบุหรี่ได้รับควันบุหรี่มือสองก็จะได้รับสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกายเช่นเดียวกับคนสูบบุหรี่ แม้จะได้รับเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็เป็นอันตรายได้
          หากผู้ใกล้ชิดคนสูบบุหรี่เป็นลูกหลานที่อยู่ในวัยเด็ก ก็อาจเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม ง่ายกว่าเด็กทั่วไป มีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลาง และในระยะยาวเด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
          หรือถ้าไม่ใช่เด็ก แต่เป็นคนข้างตัว ก็อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ในบรรยากาศรายล้อมไปด้วยสิงห์อมควัน ก็อาจจะเกิดการระคายเคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูกน้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะยิ่งทำให้อาการของโรคกำเริบและเพิ่มขึ้น และมีโรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะยิ่งทำให้อาการของโรคกำเริบและเพิ่มขึ้น และมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้ โดยเฉพาะมะเร็งปอด
          เฉพาะว่าที่คุณแม่ทันทีที่จุดบุหรี่สูบจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แถมยังมีโอกาสแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด เกิดภาวะรกเกาะต่ำและรกลอกตัวก่อนกำหนดมากขึ้น ที่สำคัญคือลูกน้อยอาจจะมีน้ำหนักตัวและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการด้านสมองช้าหรือผิดปกติทางระบบประสาท
          เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ จึงได้มีการห้ามสูบในสถานที่สาธารณะ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 ได้แก่ สถานที่ที่ต้องปลอดบุหรี่ทั้งหมด เป็นต้นว่า โรงพยาบาล สถานีอนามัย สปา โรงเรียน เนอสเซอร์รี่สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ตลาดสด สถานบันเทิงกลางคืน ป้ายรถเมล์ วัด ฯลฯ และสถานที่ที่ต้องปลอดบุหรี่แต่อาจจัดหรือไม่จัดให้มีเขตสูบบุหรี่ก็ได้ คือ สถานที่ราชการ มหาวิทยาลัย ปั๊มน้ำมัน และสนามบินนานาชาติ โดยเฉพาะ "พื้นที่ส่วนที่เป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างจะต้องเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100 %" (ยกเว้นอาคารสนามบิน)เพื่อเป็นการรณรงค์ "สร้างสังคมไทยปลอดควันบุหรี่กันเถอะ" กรมควบคุมโรค จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมรณรงค์ต้านภัยยาสูบพร้อมกันทั่วประเทศ และได้กำหนดจัดงานรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2556 ขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ ณ ชั้น G ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต พร้อมทั้งจะจัดแสดงนิทรรศการทางวิชาการ การให้บริการทางการแพทย์ การให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่ และกิจกรรมบันเทิงสอดแทรกสาระความรู้ต่างๆ ตลอดงาน
          นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค โดยสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ ยังจะไปให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ในงาน "มติชนเฮลท์แคร์ 2013...สู้โรคไร้พรมแดน" ซึ่งจะจัดในวันที่ 30 พฤษภาคม - 2 มิถุนายนนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


pageview  1205453    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved