Follow us      
  
  

สยามกีฬา [ วันที่ 05/10/2564 ]
ป่วย9,930ใต้ยังอ่วม เจอร้านเปิดเกินเวลา ลักลอบจำหน่ายเบียร์ ไฟเซอร์มาอีก1.5ล.

  ผู้ป่วยโควิด-19 ลดต่ำกว่าหมื่นอีกครั้ง พบยอดติดเชื้อใหม่ประจำวันที่ 4 ต.ค.64 เพิ่มขึ้น9,930 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 1,618,499 ราย หายป่วยกลับบ้าน 12,336 ราย ส่วนยอดเสียชีวิตอยู่ที่ 97 ศพ ส่วนไทยฉีดวัคซีนทะลุแล้ว 55 ล้าน โดส ด้านโควิดภาคใต้พุ่งเฉียด 2 พัน สวนทางที่ อื่น เผยพบร้านอาหารแอบเปิดเกินเวลา ลอบขาย เบียร์ใส่แก้วพลาสติก เร่งฉีดวัคซีน ลดคนติดเชื้อ ด่วน ด้านวัคซีนไฟเซอร์ มาอีกสัปดาห์ละ 1.5 ล้าน โดส กระจายฉีด 4 ล้านนร. เร่งประเมินผลข้างเคียงอธิบดีกรมควบคุมโรคย้ำ ด.ช.ฉีดเข็มเดียวก่อน รับต้องชั่งใจประสิทธิภาพและความปลอดภัย ขณะที่ นพ.ยง ประกาศรับอาสาสมัคร ผู้รับซิโนแวค 2 เข็ม มาแล้ว 6 เดือน หรือก่อน 30 เม.ย.64 อายุ 18 ปีขึ้นไป เพื่อฉีดชิโนฟาร์มกระตุ้นเข็ม 3
          ยอดติดเชื้อไทยต่ำกว่าหมื่น
          เมื่อวันที่ 4 ต.ค.2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาด ของโควิด-19 ประจำวัน โดยพบว่ายอดติดเชื้อลด ลงต่ำกว่าหลักหมื่นอีกครั้ง พบผู้ป่วยใหม่ 9,930 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อภายในเรือนจำ ที่ต้องขัง 362 ราย ราย ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 8,954 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 607 ราย และเป็น ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 7 ราย ส่วนผู้ที่หายป่วย กลับบ้านอยู่ที่จำนวน 12,336 ราย หายป่วยสะสม 1,493,077 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมระลอกเดือนเม.ย. 2564 จำนวน 1,618,499 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิต เพิ่ม 97 ราย ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 109,748 ราย ติดเชื้อเข้าข่าย/ ATK 1,743 ราย
          ป่วยโลก235.7ล้านราย
          สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเมื่อวันจันทร์ที่ 4 ต.ค. 64 ณ เวลา 10.00 น. (เวลาไทย)ยอดผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลกอยู่ที่ 235,718,694 ราย มีอาการรุนแรง 87,005 ราย รักษาหายแล้ว 212,581,692 ราย และเสียชีวิต 4,815,893 ราย ขณะที่อันดับ ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย อันดับ 1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 44,518,437 ราย, อันดับ 2. อินเดีย จำนวน 33,834,243 ราย, อันดับ 3.บราซิล จำนวน 21,468,121 ราย, อันดับ 4. สหราชอาณาจักรจำนวน 7,900,680 ราย และอันดับ 5. รัสเซีย จำนวน7,586,536 ราย ส่วนประเทศไทย ซึ่งยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่จำนวน 1,647,362 ราย รั้งอันดับ 27
          ฉีดวัคซีนทะลุ5รล้านโดส
          ศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยจำนวนการรับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ.-3 ต.ค. 2564 โดยยอดรวมการฉีดวัคซีนทั้งหมด อยู่ที่55,150,481 โดส ใน 77 จังหวัด ด้านภาพรวมยอดฉีดวัคซีนทั่วประเทศ ณ วันที่ 3 ต.ค.64 อยู่ที่ 281,070
          โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 : 83,168 ราย, เข็มที่ 2 :164,888 ราย และเข็มที่ 3 : 33,014 ราย ด้านจำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 32,987,918 ราย, จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 20,696,791 ราย และ จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 1,465,772 ราย
          โควิดภาคใต้พุ่งเฉียด2พัน
          พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า วันนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อ ใหม่ 9,930 ราย คงทำให้หลายคนรู้สึกสบายใจ แต่เราเพิ่งประกาศตามข้อกำหนดฉบับที่ 34 มีผลบังคับใช้  วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่อนคลายกิจการกิจกรรมมากขึ้น
          ทั้งนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คาดการณ์ว่าอาจจะมีการติดเชื้อสูงขึ้นเกินหมื่นรายได้ แต่ถ้ายังแตะอยู่ที่หมื่นนิด ยังเป็นในทิศทางที่สาธารณสุขยอมรับได้ เพราะเมื่อเราผ่อนคลายเปิดกิจการให้ดำเนินชีวิตใกล้เคียงปกติมากขึ้น แม้จะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ถ้าอยู่ในภาวะที่ระบบสาธารณสุขยอมรับได้ก็เป็นในทิศทางที่เป็นไปได้ ส่วนการเสียชีวิตวันนี้ต่ำกว่าร้อย คือ 97 ราย รักษาหาย 12,336 ราย ยังรักษา 109,748 ราย อาการหนัก 3,071 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจ 719 ราย
          กลุ่มผู้ป่วยที่ ศบค.เป็นห่วงคือ 4 จังหวัดภาคใต้ ที่วันนี้ติดเชื้อ 1,968 ราย สัดส่วนคิดเป็น 21% ถือว่าสูงขึ้น สวนทางกับ กทม.และปริมณฑลที่ลดลง จำนวนผู้เสียชีวิตก็มีถึง 11 จังหวัดภาคใต้ที่มีรายงานเสียชีวิต รวม 27 คน ได้แก่ ภูเก็ต 4 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราช 3 ราย นราธิวาส 3 ราย ปัตตานี 3 ราย สุราษฎร์ธานี 2 ราย ตรัง 2 ราย พัทลุง 2 ราย สงขลา 2 ราย ระนอง 1 ราย และกระบี่ 1 ราย
          สำหรับ 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด ก็มีภาคใต้ถึง 5 จังหวัด คือ ยะลา 764 ราย สงขลา 484 ราย ปัตตานี 406 ราย นราธิวาส 314 ราย และนครศรีธรรมราช 313 ราย สิ่งที่ สธ.เป็นห่วงคือ รายงานจากการสอบสวนประวัติผู้ติดเชื้อพบว่า ยังมีการพบการสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว
          วันนี้มีรายงานว่าที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พบร้านอาหารเปิดเกินเวลาและจำหน่ายแอลกอฮอล์ โดยมีการใส่ในแก้วพลาสติกธรรมดา แต่เป็นการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องขอให้ช่วยกันกำชับมาตรการ และขอบคุณประชาชนที่แจ้งเข้ามา ไม่ถือว่าเป็นการตำหนิติเตียน ถ้าเราต้องการช่วยให้มาตรการทำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตของภาคใต้ได้ก็ต้องร่วมด้วยช่วยกัน
          ส่วนการฉีดวัคซีนพื้นที่ชายแดนใต้ ยอดรวมวันที่ 4 ต.ค. นราธิวาสการฉีดเข็ม 2 เพิ่งอยู่ที่ 22.4% ปัตตานี 19.6% และยะลา 28.2% สงขลา 28.5% ซึ่งเป้าหมายต้องครอบคลุมให้ได้ 50% โดยพื้นที่เหล่านี้ได้รับการจัดสรรวัคซีนเพียงพอ มีการทำงานหนัก แต่ยอดวัคซีนยังไม่เป็นไปตามเป้า จึงขอให้พื้นที่ทั้ง รพ.ภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ระดมค้นหาผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์เข้ารับวัคซีนตามเป้าหมาย
          "ไฟเซอร์"มาอีก1.5ล้าน
          เมื่อวันที่ 4 ต.ค.64 ที่ร.ร.พิบูลสงคราม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังงานคิกออฟฉีดวัคซีนโควิด 19 ในเด็กอายุ 12-17 ปีว่า การฉีดวัคซีนในเด็กมีความสำคัญมาก เนื่องจากการปิดเทอมเรียนออนไลน์เป็นเวลานานส่งผลต่อการศึกษาและพัฒนาการ ดังนั้นการฉีดวัคซีนโควิด 19 วันนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่จะฉีดให้กับทุกคนในประเทศไทยที่มีความสมัครใจ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี สาเหตุที่ทำการฉีดวัคซีนในเด็กค่อนข้างช้ากว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยวัคซีนที่ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปที่อย.ขึ้นทะเบียนและนำมาใช้ได้ขณะนี้มีตัวเดียวในไทย คือ วัคซีน mRNA ของไฟเซอร์ ส่วนของโมเดอร์นายังไม่เข้ามาและไม่ใช่วัคซีนหลักที่รัฐบาลจัดหา
          นพ.โอภาส กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์มาถึงไทยวันที่ 29 ก.ย. หลังจากตรวจสอบคุณภาพแล้ววันที่ 30 ก.ย. ก็กระจายไปที่แต่ละอำเภอ โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รวบรวมข้อมูลเด็กนักเรียนที่เข้าเกณฑ์การรับวัคซีนประมาณ 5 ล้านคน สำรวจความประสงค์ของผู้ปกครองพบกว่า 80% อนุญาตให้เด็กฉีดวัคซีน ราว 4 ล้านคน จังหวัดกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจึงร่วมกันวางจุดฉีดวัคซีน ระบบติดตามหลังการฉีด โดยส่วนกลางจะส่งวัคซีนไป ซึ่งหากเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส จะมีอายุประมาณ 30 วัน โดยล็อตแรกที่ส่งไป 2 ล้านโดส ส่วนใหญ่ถึงที่โรงเรียนแล้ว แต่ไม่ทุกโรงเรียน เพราะนักเรียนมีประมาณ 4 ล้านคน โดยวันที่ 6 ต.ค. จะเข้ามาเพิ่มอีก 1.5 ล้านโดส สัปดาห์ถัดไปมาอีก 1.5 ล้านโดส ก็จะเร่งกระจายออกไป ฉะนั้นอีก 2 สัปดาห์จะมีวัคซีนกระจายไปครบตามจำนวนนักเรียนที่ฉีด
          ส่วนการติดตามผลข้างเคียงที่คนเป็นห่วงกันมาก คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ ซึ่งอุบัติการณ์ทั่วโลกอยู่ที่ 6 รายต่อการฉีด 1 แสนโดส พบมากในเด็กชาย ส่วนใหญ่จะหายเองได้ ส่วนน้อยต้องเข้ารักษาใน รพ. แต่หากดูเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าการฉีดวัคซีนมีประโยชน์มากกว่า จึงเป็นแนวนโยบายว่าต้องเร่งฉีดวัคซีนเด็กนักเรียน ควบคู่ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ผ่านหมอพร้อม หากพบว่ามีอาการผิดปกติให้ไปพบแพทย์ที่ รพ. เพื่อติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด สำหรับเด็กผู้หญิงข้อมูลส่วนใหญ่เชื่อว่าปลอดภัย คำแนะนำตอนนี้บอกว่าให้ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ส่วนเด็กชายให้ฉีดก่อน 1 เข็ม และประเมินอีก 2 สัปดาห์ว่าจะฉีดเข็ม 2 ต่อหรือไม่ นอกจากนั้นจะรวบรวมจากข้อมูลทั่วโลกมาประเมินด้วย
          “รัฐบาลจัดวัคซีนไว้ให้เพียงพอ ถึงปลายปีนี้อีกประมาณ 120 ล้านโดส รวมวัคซีนซิโนฟาร์มของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อีกเกือบ 50 ล้านโดส ตอนนี้มีประมาณ 170 ล้านโดส หากฉีดคนละ 2 เข็ม ก็เชื่อว่าคนไทยทุกคนได้ฉีดครบถ้วนรวมถึงชาวต่างชาติด้วย หากฉีดไปตามแผนจะมีวัคซีนเพียงพอให้กับทุกคน ส่วนจะเลือกวัคซีนอะไรขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ ชั่งใจอยู่ 2 อย่าง คือ ถ้าฉีดช้าก็มีโอกาสติดเชื้อก่อน อย่างที่สองรัฐบาลมีวัคซีนทุกชนิด ทั้งเชื้อตาย mRNA ไวรัลเวกเตอร์ เชื่อว่าประเทศไทยน่าจะมีวัคซีนฉีดมากที่สุดในโลก ทุกยี่ห้อ ก็สามารถเข้ารับวัคซีนได้” นพ.โอภาส กล่าว
          "หมอยง"ขอคนอาสาฉีดซิโนฟาร์ม
          เมื่อวันที่ 4 ต.ค.64 นพ.ยง ภู่วรวรรณ  หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงการเตรียมทดสอบฉีดวัคซีนสูตรไขว้ใหม่ว่า โควิด-19 วัคซีน รับอาสาสมัครฉีดวัคซีนเข็ม 3 ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก มีโครงการศึกษาวิจัยการกระตุ้นเข็ม 3 หลังได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม มาแล้ว 6 เดือน โดยนับจากเข็มแรก และจะกระตุ้นด้วยวัคซีนซิโนฟาร์ม เป็นเข็มที่ 3 ต้องการอาสาสมัครที่มีร่างกายแข็งแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับวัคซีนซิโนแวคเข็มแรก ก่อน 30 เม.ย.64 เพื่อมารับวัคซีนซิโนฟาร์มเป็นเข็มที่ 3
          โดยจะขอตรวจภูมิต้านทานวันที่รับวัคซีน หลังรับวัคซีน 14 และ 28 วัน เพื่อเปรียบเทียบการกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดต่างๆ กัน IRB No. 546/64 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ใดมีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ขอให้กรอกใบสมัครใน google form ::

 pageview  1204961    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved