HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 17/12/2562 ]
4 วัคซีนป้องกันโรค ไทยทำ ไทยใช้ ผลิต - ส่งออก มูลค่ารวมกว่า 3พันล้าน

 ประเทศไทย นับว่าประสบความสำเร็จในการป้องกันโรคด้วยวัคซีน เมื่อ เทียบกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกัน โดยภาครัฐได้ให้บริการวัคซีนพื้นฐานครอบคลุม 90% ของประชากร รวมทั้งประชาชนที่รับวัคซีนจาก สถานบริการเอกชน คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,000 ล้านบาท
          กรุงเทพธุรกิจไทยผลิต 4 วัคซีน ป้องกันโรคมาตรฐานสากล ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ครอบคลุม การใช้ 90% ของประชากร คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1,000 ล้านบาท ส่งออก 15 ประเทศทั่วโลก พร้อมเป็นศูนย์กลาง (HUB) การส่งออกวัคซีนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
          รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อ ในเด็กแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกล่าวในงานแถลงข่าว ก้าวสู่ทศวรรษ ของโรงงานผลิตวัคซีนมาตรฐานระดับโลก ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ บริษัท องค์การเภสัชกรรม - เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด (GPO-MBP) ว่าการเกิดโรคระบาดนับว่า ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงทั้งด้าน คุณภาพชีวิตของประชาชนและด้านเศรษฐกิจ ในประเทศไทยเอง เคยเกิดวิกฤตไข้หวัดนก H5N1 ในช่วงปลายปี 2546- ต้นปี 2547 เกิดความเสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาททันที เนื่องจากไก่สดแช่แข็งที่ส่งไปยังยุโรป ถูกตีกลับ ซึ่งเราเพิ่งสามารถปลดล็อก เรื่องไก่สดแช่แข็งได้เมื่อไม่นานมานี้
          โรคระบาดกระทบเศรษฐกิจโลก
          นายแพทย์ทวี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2550 สหรัฐได้คำนวณความเสียหาย ที่เกิดจากไข้หวัดใหญ่ระบาด โดยคาดว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม ของประชาชาติ (GDP) ของโลก ลดลงมากกว่า 5.5% สูญเสียเศรษฐกิจ 683 พันล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 24 ล้านล้านบาท การท่องเที่ยว บันเทิง อาหาร ลดลง 80% การขนส่ง คลังสินค้าลดลง 67% เกษตรกรรม ก่อสร้าง การเงิน ลดลง 10% ทั้งนี้ ในช่วง เกิดไข้หวัดใหญ่ระบาด ยังเกิดวิกฤตวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ขาดแคลน เนื่องจากทั่วโลกสามารถผลิตได้เพียง 300 ล้านโดส ครอบคลุมเพียง 12% ของประชากรทั่วโลก และมีเพียง 12 ประเทศที่ผลิตได้ ดังนั้น เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าวิกฤตเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมตัวให้พร้อม
          โรงงานผลิตวัคซีนสัญชาติไทย
          ในทุกๆ ปีวัคซีนสามารถช่วยชีวิตคนได้ถึง 2.5 ล้านคนทั่วโลก ช่วยให้ 750,000 คน ทั่วโลก รอดพ้นจากความพิการต่างๆ และสามารถป้องกันหรือลดโรคจาก การฉีดวัคซีนซึ่งมีมากกว่า 30 โรค นอกจากนี้  ยังมีโรคใหม่ๆ ที่ต้องการวัคซีนในการต่อสู้  ดังนั้น วัคซีนจึงถือว่ามีความสำคัญ ในการช่วยป้องกันทั้งชีวิต ความพิการ และเศรษฐกิจ
          เภสัชกร บุญรักษ์ ถาวรรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัดกล่าวว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศซึ่งไม่เพียงพอต่อ ความต้องการ ในปี 2540 คณะรัฐมนตรีมีมติ ให้ก่อตั้ง "บริษัท องค์การเภสัชกรรม- เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด" (GPO-MBP)ซึ่งเป็นโรงงานผลิตวัคซีนร่วมทุนขององค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข, บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด และบริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด เพื่อพัฒนาการผลิตวัคซีนที่ได้คุณภาพในระดับสากล และสนับสนุนวัคซีนคุณภาพกับแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน บริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส เริ่มการผลิต วัคซีนครั้งแรกในเดือนต.ค. ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ สามารถผลิตได้ทั้งวัคซีนชนิดผงแห้งจำนวน 4 ล้านขวดต่อปี และชนิดเหลว 20 ล้านขวดต่อปี รวมมูลค่า 15 ปี ที่ผ่านมากว่า 3,800 ล้านบาท
          ส่งออก"วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี"
          เภสัชกร บุญรักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนจากโรคที่ป้องกันได้ 4 ชนิด คือ วัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรค ไวรัสตับอักเสบ และวัคซีนป้องกัน ไข้สมองอักเสบเจอี ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการผลิตยาที่ดี จากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) และมาตรฐานระดับโลก อย่างองค์การอนามัยโลก (WHO) มีการส่งออก "วัคซีนป้องกันไข้สมอง อักเสบเจอี" ชนิดผงแห้ง ไปยัง 15 ประเทศทั่วโลก หรือกว่า 2 ล้านโดส ต่อปี รวมมูลค่าการส่งออกกว่า 400 ล้านบาท นอกจากนี้ โรงงาน ผลิตวัคซีน GPO-MBP ยังเป็นศูนย์กลาง (HUB) การส่งออกวัคซีนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย
          พล.ท. สุชาติ วงษ์มาก กรรมการบริษัท องค์การเภสัชกรรม- เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด กล่าวว่า เราพยายามพัฒนาในหลายๆ เรื่องในอดีต และด้วยความสำเร็จของ GPO-MBP ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า ประเทศชาติจะมีความมั่นคงทางวัคซีน ทั้งจากการผลิตวัคซีนเพื่อเด็กไทยและเอื้อประโยชน์ ในต่างชาติ นำรายได้เข้าประเทศ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเป้าหมาย ที่จะพัฒนาและผลิตวัคซีนเอง ภายในประเทศให้ครอบคลุมโรค ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และ เดินหน้าพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ของประเทศให้ได้
          ปัจจุบัน ประเทศไทย นับว่าประสบความสำเร็จในการป้องกันโรค ด้วยวัคซีน เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกัน โดยภาครัฐได้ให้ บริการวัคซีนพื้นฐานครอบคลุม 90% ของประชากร รวมทั้งประชาชนที่รับวัคซีนจากสถานบริการเอกชน คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,000 ล้านบาท
          ด้านายแพทย์ ดร. จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวเสริมถึง การประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 พ.ย.2561 และมีผลบังคับใช้วันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมานั้นว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว เปรียบเสมือนตัวกำหนดให้มีกลไกที่ เป็นระบบ ในการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อ ให้มีการวิจัย การพัฒนา การผลิต การประกัน การควบคุมคุณภาพ การจัดหา การกระจายวัคซีน และ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ เหมาะสมและต่อเนื่อง เป็นเครื่องมือ สำคัญที่จะผลักดันประเทศสู่ ความมั่นคง สามารถพึ่งตนเองและเป็นผู้นำด้านวัคซีนในระยะยาว
          "ประเทศไทยมีศักยภาพ ระดับโลก และอาเซียนก็มอบให้ไทยเป็นลีดเดอร์ ในการสร้างความร่วมมือกับทั้ง 10 ประเทศ ทั้งนี้ หากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมมือพัฒนาบุคลากร สนับสนุนงานวิจัย และเชื่อมโยงความรู้ความชำนาญใน ด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน จะสามารถ ผลักดันให้มีการพัฒนางานด้านวัคซีนไปในทิศทางเดียวกันและ มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น และช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการป้องกันโรคด้วยวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ลดการนำเข้า และเพิ่มรายได้จาก การส่งออกได้อีกทางหนึ่ง" ดร.จรุง กล่าวทิ้งท้าย


pageview  1205094    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved