HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 02/07/2555 ]
รู้หรือยัง'ดนตรี' บำบัดโรคได้

 ปัจจุบันจะพบว่าแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพ ไม่ได้มีเพียงการแพทย์แผนปัจจุบันที่ถือเป็นการแพทย์กระแสหลักเท่านั้น แต่การแพทย์ทางเลือกอย่าง ดนตรีบาบัด ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง และเริ่มมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
          ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการนาดนตรี หรือองค์ประกอบ อื่นๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบาบัดเป็น ผู้ดาเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านทางกิจกรรม ทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เป้าหมายของดนตรีบาบัดไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรีแต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจาเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบาบัด นักดนตรีบาบัดต้องนาความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้กับผู้เข้ารับการบาบัดที่มีอาการของโรคและพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบาบัด
          รูปแบบการทาดนตรีบาบัดไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ
          เพียงอย่างเดียว แต่ยังแตกต่างกันออกไปตาม
          พื้นฐานทางวัฒนธรรม ที่เห็นได้ชัดเจน
          ก็คือดนตรีบาบัดตามความเชื่อของ
          ชาวอินเดียและชาวจีน
          ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกนี้ เป็นของพระเจ้า ดนตรีบาบัดตามความเชื่อของชาวอินเดียจึงเป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างเสียงดนตรีกับเวลา ฤดูกาล อารมณ์ความรู้สึก และจินตนาการ ส่วนสาคัญที่ทาให้ดนตรีอินเดียมีความแตกต่างไปจากดนตรีอื่นๆ ก็คือระบบเสียงที่มีความละเอียดและซับซ้อน นักวิชาการจึงได้จัดเสียงให้อยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งมีความหมายคล้ายกับบันไดเสียงเรียกว่า ราคะ (Ragas) ซึ่งการรับฟังดนตรีให้ถูกราคะในแต่ละเวลาจะช่วยในการบาบัดความทุกข์ทั้งปวง
          ในส่วนของชาวจีน มีความเชื่อเรื่องดนตรีบาบัดโดยยึดจากตาราโบราณของหวังตี้เน่ยจิงและอี้จิง  ที่กล่าวไว้ว่าเมื่อเสียงเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่ออวัยวะภายในทาให้เกิดการขยับตัวเบา-แรง ตามเสียงดนตรี เมื่อร่างกายปรับอยู่ในสภาพที่นิ่งสงบ และผู้ฟังทากายให้ว่างดุจดังกระบอกไม้ไผ่ที่กลวง เข้าสู่สภาวะไร้ตัวตน จะทาให้พลังอันเที่ยงแท้ที่อยู่ภายในร่างกาย เกิดการเคลื่อนไหวผ่านเส้นพลังต่างๆ ประมาณ 14 เส้นหลัก ก่อให้เกิดสภาวะสมดุลของอวัยวะภายใน และทาให้จิตใจและร่างกายประสานกัน นามาซึ่งการมีสุข สงบและแข็งแรง
          นอกจากนี้การนาดนตรีบาบัดมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยโดยการปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อม อย่างเช่น การบรรเลงดนตรีในสวนนั้น ยังก่อให้เกิดผลชัดเจนต่อการทางานของสมอง ช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่เสียไป โดยหลังจากที่ให้ผู้ป่วยอัมพาตเฉียบพลันฟังเพลงที่ชอบระหว่างรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ผลที่ได้คือผู้ป่วยมีความจาและอารมณ์ดีขึ้น ราวกับว่าดนตรีนั้นเป็นตัวประสานให้สมองส่วนที่ยังไม่ถูกทาลายสามารถสั่งการได้ดียิ่งขึ้น
          จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าดนตรีไม่ได้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม แต่ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคทางระบบประสาท นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นความจาและสร้างสมาธิ รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมถามคนที่คุณรักว่า "วันนี้คุณฟังดนตรีหรือยัง"


pageview  1205893    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved