Follow us      
  
  

กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 15/09/2563 ]
สวมหมวก ใส่แมส ชีวิตปลอดภัยบนท้องถนน

 

          เพียงเสี้ยววินาทีหากไม่ระมัดระวัง อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ เช่นเดียวกับกรณีของ น้องโทน พัชรพล แดงสีดา นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หนึ่งในผู้สูญเสียทั้งคนรักและรุ่นน้องจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เล่าว่าก่อนที่จะมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่ใช้รถจักรยานยนต์ในการขับขี่เดินทางไปมหาวิทยาลัยหรือไปตามสถานที่ต่างๆและเมื่อไปที่ใกล้ๆ มักจะไม่สวมหมวกกันน็อค บางครั้งซ้อนสาม
          จนกระทั่งวันหนึ่งได้ขับรถซ้อนสามมีรุ่นน้องและแฟนนั่งไปด้วย แถมไม่สวมหมวกกันน็อค เพราะมองว่าขับไปใกล้ๆไม่น่าจะเกิดอุบัติเหตุแต่กลายเป็นว่ามีรถมาชนเราทั้ง 3 คนทำให้รุ่นน้องเสียชีวิตคาที่กะโหลกศีรษะเปิด ส่วนแฟนไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเพราะคอหัก เขาเอ่ยว่าหากวันนั้นไม่ประมาท ขับขี่ตามกฎจราจร และสวมหมวกกันน็อค อาจทำให้ไม่ต้องสูญเสียอย่างในวันนี้
          มีงานวิจัยโดยศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ระบุว่าการสวมหมวกกันน็อคช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตเนื่องจากการบาดเจ็บที่ศีรษะในผู้ขับขี่ได้ 43% และผู้ซ้อนท้าย 58% แต่ข้อมูลจากมูลนิธิไทยโรดส์ ในปี 2561 พบว่าภาพรวมผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยสวมหมวกกันน็อคเพียง 45% แบ่งเป็นผู้ขับขี่ 52% และผู้โดยสาร 22% เท่านั้นทำให้แต่ละปีมีเด็กและเยาวชนต้องกลายเป็นผู้พิการจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2,000 คน
          ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง ภาคีเครือข่ายเยาวชน สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด จัดกิจกรรมรณรงค์ "ชีวิตปลอดภัย สวมหมวกใส่แมส" เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัย
          ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถิติความรุนแรงของโควิด-19 ในประเทศไทย ผู้ติดเชื้อ 100 คนจะเสียชีวิตราว 2 คน ขณะที่ข้อมูลจากกรมทางหลวงพบว่าอุบัติเหตุทางถนนทุก 100 ครั้ง จะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 15 คน โดยอุบัติเหตุกว่า 84% เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ ดังนั้น ภัยบนท้องถนนจึงน่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าโรคภัยไข้เจ็บ
          "ที่ผ่านมาเราได้เห็นความสามัคคีของคนในชาติ สวมใส่หน้ากากผ้าป้องกัน
          การแพร่กระจายเชื้อ ความสามัคคีนี้ทำให้สถานการณ์ติดเชื้อภายในประเทศดีขึ้น สสส. และภาคีเครือข่าย จึงหวังว่าหากคนไทยร่วมมือกันสวมใส่หมวกกันน็อคทั้งคนขี่และคนซ้อน จะช่วยลดตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตบนท้องถนนลงได้มาก มาร่วมกันสร้างค่านิยมใหม่สวมหมวก และใส่แมส" ดร.สุปรีดา กล่าว
          ด้านน้องโทนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้หลังผ่านเหตุการณ์สูญเสียเปิดใจว่า จากการที่ สสส. ที่ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมรณรงค์การสวมกันน็อคขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกใส่แมสหนึ่งในนั้นมีกิจกรรมเพ้นท์หมวกกันน็อคใบเดียวในโลกของแต่ละคน เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์มาก ทุกคนสามารถออกแบบลวดลายหมวกกันน็อคได้ตามชอบและเมื่อเกิดความพอใจในรูปลักษณ์ของหมวกกันน็อคแล้ว จะนำมาสู่การสวมใส่ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ดีมาก อยากให้มีการขยายเผยแพร่กิจกรรมในลักษณะนี้ต่อไป
          "อยากถือโอกาสนี้ฝากไปยังผู้ปกครองเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กประถมฯซึ่งเป็นช่วงวัยที่เริ่มขับขี่มอเตอร์ไซค์อย่ามองเพียงความสนุก ความคึกคะนอง ความเท่ เพราะอาจจะนำมาซึ่งความสูญเสีย หรือพิการได้ อยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญเรื่องนี้จริงๆ และอยากให้พ่อแม่ที่กำลังคิดจะซื้อรถมอเตอร์ไซค์ให้ลูกเป็นของขวัญ ช่วยไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด เพราะนั่นอาจเป็นการยื่นความเสี่ยงให้เด็กๆ โดยไม่จำเป็น" น้องโทน กล่าว
          เพียงเสี้ยววินาทีหากไม่ระมัดระวัง อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ เช่นเดียวกับกรณีของ น้องโทน พัชรพล แดงสีดา นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หนึ่งในผู้สูญเสียทั้งคนรักและรุ่นน้องจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เล่าว่าก่อนที่จะมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่ใช้รถจักรยานยนต์ในการขับขี่เดินทางไปมหาวิทยาลัยหรือไปตามสถานที่ต่างๆและเมื่อไปที่ใกล้ๆ มักจะไม่สวมหมวกกันน็อค บางครั้งซ้อนสาม
          จนกระทั่งวันหนึ่งได้ขับรถซ้อนสามมีรุ่นน้องและแฟนนั่งไปด้วย แถมไม่สวมหมวกกันน็อค เพราะมองว่าขับไปใกล้ๆไม่น่าจะเกิดอุบัติเหตุแต่กลายเป็นว่ามีรถมาชนเราทั้ง 3 คนทำให้รุ่นน้องเสียชีวิตคาที่กะโหลกศีรษะเปิด ส่วนแฟนไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเพราะคอหัก เขาเอ่ยว่าหากวันนั้นไม่ประมาท ขับขี่ตามกฎจราจร และสวมหมวกกันน็อค อาจทำให้ไม่ต้องสูญเสียอย่างในวันนี้
          มีงานวิจัยโดยศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ระบุว่าการสวมหมวกกันน็อคช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตเนื่องจากการบาดเจ็บที่ศีรษะในผู้ขับขี่ได้ 43% และผู้ซ้อนท้าย 58% แต่ข้อมูลจากมูลนิธิไทยโรดส์ ในปี 2561 พบว่าภาพรวมผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยสวมหมวกกันน็อคเพียง 45% แบ่งเป็นผู้ขับขี่ 52% และผู้โดยสาร 22% เท่านั้นทำให้แต่ละปีมีเด็กและเยาวชนต้องกลายเป็นผู้พิการจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2,000 คน
          ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง ภาคีเครือข่ายเยาวชน สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด จัดกิจกรรมรณรงค์ "ชีวิตปลอดภัย สวมหมวกใส่แมส" เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัย
          ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถิติความรุนแรงของโควิด-19 ในประเทศไทย ผู้ติดเชื้อ 100 คนจะเสียชีวิตราว 2 คน ขณะที่ข้อมูลจากกรมทางหลวงพบว่าอุบัติเหตุทางถนนทุก 100 ครั้ง จะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 15 คน โดยอุบัติเหตุกว่า 84% เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ ดังนั้น ภัยบนท้องถนนจึงน่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าโรคภัยไข้เจ็บ
          "ที่ผ่านมาเราได้เห็นความสามัคคีของคนในชาติ สวมใส่หน้ากากผ้าป้องกัน
          การแพร่กระจายเชื้อ ความสามัคคีนี้ทำให้สถานการณ์ติดเชื้อภายในประเทศดีขึ้น สสส. และภาคีเครือข่าย จึงหวังว่าหากคนไทยร่วมมือกันสวมใส่หมวกกันน็อคทั้งคนขี่และคนซ้อน จะช่วยลดตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตบนท้องถนนลงได้มาก มาร่วมกันสร้างค่านิยมใหม่สวมหมวก และใส่แมส" ดร.สุปรีดา กล่าว
          ด้านน้องโทนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้หลังผ่านเหตุการณ์สูญเสียเปิดใจว่า จากการที่ สสส. ที่ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมรณรงค์การสวมกันน็อคขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกใส่แมสหนึ่งในนั้นมีกิจกรรมเพ้นท์หมวกกันน็อคใบเดียวในโลกของแต่ละคน เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์มาก ทุกคนสามารถออกแบบลวดลายหมวกกันน็อคได้ตามชอบและเมื่อเกิดความพอใจในรูปลักษณ์ของหมวกกันน็อคแล้ว จะนำมาสู่การสวมใส่ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ดีมาก อยากให้มีการขยายเผยแพร่กิจกรรมในลักษณะนี้ต่อไป
          "อยากถือโอกาสนี้ฝากไปยังผู้ปกครองเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กประถมฯซึ่งเป็นช่วงวัยที่เริ่มขับขี่มอเตอร์ไซค์อย่ามองเพียงความสนุก ความคึกคะนอง ความเท่ เพราะอาจจะนำมาซึ่งความสูญเสีย หรือพิการได้ อยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญเรื่องนี้จริงๆ และอยากให้พ่อแม่ที่กำลังคิดจะซื้อรถมอเตอร์ไซค์ให้ลูกเป็นของขวัญ ช่วยไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด เพราะนั่นอาจเป็นการยื่นความเสี่ยงให้เด็กๆ โดยไม่จำเป็น" น้องโทน กล่าว

 

 pageview  1204270    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved