Follow us      
  
  

โลกวันนี้ [ วันที่ 06/08/2555 ]
'หัวใจเต้นผิดจังหวะ'เสี่ยงหัวใจวาย-ตาย

 "โรคหัวใจ" เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จำ เป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยเป็น 1 ใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด ของประชากรโลก สำหรับในไทย "โรคหัวใจและหลอดเลือด"เพชฌฆาตอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุ และโรคมะเร็ง โดยมีผู้เสียชีวิตสูงถึงปีละประมาณ 18,000 ราย และ มีผู้ป่วยใหม่ปีละ 22,000 ราย อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอายุน้อยลง สร้างความ สูญเสียแก่ครอบครัวและผู้ใกล้ชิด อย่างไรก็ดี ในอนาคตองค์ความรู้ใหม่ๆที่ได้จากการศึกษาของทีมนักวิจัยไทยอาจช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิต กลุ่มนี้ลงได้
          นักวิจัยสายโรคหัวใจที่โดดเด่นท่านหนึ่ง ได้แก่ ศ.นพ.ดร. นิพนธ์ ฉัตรทิพากร ประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2555 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ไปครอง จากการนำคณะศึกษาเกี่ยว กับโรคหัวใจแบบองค์รวม ตั้งแต่ระดับพื้นฐานคือ ระดับเซลล์ อวัยวะ กลไกการทำงานของหัวใจ ไปจนถึงด้านการรักษา โดยมุ่งหวังให้สา-มารถนำองค์ความรู้ไปใช้งานได้จริง ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีการเผยแพร่ผลงานในวารสารนานาชาติมากมาย สร้างบุคลากรด้านโรคหัวใจ เพิ่มขึ้น และเป็นที่ยอมรับในระดับโลก โดยมีนักวิจัยและนักศึกษาต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาอบรมที่ศูนย์วิจัยเป็นจำนวนมาก
          การวิจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงปรากฏการณ์ไฟฟ้าในหัวใจหรือความแปรปรวนการเต้นของหัวใจ ที่นำไปสู่การเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง และการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) อย่างรวดเร็ว
          ศ.นพ.ดร.นิพนธ์อธิบายว่า หัวใจวายเกิดจากหลอดเลือดหัวใจที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน (หลอด เลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย-LAD) ทำให้หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจในบริเวณดังกล่าวตาย และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของไฟฟ้าขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ตายสร้างไฟฟ้าขึ้นเอง จึงกระทบหัวใจ โดยรวม ทำให้หัวใจเต้นผิดปรกติอย่างรุนแรง บีบตัวแรงและหยุดเต้น ทำให้ผู้ป่วยหมดสติ หากรักษาไม่ทันจะเสียชีวิตในที่สุด
          ผู้ที่เสี่ยงหัวใจวาย เช่น ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดและผู้เป็นโรคหัวใจจากกรรมพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยหัวใจวาย มีวิธีเดียวคือ การช็อกด้วยไฟฟ้าแรงสูงทันทีเพื่อให้หัวใจฟื้นกลับมาเต้นเหมือนเดิม แต่ความแรงจากการช็อกด้วยไฟฟ้าแรงสูงแม้จะช่วย ผู้ป่วยได้จริง ทว่าทำให้เกิดการทำ- ลายกล้ามเนื้อหัวใจสูง 20-40% ดังนั้น ศ.นพ.ดร.นิพนธ์และคณะจึงมุ่งค้นหาวิธีเพื่อลดความแรงไฟฟ้าที่ช็อกผู้ป่วยลงให้ต่ำที่สุด ในขณะที่ยังมีประสิทธิภาพในการรักษาสูงเหมือนเดิม
          ผลการศึกษาที่ผ่านมานับว่าก้าวหน้า โดยนักวิจัยได้พบแล้วว่ามียารักษาโรคเบาหวานชนิดรับประทานหรือชนิดฉีดบางตัวช่วยลดความแรงจากการช็อกไฟฟ้าได้ถึง 30% แต่ยังกำลังศึกษากลไกดังกล่าวอยู่ว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังพบว่ายาบางตัวให้ผลร้ายเช่นกัน โดยทำให้ต้องเพิ่มความแรงจากการ ช็อกขึ้นอีกเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
          นอกจากนี้ยังค้นพบด้วยว่าน้ำมันปลาโอเมก้า-3 และกระเทียม ช่วยลดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรงได้ประมาณ 40%
          ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ยังเปิดเผยด้วยว่า ผู้ป่วยหัวใจวายจะหมดสติจึงจำเป็นต้องได้รับการช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที ซึ่งตรงนี้เป็นที่มาหรือต้นกำเนิดของเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องช็อกหัวใจแบบอัตโนมัติชนิดฝังในผู้ป่วย ซึ่งจะทำงานชาร์จตัวเองและช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าสูงอัตโนมัติเมื่อหัวใจหยุดเต้น จึงช่วยลดความเสี่ยงเสียชีวิตให้ผู้ป่วยได้
          เครื่องดังกล่าวเป็นผลงานของต่างประเทศ แต่เวลานี้ ศ.นพ.ดร. นิพนธ์และคณะได้สร้างผลงานที่เป็นของไทยเองแล้ว ได้แก่ "เครื่อง ช็อกหัวใจภายนอก" โดยพัฒนาร่วม กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ราคาต่ำ ซึ่งตั้งเป้านำไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชนหรือพื้นที่ชนบทเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยทั่วไป
          โดยภาพรวมแสดงให้เห็นว่าการศึกษาของ ศ.นพ.ดร.นิพนธ์เป็นประโยชน์หลายอย่าง อย่างน้อยที่สุดจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับโอกาสในการรักษาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันยังช่วยปูทางสู่การพัฒนาวิธีรักษาเพื่อลดความแรงของการช็อกไฟฟ้า และนำไปต่อ ยอดเพื่อพัฒนาวิธีรักษาโรคหัวใจที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

 pageview  1205848    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved