Follow us      
  
  

สยามรัฐ [ วันที่ 27/02/2556 ]
สธ. ตั้งเป้า กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าภายในปี 2563 ผสานความร่วมมือด้านสาธารณสุข มุ่งสู่อาเซียน

ปัจจุบัน ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้ายังคงเป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่ถูกมองข้ามอยู่เสมอ เนื่องจากพาหะของโรคพิษสุนัขบ้ามักมีความใกล้ชิดกับคนมากที่สุด ทำให้เมื่อได้รับเชื้อโรคไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ผู้เลี้ยงมักจะปล่อยปละละเลยการรักษาที่ถูกต้องจนทำให้อาการของโรคกำเริบและเสียชีวิตในที่สุด
          ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค จึงจัดงานสัมมนาการเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า และมอบรางวัลโรคพิษสุนัขบ้าปี 2555 (MoPH MoAC Rabies Awards) ขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขในกลุ่มประเทศอาเซียนตลอดจนตั้งเป้าการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขภายในปี พ.ศ.2563 หรือปี ค.ศ.2020 ที่จะถึงนี้ โดยมีนายพสิษฐ์เป็นประธานเปิดงาน ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา
          นายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่าประเทศไทยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า กลยุทธ์และกิจกรรมที่นำไปสู่การปฏิบัติด้วยการบูรณาการจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค กรมปศุสัตว์และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ฯลฯ เพื่อดำเนินการตามนโยบายการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า โดยตั้งเป้ากำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี ค.ศ.2020 เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายของประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียนโดยการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในเรื่องความปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า และจูงใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น "จากข้อมูลการมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของผู้ถูกสุนัขกัดพบว่า แต่ละปีจะมีผู้มารับการฉีดวัคซีนมากถึงปีละประมาณ 5 แสนคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ที่ถูกสุนัขกัดมีอายุตั้งแต่ 1-90 ปี แต่ที่พบมากที่สุดจะเป็นกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า10 ปี และในจำนวนนี้ร้อยละ 82 พบว่าสัตว์ที่กัดเป็นสุนัขรองลงมาเป็นแมว ร้อยละ 13 ส่วนใหญ่ร้อยละ 77 เป็นสัตว์มีเจ้าของ"
          นายแพทย์นพพร
          กล่าวต่อว่า ประเทศไทยได้เตรียมแนวทางในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยการจัดทำคู่มือ/แนวทาง เพื่อใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จำเป็นแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกรมควบคุมโรคจะเตรียมพร้อมเครือข่ายด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีปลอดภัยจากโรคติดต่อที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศ และจะมีการร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย One Health เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมและกำจัดโรค เตรียมพร้อมในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ตลอดจนการเพิ่มความปลอดภัยด้านอาหารที่ได้จากสัตว์ โดยจะมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาความรู้ของแพทย์และสัตวแพทย์และมีการอบรม FETP ระดับนานาชาติด้วย
          ด้านสัตวแพทย์หญิง อภิรมย์ พวงหัตถ์ รองผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
          กล่าวว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปัจจุบันถือว่ามีผู้เสียชีวิตลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2555 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 4 รายในจังหวัดกรุงเทพฯ ระยอง นครศรีธรรมราช และสงขลา ซึ่งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าได้ดีที่สุด สำหรับวิธีการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ปลอดภัยและดีที่สุดก็คือ การนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคและยึดหลัก5 ย. ในการป้องกันการถูกหมากัดได้แก่"อย่าแหย่ อย่าเหยียบอย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง"
          หมายถึง อย่าแหย่ให้สุนัขโมโหอย่าเหยียบหาง ตัวหรือขาสุนัข อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติและผู้ปกครองควรดูแลเด็กไม่ให้เล่นกับสุนัขตามลำพัง เพื่อป้องกันตัวเองจากการกัดหรือทำร้ายจากสุนัข "สำหรับผู้ที่ถูกสุนัขกัด ควรยึดหลักดังนี้ "ล้างแผล ใส่ยากักหมา หาหมอ ฉีดวัคซีนต่อจนครบ" หมาย ถึง หากถูกสุนัขกัดควรรีบล้างแผลด้วยน้ำและถูสบู่บริเวณแผลให้สะอาด หลังจากนั้นเช็ดแผลให้แห้งแล้วใส่ยารักษาแผลสด ก่อนจะไปพบแพทย์ภายใน 24-48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการลามของเชื้อโรคตามเส้นประสาทในร่างกาย และควรไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อฉีดวัคซีนต่อจนครบ"
          การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้เกิดความเป็นรูปธรรมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืนในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 pageview  1205463    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved