HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 02/07/2555 ]
Check อาการ ฝนนี้คุณเสี่ยงโรคไหน

เชื่อว่าตอนนี้หลายคนคงกาลังวิตกกังวลว่าปีนี้น้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า  แล้วจะรับมือยังไงไม่ให้น้ำท่วมบ้านอีกรอบ  นอกจากปัญหาน้ำท่วมแล้ว ในช่วงหน้ำฝนยังมีสิ่งที่ต้องพึงระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือโรคภัยต่างๆที่มากับน้ำ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทาให้เชื้อโรคต่างๆ สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว
          อย่างแรกก็คือ โรคติดต่อทางน้ำและทางอาหาร  เช่น  โรคท้องเดินหรืออุจจาระร่วง โรคบิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ ซึ่งสาเหตุเกิดจากการรับ ประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ  หรือประกอบอาหารที่ใช้น้ำที่ไม่ สะอาดหรือไม่ผ่านการบำบัด อาจมีเชื้อโรคปะปนมากับสิ่งปฏิกูลต่างๆ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไว้นานข้ามมื้อหรือเกิน 2-4 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีโรคที่พบมากในช่วงฤดูฝนที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ คือ "โรคอาหาร เป็นพิษจากเห็ดพิษ" ที่กรมควบคุมโรคพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษทุกปี โดยเห็ดพิษที่ชาวบ้านนามา  รับประทานเป็นเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งพบมากในพื้นที่ ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทาน เห็ดที่สงสัย ไม่รู้จัก และไม่แน่ใจ เพราะอาจทำให้ตับวาย  ตัวเหลือง ไตวาย และเสียชีวิตได้
          โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าฝนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ  เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือบวม สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่อยู่ในอากาศซึ่งติดต่อได้ง่ายจากการไอหรือจาม หรือมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะ เพราะฉะนั้นเวลาไอ หรือจามควรใช้ผ้าปิดปากหรือจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงอยู่ในที่ชุมชน และควรล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ กลุ่มคนที่พึงระวังเป็นพิเศษได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ และเด็กเล็ก ที่อายุต่ากว่า 5 ปี ซึ่งเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจโดยเฉพาะโรคปอดบวมที่เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นพ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ จะต้องสังเกต หากลูกมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยให้รีบพาไปพบแพทย์
          โรคที่เกิดจากแมลงและสัตว์พาหะต่างๆ  ที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝนก็คือ โรคไข้เลือดออกจากยุงลายซึ่งเป็นพาหะนาโรค หลังยุงลายที่มีเชื้อกัดประมาณ 5-8 วัน จะมีอาการไข้สูงติดต่อกัน 2-7 วัน หน้ำแดง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดเบ้าตา  บางรายอาจจะมีอาการปวดท้อง อาเจียน เบื่ออาหาร มีจุดแดงเล็กๆ ตามแขน ขา ลาตัว รักแร้ หรืออาจมีเลือดกำเดาไหลและเลือดออกตามไรฟัน อาการทั่วไปคล้ายเป็นหวัดแต่ไม่มีอาการไอและไม่มีน้ำมูก  ในรายที่รุนแรงขณะที่ไข้ลดอาจจะเกิดอาการช็อก มีอาการซึม กระสับกระส่าย กระหายน้ำ เหงื่อออก ตัวเย็น ปากเขียว ชีพจรเบา บางรายมีอาการปวดท้องกะทันหัน อาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ ถ่ายเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง ไม่รู้สึกตัว ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมง
          นอกจากนี้ยังมีโรคมาลาเรียจากเชื้อโปรโตชัว มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ เมื่อถูกยุงนำเชื้อกัดประมาณ 15-30 วันจะมีอาการป่วย ไข้สูง หนาวสั่น ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้โดยรับประทานยา  แต่หากรับการรักษาช้าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง ปอดบวมน้ำ ไตวาย ทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้น ควรป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด เช่น ทายากันยุง นอนในมุ้งซึ่งเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังไม่แนะนำให้รับประทานยาป้องกัน เนื่องจากไม่มียาที่มีประสิทธิภาพสูงและอาจเกิดปัญหาดื้อยาของเชื้อมาลาเรียได้ง่าย
          โรคไข้สมองอักเสบเจ อี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากยุงรำคาญซึ่งมักแพร่ตามแหล่งน้ำในทุ่งนา เมื่อยุงชนิดนี้ไปรับเชื้อไข้สมองอักเสบเจอีขณะกินเลือดสัตว์โดยเฉพาะหมูเป็นแหล่งโรคที่สำคัญแล้วมากัดคนก็จะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกาย  ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ  ในรายที่มีอาการจะไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย หากมีอาการรุนแรงผู้ป่วยอาจจะไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิตได้ บางรายหายป่วยอาจจะพิการทางสมอง  โรคนี้ป้องกันได้โดยไม่ให้ถูกยุงกัด และฉีดวัคซีนป้องกัน
          เล็ปโตสไปโรซีส หรือฉี่หนู  เป็นอีกโรคที่มากับน้ำที่ปนเปื้อนฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข สุกร โค กระบือ โรคนี้จะปะปนอยู่ในน้ำหรือดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก ที่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง เมื่อเดินย่าน้ำหรือเล่นน้ำนานๆ เชื้อโรคจะไชเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่
          เปื่อยยุ่ย ทางบาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา หรือเยื่อบุในช่องปาก และอาจติดเชื้อเมื่อกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อที่หนูมาฉี่รดไว้  ผู้ที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออย่างรุนแรงโดยเฉพาะที่น่องหรือโคนขา ตาแดง คอแข็ง เลือดออกตามผิวหนังหรือเยื่อบุ ถ้ามีอาการรุนแรงอาจทาให้ตับหรือไตวาย ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้
          นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม เช่น โรคเยื่อตาอักเสบหรือตาแดง  ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้น้ำที่ไม่ สะอาดล้างหน้ำ อาบน้ำ หรือน้ำสกปรกที่มีเชื้อโรคกระเด็นเข้าตา หรือใช้มือ แขน และเสื้อที่สกปรกขยี้ตาหรือเช็ดตา โรคน้ำกัดเท้า รวมถึงโรคมือ เท้า ปากที่เป็นมากในช่วงอากาศเย็นหรือชื้น
          คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการดูแลป้องกันตัวเองและคนในครอบครัวไม่ให้เจ็บป่วย เช่น การทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ  ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกน้ำ เปียกฝน รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำที่สะอาด ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ทุกครั้ง ถ่ายอุจจาระลงในโถส้วมและล้างมือให้สะอาดหลังขับถ่ายทุกครั้ง สวมใส่รองเท้าบูทเมื่อย่ำน้ำหรือโคลน หลีกเลี่ยงพื้นที่ชื้นแฉะที่มีการเลี้ยงสัตว์  ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยตรวจดูภาชนะเก็บกักน้ำ ปิดฝาให้มิดชิด อย่าใช้มือ แขน หรือผ้าสกปรกขยี้ตา ระวังอย่าให้น้ำสกปรกเข้าตา และดูแลบ้านเรือนให้สะอาดเป็นระเบียบเพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหรือแหล่งเพาะเชื้อโรค
          หน้าฝนนี้อย่ามัวกังวลเรื่องน้ำท่วม จนลืมดูแลสุขภาพโรคภัยไข้เจ็บที่มาพร้อมน้องน้ำล่ะ


pageview  1205893    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved