HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 21/06/2555 ]
ชี้เห็ดขี้ควายสารเสพติดประเภทที่5 ฤทธิ์เท่ากัญชา-กระท่อมกินมากตาย

 นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวถึงอันตรายของเห็ดขี้ควายหลังจากนักท่องเที่ยวชาวแคนาดา 2 คนอาจบริโภคจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ตามปกติเห็ดขี้ควายพบได้ตามกองมูลควาย ถือเป็นกลุ่ม 1 ใน 7 ของเห็ดมีพิษที่ห้ามบริโภคเห็ดขึ้ควาย มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า magic mushroom การบริโภคจะทำให้เกิดอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปากชา มีผลต่อประสาท ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เพ้อฝัน และหมดแรง หากบริโภคปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ พบมีการนิยมบริโภคในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการหาความสำราญจากเห็ด recreation mushroom เช่น อินโดนีเซีย บาหลี อินเดีย สหรัฐอเมริกา
          นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ในเห็ดขึ้ควายมีสารพิษ 2 ชนิด คือ psilocybine (ซิโลไซบีน) และ psilocine (ซิโลซีน) ซึ่งในพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ปี 2522 และในฉบับแก้ไข ปี 2532 ระบุให้เห็ดขี้ควายจัดเป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ไม่ต่างจากพืชกัญชา กระท่อม ที่ออกฤทธิ์ในการมึนเมา หลอนประสาท โดยผู้ที่ผลิตขายและนำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี ปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท และหากนำเห็ดขึ้ควายมาปั้นผสมกับเหล้าจะทำให้เพิ่มปริมาณของสารพิษมากขึ้น เนื่องจากแอลกอฮอล์จะเป็นละลายสารพิษให้ออกฤทธิ์เร็ว และรุนแรงมากขึ้น
          "ลักษณะของเห็ดพิษที่ประชาชนทั่วไปควรระวัง หลีกเลี่ยงในการบริโภค คิด เห็ดที่มีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม มีปลอกหุ้มดคน มีวงแหวนใต้หมวก มีปุ่ม ปม และเกิดในมูลสัตว์" นพ.นิพนธ์ กล่าว


pageview  1205831    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved