HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 06/11/2562 ]
รู้จักกับ แบคทีเรียกินเนื้อคน โรคที่มาจากแผลเล็กๆ

 1. แบคทีเรียกินเนื้อคนมีมานานแล้ว ไม่ใช่เชื้อใหม่ เชื้ออยู่ตามสิ่งแวดล้อม คนติดเชื้อได้จาก มีบาดแผล อาจจะจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง หรือ แมลง ยุง กัด แล้วอาจดูแลแผลไม่ดี แผลลาม ทำให้แผลติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน หรือ มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค เป็นต้น
          2. แบคทีเรียที่พบบ่อย 2 ชนิด คือ Streptococcus pyogenes Staphylococcus aureus เชื้อนี้เป็นสาเหตุที่คนเราเป็นฝีหนองที่ผิวหนัง ที่พบบ่อยในเด็ก ที่คนทั่วไปเรียก โรคน้ำเหลืองไม่ดี จริงๆไม่มีโรคนี้ โรคนี้คือติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ชนิดอื่นๆ เช่น ในน้ำสกปรก คือเชื้อ Aeromonas app.
          3. เชื้อนี้สามารถลุกลาม เข้าไปชั้นลึกใต้ผิวหนัง ได้ลามจนถึงชั้น กล้ามเนื้อ ไขมัน และกระดูก ถ้าเข้ากระแสเลือด ทำให้อาการรุนแรงได้ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดคนไข้จะไข้สูง ซึม ช็อกได้ พบกรณี คนไข้มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน ผู้สูงอายุ หรือคนไข้ที่ไม่มีโรคประจำตัวแต่มาพบแพทย์ช้า หรือ ดูแลแผลไม่สะอาด
          อาการที่สังเกตเห็น:
          หากแบ่งอาการของโรค ตามระยะเวลาที่เกิดโรค จะแบ่งออกได้ ดังนี้
          วันที่ 1-2 มีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวมและแดงอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า "ในผู้ป่วยบางรายจะไม่ค่อยแสดงอาการบริเวณผิวหนังเท่าใดนัก เนื่องจากเกิดในผิวหนังชั้นลึก ซึ่งทำให้มองไม่เห็น แต่จะสามารถรู้สึกถึงอาการปวดได้ หรือมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว หัวใจเต้นเร็ว เพราะฉะนั้น ถ้ามีอาการลักษณะเช่นนี้อย่าละเลย ต้องรีบพบแพทย์ทันที"
          วันที่ 2-4  พบว่าบริเวณที่บวมจะกว้างกว่าบริเวณผิวหนังที่แดงมีผื่นผุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดซึม ผิวมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย และผิวเริ่มมีสีดำ
          วันที่ 4-5 จะมีความดันโลหิตต่ำ และมีภาวะโลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้สึกตัว
          4. เมื่อลามไปใต้ผิวหนัง อาจลามไปถึงชั้นกล้ามเนื้อเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เน่าตาย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ติดเชื้อในกระแสเลือด อวัยวะต่างๆทำงานบกพร่องเช่น ไต ตับ และสมอง
          5. การรักษามี 3 ข้อ ให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าเส้น เช่น Cloxacillin อย่างน้อย 7-14 วัน แพทย์จะส่งหนอง สารคัดหลั่งเพาะเชื้อและปรับยาตามเชื้อ แล้วแต่กรณี ตัดเนื้อตาย เพื่อไม่ให้ลุกลาม บางคนมาช้า หรือแผลขนาดใหญ่และมีโรคประจำตัวอาจโดนตัดอวัยวะได้เช่น นิ้ว แขน ขา มือ ทำแผล
          6. การป้องกัน เมื่อมีบาดแผลควรรักษาความสะอาด ถ้าบวมแดง อักเสบมาก ต้องรีบมาพบแพทย์ มีแผลไม่ควรล้วงแคะ แกะเกา เล็บต้องสั้น และดูแลแผลให้สะอาด


pageview  1204848    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved