Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 29/07/2564 ]
กรมอนามัย แนะวิธีเลือกซื้ออาหารช่วงแยกกักตัว

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะเลือกซื้ออาหารสด อาหารสำเร็จรูป อาหารแห้งในช่วงแยกกักตัว ต้อง ตรวจสอบสภาพอาหาร และวันเดือนปี ที่ผลิตทุกครั้ง หวั่นเป็นสินค้าเก่าเก็บ เสี่ยงเป็นเชื้อรา ยิ่งสั่งซื้อผ่านออนไลน์ ต้องยิ่งตรวจสอบให้ดี
          นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเฝ้าระวัง ของโรคโควิด-19 ที่ระบาด ในขณะนี้ ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีประชาชนที่เป็นผู้แยกกักตัวอยู่ที่บ้าน 14 วัน เพื่อเฝ้าระวังอาการเพิ่มมากขึ้น จึงต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวง สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ การเลือกซื้ออาหารสำรองไว้ในกรณีออกจากบ้านไม่ได้ ต้องเลือกซื้ออาหารและปรุงประกอบอาหารที่สะอาดและปลอดภัย สำหรับการซื้ออาหารสด ประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก และผลไม้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ เครื่องดื่มชนิดต่างๆ มาเก็บไว้ในปริมาณพอเหมาะ เพื่อช่วยรักษาอาหารให้สดใหม่ไม่เน่าเสีย อีกทั้งยังคง คุณค่าวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ และควรแยกอาหารแต่ละประเภทให้เป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกัน รวมถึงจัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท เพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุให้เก็บไว้ได้นานๆ โดยเฉพาะอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หากจะเก็บควรล้างให้สะอาดก่อนแล้วนำมาตัดแบ่งหรือหั่นเป็นชิ้นก่อนบรรจุในภาชนะที่ป้องกันการรั่วซึมได้ในปริมาณที่พอเหมาะกับการนำไปใช้ในแต่ละครั้ง แล้วจึงนำ ไปเก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ไม่ควรแช่เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ๆ หรือทั้งตัวในตู้เย็น เนื่องจากความเย็นอาจจะไม่เพียงพอ ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ชิ้นเล็ก หรือชนิดบด ควรใส่ถุงพลาสติกแช่อยู่ในช่องแช่แข็ง และหมั่นสำรวจวันหมดอายุของอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็น ไม่ควรเก็บอาหารไว้มากเกินไป จนทำให้การถ่ายเทอากาศภายในตู้เย็นทำได้ไม่ดี
          นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าว ต่อไปว่า หากเป็นอาหารปรุงสำเร็จบรรจุ กระป๋อง ผลไม้และน้ำผลไม้กระป๋อง รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ ที่สามารถเก็บไว้ ได้นาน ก่อนเลือกซื้อควรอ่านฉลาก ข้างกระป๋องให้ละเอียด โดยต้องมีเลขสารระบบอาหารในเครื่องหมาย อย. (เลข 13 หลัก) สถานที่ผลิต วันเดือนปี ที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ลักษณะ ของกระป๋องต้องไม่บวม ไม่บุบบู้บี้ ไม่เป็นสนิม ตะเข็บกระป๋องต้องไม่มี รอยรั่วหรือเป็นสนิม ในส่วนการสั่งซื้อ อาหารแห้งผ่านออนไลน์จำพวกธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้งและผลไม้แห้งต่างๆ อาจทำให้ได้รับสินค้าเก่าเก็บเสี่ยงต่อ การเกิดเชื้อราได้ เนื่องจากอาหาร ที่ผ่านกระบวนการอบแห้งหรือการ ตากแห้งเพื่อลดปริมาณน้ำในอาหาร เป็นการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ และชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร อาจมี ความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อราได้ง่าย หาก เก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ใน ที่ชื้นเกินไป หรือไม่มีการอบให้แห้งดีพอ ก่อให้เกิดสารอะฟลาท็อกซิน เมื่อบริโภคเข้าไปสะสมในปริมาณมากทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้
          "ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าควรสอบถามถึงคุณภาพและ วันหมดอายุกับผู้ขายก่อนทุกครั้งรวมถึง พิจารณาภาพประกอบการขายสินค้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และเมื่อได้รับสินค้าแล้วควร สังเกตบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ซองบรรจุไม่มีรูรั่ว และอ่านฉลาก ให้ครบถ้วน ตั้งแต่ชนิด ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดคุณภาพ และก่อนที่จะนำมาปรุงประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดเพื่อ ขจัดสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในอาหาร และควรปรุงสุกทุกครั้งก่อนนำมาบริโภค" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

 pageview  1204946    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved