Follow us      
  
  

ประชาชาติธุรกิจ [ วันที่ 27/09/2564 ]
มหิดลเพื่อสังคม เปิดงานวิจัยแก้ปัญหาประเทศ

 "บทบาทของมหาวิทยาลัยไม่เพียงแต่ผลิตบัณฑิตหรือสร้างคนเท่านั้น แต่ ยังรวมถึงการทำงานวิจัยควบคู่กับ งานบริการวิชาการด้วย ซึ่งต้องหยิบเอาผลงานในสถาบันออกมาสู่สังคมให้ได้"
          คำกล่าวเบื้องต้นเป็นคำพูดของ "รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์" รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในงานแถลงข่าวมหกรรมมหิดลเพื่อสังคม หรือ Mahidol University Social Engagement Forum : MUSEF 2021 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในรูปแบบ virtual conference ครั้งแรกใน วันที่ 7 ตุลาคมนี้
          ซึ่งเป็นงานรวบรวมองค์ความรู้วิชาการ งานวิจัยของบุคลากรแวดวงวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์การแพทย์มานำเสนอในหลายประเด็น พร้อมกับเปิดเวทีให้นักวิจัยพบปะกับภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกัน สร้างกลไกในการขับเคลื่อน หรือผลักดัน งานวิจัยไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายที่จะ ช่วยแก้ปัญหาประเทศ
          "รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกร สมภพ" กล่าวเพิ่มเติมว่า งานวิจัยของ มหิดลจะเน้นไปที่รูปแบบการหาองค์ความรู้ ใหม่ ๆ ในเชิงสุขภาพ เช่น คิดค้นยาใหม่, วิธีการรักษาใหม่ หรือในรูปแบบการเข้าไป ช่วยเหลือสังคมในมิติต่าง ๆ
          "ซึ่งจะปรากฏตัวอย่างให้เห็นใน MUSEF 2021 เพราะงานวิจัยเป็นเรื่อง ใกล้ตัว สามารถนำเอาองค์ความรู้ไปใช้ ประโยชน์ได้ เช่น เรื่องฝุ่น PM 2.5, ความ ปลอดภัยเด็ก, การดูแลผู้สูงอายุ, เกษตรอินทรีย์, การลดความรุนแรง, การลดบริโภค โซเดียม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องเข้าใจง่าย ๆ"
          "โดยกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงานเรา วางไว้ 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ 1.นักวิจัย เจ้าของ ผลงาน 2.ภาคชุมชน สังคม ผู้ที่จะนำงานไปใช้ เช่น ผู้บริหารชุมชน NGO และ 3.ระดับผู้บริหารองค์กรที่คุมนโยบาย แต่ละเรื่อง เช่น นโยบายท่องเที่ยว นโยบาย เกี่ยวกับเด็ก หรือแม้แต่ภาคเอกชนที่จะเข้ามาช่วยทำให้สังคมไทยดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ คือความมุ่งหวังของเราเพื่อจะช่วยกัน ผลักดันไปสู่นโยบายพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ"
          สำหรับตัวอย่างงานวิจัยเพื่อสังคมที่นำเสนอโดย "รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์"ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ยกตัวอย่างงาน "การปฏิบัติการเล่นสู่ความปลอดภัยในเด็ก" ซึ่งเป็นงานวิชาการที่จัดทำขึ้น เพื่อหวังลดอัตราการเสียชีวิตในเด็ก
          "เพราะจากการสำรวจพบว่าในอดีต เด็กมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก แต่เป็น การเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรัง อาทิ โรค ทางสมอง แต่เมื่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนไป พบว่าเด็กมักเสียชีวิต ด้วยอุบัติเหตุสูงขึ้น มหิดลจึงร่วมกับ เครือข่ายจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัย ในเด็กขึ้นมาเมื่อปี 2545 เพื่อทำงาน ร่วมกับสังคม เราทำหลายด้านไม่ว่า จะเป็นการให้ความรู้พ่อแม่ หรือการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันออกกฎหมายคุ้มครอง"
          โดยช่วง 19 ปีผ่านมามหิดลพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จากสถิติเสียชีวิตปีละ ประมาณ 4,000 กว่าคน ปัจจุบันเหลือ ประมาณ 2,000 คน แต่เด็กอายุ 12-18 ปี สถิติไม่ลดลงเลย ส่วนใหญ่มาจาก อุบัติเหตุ การจราจร ความรุนแรง การเล่นผาดโผน
          ผลเช่นนี้จึงเกิดข้อสรุปคือ 1.เราต้อง ฝังชิปความปลอดภัยตั้งแต่วัย 5-6 ขวบ 2.สร้างห้องปฏิบัติการศูนย์เรียนรู้ และเล่นในชุมชนต่าง ๆ โดยมีผู้นำ คอยสอดส่องดูแลด้วย จึงเป็นที่มา โปรเจ็กต์ปฏิบัติการเล่นสู่ความปลอดภัยในเด็ก
          ด้วยการทำงาน 2 ด้านดังที่กล่าวมา จึงผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ในชุมชน สร้างห้องปฏิบัติการให้เด็กได้มีพื้นที่เล่นอย่างปลอดภัย และนำไปสู่การเรียนรู้ ต่าง ๆ โดยการมีครู ผู้นำ ดูแลในแต่ละชุมชน เพื่อปลูกฝังความปลอดภัยให้เขาก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
          "เราทำโปรเจ็กต์นี้มา 2 ปี มีเด็กเข้าร่วมประมาณ 8,000 กว่าคน มีการ สร้างครู ผู้นำ พร้อมกับสร้างห้องจำลอง หรือห้องเรียนรู้ตามชุมชนหลายแห่ง อนาคต อยากให้มีการขยายพื้นที่มากขึ้น เพื่อให้ ความสำคัญกับความปลอดภัยเด็ก เพราะสุดท้ายแล้วเป้าหมายคือเราต้องการ ลดจำนวนอัตราการเสียชีวิตของเด็กลงให้ได้ครึ่งหนึ่ง หรือลดให้ได้ปีละ พันกว่าคน"
          ขณะที่ "รองศาสตราจารย์นายแพทย์ สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ" คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงงานวิจัย ลดการบริโภคเกลือโซเดียมว่าเป็นวิจัยที่ รณรงค์ลดการบริโภคเกลือโซเดียม หรือ ลดการกินเค็ม เพราะว่าการกินเค็มจะ นำไปสู่การเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคสมอง ฯลฯ
          "อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น โรคไต ใน 1 ปี รัฐใช้เงินไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นล้านสำหรับเฉพาะการฟอกไต ฟอกเลือด"
          ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำ ทุกประเทศให้ลดการบริโภคเกลือให้ได้ 30% ภายในปี 2568 จึงทำให้ประเทศไทยรับนโยบายนี้มากำหนดยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อน 2559-2568 ผ่านสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ โดยกระทรวงสาธารณสุข
          "ดังนั้น เราอยากขับเคลื่อนเรื่องนี้จึง สำรวจร่วมกับหลาย ๆ หน่วยงานเกี่ยวกับ สถิติการบริโภคโซเดียม พบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมสูงกว่าความต้องการปกติ ถึง 2 เท่า โดยเฉพาะภาคใต้เป็นภูมิภาคที่ พบว่าบริโภคมากสุด อาจเป็นเพราะได้รับ อิทธิพลอาหารต่างชาติ พฤติกรรมเน้นรับ ประทานอาหารนอกบ้าน จึงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้มหิดลรณรงค์ร่วมกับเครือข่าย ผ่านสื่อ และมีนวัตกรรมเครื่องวัดค่าความเค็มอย่างง่ายที่ผลิตโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์"
          "เพียงนำไปจุ่มลงในอาหารก็จะ ปรากฏค่าออกมา เพื่อเตือนว่าอาหาร มีความเค็มมากหรือน้อย ซึ่ง นวัตกรรมนี้ถูกนำไปใช้ในทาง คลินิกแล้ว โดยเฉพาะคนไข้ ในโรงพยาบาลรามาธิบดีหลังจาก มีการใช้ไปสักระยะพบว่า คนไข้มีความดันลดลง โดย ไม่ต้องปรับยา และค่อนข้างได้ผล ดีมาก"
          "ดังนั้น ต่อไปเราจะขยายผลสู่ การนำไปใช้ในชุมชนมากขึ้น เพราะ มองว่ามีความจำเป็นต่อการดูแลสุขภาพ คนไทย ใช้งานง่าย หาซื้อแบตเตอรี่ เปลี่ยนได้ตามท้องตลาดทั่วไป เพราะ เรามองว่าความสามารถในการรับรสอาหาร ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงจำเป็น ต้องใช้กับคนบางกลุ่มเพื่อเตือนปริมาณการบริโภคโซเดียมแต่พอเหมาะ"
          นับว่าน่าสนใจทีเดียว

 pageview  1205014    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved