Follow us      
  
  

สยามรัฐ [ วันที่ 21/08/2562 ]
ศิริราชคอนเฟิร์มกินไข่ลดอ้วน การันตีเคสคนไข้1ปีน้ำหนักหาย80กก.สุขภาพดี

 

          อ.นพ.กรภัทร มยุระสาคร หน่วยอณูเวชศาสตร์ สถานส่งเสริมการวิจัยFaculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผยจากการวิจัยและตรวจรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนหลายราย ที่คลินิกพิเศษ รพ.ศิริราช มีตัวอย่างความสำเร็จของการลดความอ้วนของผู้ป่วยที่เข้ารักษาภาวะน้ำหนักเกินที่มากถึง 192 กิโลกรัม ด้วยการปรับวิธีบริโภคโดยไม่ใช้ยา ไม่บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและโภชนาการ
          ผู้ป่วยรายนี้ใช้วิธีคุมคาร์โบไฮเดรตที่เรียกว่า "คีโตเจนิค ไดเอต" (Ketogenic Diet) คือ บริโภคคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงกว่าร้อยละ 10-20 จากที่บริโภคอยู่เดิมเช่น ลดกินแป้ง ผลไม้ นม ผักหัว ผักดอกเพิ่มอาหารอื่นๆ ที่เป็นเนื้อสัตว์ นม ไข่ผักใบให้มากขึ้น เพื่อให้อิ่มท้องและอิ่มนานเช่น ไก่ย่าง ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ต้ม กุ้ง หมูปลา ในช่วงแรกที่ลดน้ำหนัก ผู้ป่วยรายนี้กินไข่มากกว่าคนทั่วไปหลายเท่าตัว เพราะเตรียมง่าย หาง่าย ร่วมกับกินอาหารอื่นๆเช่น กาแฟดำ หมูปิ้ง ไก่ย่าง เป็นต้น
          จากนั้นค่อยลดปริมาณลง ตามน้ำหนักตัวที่ลดลง และตามความต้องการของร่างกาย และตามคำแนะนำของแพทย์โภชนาการ หลังผู้ป่วยกินอาหารตามที่แพทย์แนะนำอย่างมีวินัยเกือบ 1 ปี ปัจจุบันน้ำหนักลดเหลือ 110 กิโลกรัม จากเดิม192 กิโลกรัม โดยที่ระดับไขมัน/คอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ น้ำหนักตัวที่หายไปจากการกินที่ถูกต้องของผู้ป่วยรายนี้ จึงช่วยคลายกังวลและข้อสงสัยให้กับคนทั่วไป เกี่ยวกับการบริโภคไข่ได้อย่างดี แม้การกินไข่ปริมาณมาก จะไม่ได้เหมาะกับทุกคน แต่แสดงให้เห็นว่าไข่แดงไม่ได้น่ากลัวเสมอไป หากได้รับการดูแลและติดตามโดยผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับตรวจสุขภาพต่อเนื่อง ที่สำคัญเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย
          อ.นพ.กรภัทร มยุระสาคร หน่วยอณูเวชศาสตร์ สถานส่งเสริมการวิจัยFaculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผยจากการวิจัยและตรวจรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนหลายราย ที่คลินิกพิเศษ รพ.ศิริราช มีตัวอย่างความสำเร็จของการลดความอ้วนของผู้ป่วยที่เข้ารักษาภาวะน้ำหนักเกินที่มากถึง 192 กิโลกรัม ด้วยการปรับวิธีบริโภคโดยไม่ใช้ยา ไม่บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและโภชนาการ
          ผู้ป่วยรายนี้ใช้วิธีคุมคาร์โบไฮเดรตที่เรียกว่า "คีโตเจนิค ไดเอต" (Ketogenic Diet) คือ บริโภคคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงกว่าร้อยละ 10-20 จากที่บริโภคอยู่เดิมเช่น ลดกินแป้ง ผลไม้ นม ผักหัว ผักดอกเพิ่มอาหารอื่นๆ ที่เป็นเนื้อสัตว์ นม ไข่ผักใบให้มากขึ้น เพื่อให้อิ่มท้องและอิ่มนานเช่น ไก่ย่าง ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ต้ม กุ้ง หมูปลา ในช่วงแรกที่ลดน้ำหนัก ผู้ป่วยรายนี้กินไข่มากกว่าคนทั่วไปหลายเท่าตัว เพราะเตรียมง่าย หาง่าย ร่วมกับกินอาหารอื่นๆเช่น กาแฟดำ หมูปิ้ง ไก่ย่าง เป็นต้น
          จากนั้นค่อยลดปริมาณลง ตามน้ำหนักตัวที่ลดลง และตามความต้องการของร่างกาย และตามคำแนะนำของแพทย์โภชนาการ หลังผู้ป่วยกินอาหารตามที่แพทย์แนะนำอย่างมีวินัยเกือบ 1 ปี ปัจจุบันน้ำหนักลดเหลือ 110 กิโลกรัม จากเดิม192 กิโลกรัม โดยที่ระดับไขมัน/คอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ น้ำหนักตัวที่หายไปจากการกินที่ถูกต้องของผู้ป่วยรายนี้ จึงช่วยคลายกังวลและข้อสงสัยให้กับคนทั่วไป เกี่ยวกับการบริโภคไข่ได้อย่างดี แม้การกินไข่ปริมาณมาก จะไม่ได้เหมาะกับทุกคน แต่แสดงให้เห็นว่าไข่แดงไม่ได้น่ากลัวเสมอไป หากได้รับการดูแลและติดตามโดยผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับตรวจสุขภาพต่อเนื่อง ที่สำคัญเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย

 

 pageview  1205101    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved