Follow us      
  
  

กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 03/01/2563 ]
คดีเมาขับเพิ่ม45% คุมประพฤติเชิงรุก ผิดซ้ำเข้าค่าย3วัน

 

          กรุงเทพธุรกิจ 6 วันเทศกาลปีใหม่ เมาขับ 8,894 คดี เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 45% อธิบดีกรมคุมประพฤติเข้ม ทำผิดซ้ำส่งเข้าค่ายปรับพฤติกรรม 3 วัน-บริการสังคม นายกฯ เสนอไอเดียเปลี่ยน 7 วันอันตราย เป็น 7 วันเทศกาลแห่งความสุข ด้าน มท.เตรียมสรุปข้อมูล ปรับแผนลดอุบัติต่อเนื่อง
          นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย แถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน(ศปถ.) ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2563 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) และภาคีเครือข่าย โดยสรุปจำนวนอุบัติเหตุ ทางถนนสะสมในช่วง 6 วันของการรณรงค์ (27 ธ.ค.62- 1 ม.ค.63) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,076 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 317 ราย ผู้บาดเจ็บ 3,160 คน
          จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต 7 จังหวัด ได้แก่ ตราด พะเยา ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา ลำพูน และสตูล จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ สงขลา (95 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กทม.14 ราย จังหวัดที่มี ผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ สงขลา 100 คน
          นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง เปิดเผยว่า ขอให้จังหวัดวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะอำเภอที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง (พื้นที่ สีแดงและสีส้ม) เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
          นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 6 วันที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ยังคงเกิดจากการดื่มแล้วขับ และขับรถเร็ว
          ทางด้าน นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ ทั่วประเทศว่า ขณะนี้เข้าสู่ช่วงวันที่ 6 ของการควบคุมเข้มงวด ยอดสะสมสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมประพฤติ 6 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด ระหว่าง 27 ธ.ค.62 - 1 ม.ค.63 มี 9,049 คดี จำแนกเป็นคดีขับรถขณะเมาสุรา  8,894 คดี คิดเป็นร้อยละ 98.29 คดีขับเสพ  140 คดี ขับซิ่ง/แข่งรถ 1 คดี ขับรถประมาท 14 คดี  ทั้งนี้จังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ขอนแก่น 507 คดี  กทม. 506 คดี และมหาสารคาม 476 คดี
          เมื่อเทียบสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติสะสม 6 วัน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 และปี 2563 พบว่าคดีขับรถขณะเมาสุราปี 2562 มี  6,123 คดี กับปี 2563 มี 8,894 คดี เพิ่มขึ้นถึง 2,771 คดี คิดเป็นร้อยละ 45.26
          ทั้งนี้กรมคุมประพฤติจะตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดทุกราย หากพบกระทำผิดซ้ำในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา จะดำเนินมาตรการเข้ม โดยส่งเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง 3 วัน และให้ทำงานบริการสังคม อาทิ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาล การเยี่ยมชมห้องดับจิต การช่วยเหลืองานในโรงพยาบาล เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติ ไม่ให้หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก
          นอกจากนี้ยังเตรียมอีกมาตรการ สำหรับผู้กระทำผิดในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา โดยจะดำเนินการคัดกรองตามแบบประเมินพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดสุรา จะส่งต่อให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ เพื่อรับการบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้ดื่มแล้วขับตามสถานพยาบาล ตามแนวทางเมาแล้วขับส่งบำบัดต่อไป
          ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าอยากให้ยกเป็นกรณีศึกษายอดผู้บาดเจ็บและศูนย์เสียจากการจราจรช่วงปีใหม่ จะต้องพิจารณาว่า เป็นการเสียชีวิตลักษณะใด รวมถึงช่วงเวลาเพื่อนำไปแก้ไขต่อไป ในส่วนของหน่วยงานราชการทำเต็มที่แล้ว ก็เป็นเรื่องของประชาชนที่ต้องระมัดระวังตัวเองด้วย แม้ว่าจากการรายงานยอดการศูนย์เสียจะน้อยลง แต่ตนก็ไม่สบายใจ เพราะยังมีผู้เสียชีวิตกว่าร้อยคน หวังว่าในห้วงต่อไป เช่น เทศกาลสงกรานต์จะทำอย่างไรที่จะลดผู้เสียชีวิตลงได้
          สำหรับชื่อ 7 วันอันตราย ฟังแล้วไม่สร้างสรรค์ อยากให้เปลี่ยนเป็น 7 วันเทศกาลแห่งความสุขได้หรือไม่ เพื่อให้นึกถึงความสุขและความปลอดภัย เพราะมีผลกระทบทั้งตนเองลูกหลาน และค่ารักษาพยาบาล จึงเป็นต้องสร้างแรงจูงใจประเภทนี้ พร้อมกันนี้ ตนได้ให้แนวคิดเรื่องการทำถนนหนทางหรือการขยายช่องทางจราจรให้มากขึ้น หากมีความเป็นไปได้ สามารถสร้างให้เส้นทางใดเสร็จก่อน ก็ให้ดำเนินการทันที รวมถึงการปลูกสร้าง ขอให้อยู่ห่างไกลจากถนนหลัก ป้องกันปัญหาในอนาคตหากมีการขยายถนน
          ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากถนนสายรองและผู้ที่สูญเสีย คือวัยหนุ่มสาว เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะสถิติการเพิ่มของประชากรน้อยลง การสูญเสียคนหนุ่มสาวเท่ากับสูญเสียแรงงาน ขอย้ำทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน รัฐบาลทำฝ่ายเดียวไม่ได้
          ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงปัญหาอุบัติเหตุว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจเพราะจากสถิติโลกการเกิดอุบัติเหตุในไทยยังอยู่ในระดับสูง จึงต้องนำสิ่งที่เกิดขึ้นไปวิเคราะห์ว่า มาตรการใดที่ทำแล้ว เกิดผลให้จำนวนอุบัติเหตุลดลง โดยเฉพาะจำนวนผู้เสียชีวิต และต้องหามาตรการต่อเนื่องเพื่อให้ลดจำนวนลงกว่านี้
          จากนี้ กระทรวงมหาดไทยจะต้องนำตัวเลขอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไปวิเคราะห์ ก่อนว่า ระหว่างสายหลัก กับ สายรอง ส่วนใดมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นน้อยกว่ากัน และต้องไปดูว่า เกิดจากมาตรการใด
          กรุงเทพธุรกิจ 6 วันเทศกาลปีใหม่ เมาขับ 8,894 คดี เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 45% อธิบดีกรมคุมประพฤติเข้ม ทำผิดซ้ำส่งเข้าค่ายปรับพฤติกรรม 3 วัน-บริการสังคม นายกฯ เสนอไอเดียเปลี่ยน 7 วันอันตราย เป็น 7 วันเทศกาลแห่งความสุข ด้าน มท.เตรียมสรุปข้อมูล ปรับแผนลดอุบัติต่อเนื่อง
          นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย แถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน(ศปถ.) ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2563 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) และภาคีเครือข่าย โดยสรุปจำนวนอุบัติเหตุ ทางถนนสะสมในช่วง 6 วันของการรณรงค์ (27 ธ.ค.62- 1 ม.ค.63) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,076 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 317 ราย ผู้บาดเจ็บ 3,160 คน
          จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต 7 จังหวัด ได้แก่ ตราด พะเยา ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา ลำพูน และสตูล จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ สงขลา (95 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กทม.14 ราย จังหวัดที่มี ผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ สงขลา 100 คน
          นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง เปิดเผยว่า ขอให้จังหวัดวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะอำเภอที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง (พื้นที่ สีแดงและสีส้ม) เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
          นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 6 วันที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ยังคงเกิดจากการดื่มแล้วขับ และขับรถเร็ว
          ทางด้าน นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ ทั่วประเทศว่า ขณะนี้เข้าสู่ช่วงวันที่ 6 ของการควบคุมเข้มงวด ยอดสะสมสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมประพฤติ 6 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด ระหว่าง 27 ธ.ค.62 - 1 ม.ค.63 มี 9,049 คดี จำแนกเป็นคดีขับรถขณะเมาสุรา  8,894 คดี คิดเป็นร้อยละ 98.29 คดีขับเสพ  140 คดี ขับซิ่ง/แข่งรถ 1 คดี ขับรถประมาท 14 คดี  ทั้งนี้จังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ขอนแก่น 507 คดี  กทม. 506 คดี และมหาสารคาม 476 คดี
          เมื่อเทียบสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติสะสม 6 วัน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 และปี 2563 พบว่าคดีขับรถขณะเมาสุราปี 2562 มี  6,123 คดี กับปี 2563 มี 8,894 คดี เพิ่มขึ้นถึง 2,771 คดี คิดเป็นร้อยละ 45.26
          ทั้งนี้กรมคุมประพฤติจะตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดทุกราย หากพบกระทำผิดซ้ำในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา จะดำเนินมาตรการเข้ม โดยส่งเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง 3 วัน และให้ทำงานบริการสังคม อาทิ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาล การเยี่ยมชมห้องดับจิต การช่วยเหลืองานในโรงพยาบาล เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติ ไม่ให้หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก
          นอกจากนี้ยังเตรียมอีกมาตรการ สำหรับผู้กระทำผิดในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา โดยจะดำเนินการคัดกรองตามแบบประเมินพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดสุรา จะส่งต่อให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ เพื่อรับการบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้ดื่มแล้วขับตามสถานพยาบาล ตามแนวทางเมาแล้วขับส่งบำบัดต่อไป
          ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าอยากให้ยกเป็นกรณีศึกษายอดผู้บาดเจ็บและศูนย์เสียจากการจราจรช่วงปีใหม่ จะต้องพิจารณาว่า เป็นการเสียชีวิตลักษณะใด รวมถึงช่วงเวลาเพื่อนำไปแก้ไขต่อไป ในส่วนของหน่วยงานราชการทำเต็มที่แล้ว ก็เป็นเรื่องของประชาชนที่ต้องระมัดระวังตัวเองด้วย แม้ว่าจากการรายงานยอดการศูนย์เสียจะน้อยลง แต่ตนก็ไม่สบายใจ เพราะยังมีผู้เสียชีวิตกว่าร้อยคน หวังว่าในห้วงต่อไป เช่น เทศกาลสงกรานต์จะทำอย่างไรที่จะลดผู้เสียชีวิตลงได้
          สำหรับชื่อ 7 วันอันตราย ฟังแล้วไม่สร้างสรรค์ อยากให้เปลี่ยนเป็น 7 วันเทศกาลแห่งความสุขได้หรือไม่ เพื่อให้นึกถึงความสุขและความปลอดภัย เพราะมีผลกระทบทั้งตนเองลูกหลาน และค่ารักษาพยาบาล จึงเป็นต้องสร้างแรงจูงใจประเภทนี้ พร้อมกันนี้ ตนได้ให้แนวคิดเรื่องการทำถนนหนทางหรือการขยายช่องทางจราจรให้มากขึ้น หากมีความเป็นไปได้ สามารถสร้างให้เส้นทางใดเสร็จก่อน ก็ให้ดำเนินการทันที รวมถึงการปลูกสร้าง ขอให้อยู่ห่างไกลจากถนนหลัก ป้องกันปัญหาในอนาคตหากมีการขยายถนน
          ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากถนนสายรองและผู้ที่สูญเสีย คือวัยหนุ่มสาว เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะสถิติการเพิ่มของประชากรน้อยลง การสูญเสียคนหนุ่มสาวเท่ากับสูญเสียแรงงาน ขอย้ำทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน รัฐบาลทำฝ่ายเดียวไม่ได้
          ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงปัญหาอุบัติเหตุว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจเพราะจากสถิติโลกการเกิดอุบัติเหตุในไทยยังอยู่ในระดับสูง จึงต้องนำสิ่งที่เกิดขึ้นไปวิเคราะห์ว่า มาตรการใดที่ทำแล้ว เกิดผลให้จำนวนอุบัติเหตุลดลง โดยเฉพาะจำนวนผู้เสียชีวิต และต้องหามาตรการต่อเนื่องเพื่อให้ลดจำนวนลงกว่านี้
          จากนี้ กระทรวงมหาดไทยจะต้องนำตัวเลขอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไปวิเคราะห์ ก่อนว่า ระหว่างสายหลัก กับ สายรอง ส่วนใดมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นน้อยกว่ากัน และต้องไปดูว่า เกิดจากมาตรการใด

 

 pageview  1205121    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved