HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 02/01/2556 ]
หวั่น'โรคอ้วน'ลามสั่งบริการทุกอย่างผ่าน'แอพพ์'มือถือ

หมอหวั่น'โรคอ้วน'ลุกลามในกลุ่มคนไทยมากขึ้น ใช้'แอพพ์'ใน'มือถือ'สั่งบริการทุกอย่างแล้วยังมีของกินจุบจิบข้างตัวอีก


เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)กล่าวถึงโรคติดต่อที่มีแนวโน้มการระบาดสูงในช่วงปี 2556 ว่า จากการสังเกตสภาพอากาศของปี2555 แล้วพบว่า อากาศร้อนขึ้นและมีฝนตกมากทำให้ในปี 2556 น่าจะมีโรคติดต่อระบาดมากขึ้น3 โรคด้วยกัน ได้แก่ 1.โรคไข้เลือดออก ปกติแล้วยอดผู้ป่วยสะสมตลอดปีของโรคไข้เลือดออกจะอยู่ที่หลักหมื่นเท่านั้น เช่น ปี 2555 ยอดผู้ป่วยอยู่ที่ประมาณ 5-6 หมื่นราย แต่ในปี 2556 จะมีผู้ป่วยมากเกินกว่าแสนราย เท่ากับมียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว 2.โรคทางเดินอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้อาหารบูดเน่าและเสียได้ง่าย เอื้อต่อการป่วยโรคทางเดินอาหาร คาดการณ์ว่าจะมียอดผู้ป่วยสะสมตลอดปีมากเกินกว่า 1 ล้านคน และ3.โรคมือเท้าปาก จากเดิมปี 2555 มีผู้ป่วยราว 3-4 หมื่นคน ก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน


นพ.โอภาสกล่าวอีกว่า สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่คาดว่ายอดผู้ป่วยสะสมระหว่างปี 2555 และ 2556 จะไม่แตกต่างกันมากนัก อยู่ที่ประมาณ 5-6 หมื่นราย ขณะที่โรคติดต่ออื่นๆ ยังทรงตัวเช่นกัน การระบาดไม่รุนแรงขึ้นหรือลดน้อยลง ส่วนโรคที่อาจมีการระบาดเพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก คือ โรคหัดและโรคคอตีบ เนื่องจากอาจมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย


แต่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวมาก่อน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโรคต่างๆ จะมีแนวโน้มแต่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวมาก่อน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโรคต่างๆ จะมีแนวโน้มการระบาดสูงขึ้นหรือลดลง แต่ประชาชนควรดูแลสุขอนามัยของตัวเอง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย อย่างโรคไข้เลือดออกก็ควรระมัดระวังอย่าให้ยุงกัด โรคทางเดินอาหารก็ควรยึดหลักเดิมที่สธ.รณรงค์คือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ขณะที่โรคมือเท้าปากก็ต้องดูแลสุขอนามัยให้มากขึ้นโดยเฉพาะเด็กเล็ก เน้นการไม่ใช้ของใช้ร่วมกัน ก็สามารถช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง


ด้าน ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าโรคอ้วนถือว่ามีความน่ากังวลมากกว่าโรคอื่นเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงอันนำมาซึ่งโรคเรื้อรังอื่นๆอาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เพิ่มโอกาสในการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคไต ขณะนี้ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่มากกว่าร้อยละ 20 มีปัญหาโรคอ้วน และกำลังคุกคามประชากรวัยเด็กมากขึ้น สาเหตุเกิดจากปัจจัยขาเข้ามาก แต่ขาออกน้อย นั่นคือรับประทานอาหารมากกว่าที่ควร โดยเฉพาะประเภทหวาน มัน เค็ม และขนมขบเคี้ยว แต่มีการออกกำลังกายน้อย ที่สำคัญคือประชาชนยังขาดความตระหนักเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเนื่องจากไม่เห็นความรุนแรงหรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากโรคเรื้อรังเหมือนโรคติดต่อที่บางโรคเป็นแล้วตาย ทำให้ไม่เชื่อฟังแพทย์ในการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับโรคที่เป็น ไม่มีวินัยในการรักษาหรือรับประทานยา เป็นต้น


นพ.ฆนัท ครุฑกูล กรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง กล่าวว่า ปัญหาโรคอ้วน ถือเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก โรคอ้วนเป็นสาเหตุนำให้เกิดโรคอื่นๆมากกว่า 20 โรค ที่สำคัญคือ ความเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก โรคอ้วนเป็นสาเหตุนำให้เกิดโรคอื่นๆมากกว่า 20 โรค ที่สำคัญคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจสำหรับประเทศไทยนั้นปี 2555 มีค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากโรคอ้วนประมาณ 4-6 พันล้านบาท ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกามีมากถึง 4 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มว่า ค่าใช้จ่ายด้านนี้จะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ


"ส่วนหนึ่งมาจากเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าขึ้น เช่น ระบบโทรศัพท์มือถือ ที่ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ อำนวยความสะดวกมากขึ้น บางคนไม่ขยับออกจากบ้านไปไหนเลย นั่งกดโทรศัพท์อยู่กับที่ทำงาน สมัยก่อน คนเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าตอนนี้ เช่น จะไปประชุม จะไปดูกีฬา หรือออกไปช็อปปิ้ง ซื้อของ แต่สมัยนี้ ทุกอย่างทำได้ที่บ้านโดยอาศัยโทรศัพท์เครื่องเดียวเช่นประชุมคอนเฟอเรนซ์ทางโทรศัพท์ สั่งซื้อของทางอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ จะอ่านหนังสือพิมพ์ก็ต้องเดินออกไปซื้อ แต่ตอนนี้เปิดโทรศัพท์เครื่องเดียวทำได้สารพัดอย่าง บางคนยิ่งแย่ไปกว่านั้นคือ ระหว่างที่ทำกิจกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือเหล่านี้ไปก็รับประทานของกินเล่นไปด้วย ผมไม่ได้บอกว่า เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าขึ้นไม่ดี การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ดีและคนส่วนใหญ่ต้องการ แต่คนส่วนหนึ่งพึ่งพามากเกินไปจนทำให้ใช้พลังงานในร่างกายน้อย ในขณะที่รับประทานอาหารเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อาจจะค่อยๆ เพิ่มแบบไม่รู้สึกตัว แต่ในที่สุดก็กลายเป็นคนอ้วนน้ำหนักเกิน" นพ.ฆนัทกล่าว


pageview  1205464    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved