HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 30/07/2555 ]
ปรับโภชนาการสมดุลเด็กขาดสารอาหาร

ทั้งที่มีอาหารที่มี ประโยชน์มาก มายวางจำหน่ายในท้องตลาด แต่เด็กไทยหลายคนก็ยังบริโภคอาหารไม่สมดุล ดร.ภญ.มาลิน จุลศิริ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คณะเภสัชกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยซนกำลังน่าเป็นห่วงเพราะวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้หลายครอบครัวต้องซื้ออาหารจานด่วน ซึ่งส่วนใหญ่ขาดความสมดุลทางโภชนาการ โดยเด็กจำนวนไม่น้อยนิยมบริโภคขนมและดื่มน้ำอัดลมจนติดเป็นนิสัย จากสถิติของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พบว่าเด็กไทยใช้เงินซื้อขนมเฉลี่ยคนละ 9,800 บาทต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาที่จ่ายเพียงคนละ 3,024 บาทต่อปี
          "พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง มักเริ่มตั้งแต่วัยก่อนเรียนคือ 4-5 ขวบ พอถึง 6 ขวบเด็กจะติดเป็นนิสัย และยิ่งโตขึ้นคุณพ่อคุณแม่ยิ่งมีความยากลำบากในการดูแลเด็ก ทำให้บ่อยครั้งเด็กเกิดปัญหาขาดสารอาหารที่จำเป็น ขณะเดียวกัน เกิดปัญหาของโรคอ้วน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุบัติการณ์โรคอ้วนในเด็กไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและตามสถิติดูเหมือนเร็วที่สุดในโลก และภายในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ยังพบว่าเด็กไทยมีเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ระดับ 90 มีมากถึง 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25"
          ดร.ภญ.มาลินบอกอีกว่า การเกิดปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก ถ้าปล่อยให้ปัญหาดัง
          กล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องโดยไม่รีบแก้ไขจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ โดยจะเกิดปัญหาของโรคเรื้อรังง่ายขึ้น เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ข้อเสื่อม เป็นต้น
          "ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก แก้ไขไม่ยากเพียงแต่ปฏิบัติการด้วยวิธีการง่ายๆ ด้วยการให้เด็กบริโภคอาหารที่เหมาะสมทุกวันโดยเฉพาะอาหารมื้อเช้าให้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าและในปริมาณที่เพียงพอ ถ้าไม่แน่ใจว่าเด็กจะบริโภคอาหารได้อย่างสมดุลทั้งในด้านคุณค่าสารอาหารและปริมาณสารอาหารการให้เด็กบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มเติม เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กมีโอกาสได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนา การได้"
          สิ่งไหนที่มากไปก็ไม่ดี สิ่งไหนที่น้อยไปก็ไม่ดี ที่ดีที่สุดคือ เดินทางสายกลาง


pageview  1205849    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved