Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 10/09/2562 ]
หน้าฝนเสี่ยงป่วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย เพิ่มขึ้น เผยคนทำงานใกล้ป่า-พื้นที่ชายแดน กลุ่มเสี่ยงสูง ต้องเฝ้าระวัง

 

          ยังคงอยู่ในช่วงหน้าฝน ซึ่งคงต้องเฝ้าระวังสำหรับโรคภัยต่างๆ ที่มากับหน้าฝน โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ไม่เพียงแต่ประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเมืองเท่านั้น สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้ป่า หรือบริเวณเขตชายแดน นับเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน โดยนอกจากต้องระมัดระวังโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังต้องระวังโรคไข้มาลาเรียอีกด้วย
          มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ การระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรค ไข้มาลาเรีย ซึ่งขณะนี้การกลับมาระบาดของทั้ง 2 โรคมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกล่าสุด ของกระทรวงสาธารณสุข (วันที่ 31 กรกฎาคม 2562) พบว่าตั้งแต่ต้นปีมี ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 59,167 ราย เสียชีวิต 67 ราย จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก มากกว่าปี 2561 ในช่วงเวลาเดียวกัน 1.6 เท่า โดยกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5-14 ปี รองลงมาคือ 15-34 ปี ขณะที่ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียนั้น จากข้อมูลล่าสุด (วันที่ 2 สิงหาคม 2562) พบแล้ว 3,477 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ ในช่วงอายุ 22-44 ปี รองลงมาคือ 5-14 ปี
          จากตัวเลขดังกล่าวทำให้ทุกคนต้องระมัดระวังและดูแลสุขภาพตนเองให้มากขึ้น ซึ่งสาเหตุของการระบาดของโรคมีอยู่หลายปัจจัย ทั้งปริมาณยุงลายพาหะของโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอากาศที่ร้อนและร้อนเร็วขึ้น ทำให้วงจรชีวิตของยุงถูกเร่งให้เข้าสู่ช่วงตัวเต็มวัยจาก 7 วัน เป็น 5 วัน รวมถึงมีผู้ป่วยติดเชื้อในหลายพื้นที่ทั่วประเทศเมื่อผู้ป่วยถูกยุงลายกัดและยุงไปกัดคนอื่นต่อก็จะมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ยิ่งเป็นช่วง ฤดูฝนทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงมีเพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียเพิ่มขึ้นอีกในช่วงครึ่งปีหลัง
          ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรค ไข้เลือดออก คือกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ไขมัน หัวใจขาดเลือด ไทรอยด์ หอบหืด โดยเฉพาะ ในเด็กเล็กที่มีน้ำหนักตัวมาก จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรครุนแรงได้มาก นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน หากจำนวนเชื้อไวรัสในเลือดของคุณแม่สูง ก็สามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
          สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงซึ่งต้องเฝ้าระวังในการเกิดโรค คือประชาชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่า รวมไปถึงเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งต้องออกปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อุทยานและบริเวณเขตชายแดน ต้องคอยระวังและหลีกเลี่ยงสาเหตุของการโรคภัยเหล่านี้ โดยทุกคนควรสังเกตอาการเจ็บป่วยของตนเอง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นหรือจุดแดงขึ้นคล้ายผื่นของโรคหัด หน้าแดง บางรายอาจมีภาวะเลือดออก ในรายที่มีอาการรุนแรงมากหลังมีไข้มาหลายวันอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อกขึ้นได้ ส่วนโรคไข้มาลาเรียนั้นจะมีอาการทั่วไป คล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เหงื่อออก และ เบื่ออาหาร
          มีคำแนะนำดีๆ จากทีมเภสัชกร บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์คุณภาพชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย รวมไปถึงวิธีการป้องกัน ดังนี้
          เบื้องต้น หากมีอาการเจ็บป่วย หรือไม่สบาย หรือสงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกหรือโรคไข้มาลาเรีย แนะนำว่า ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาตามอาการของโรคจะปลอดภัยที่สุด ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หรือรับประทานแค่ยาพาราเซตามอล เพราะไข้จะไม่ลด นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม NSAIDs เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียง คือทำให้ระบบเลือดไม่คงที่และทำให้เลือดออกง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวหากรักษาไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้ ส่วนวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ควรหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด ได้แก่ นอนในมุ้ง ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น บริเวณ ที่มีน้ำขัง ฉีดพ่นหมอกควันไล่ยุง และ หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่การระบาดของโรค
          สำหรับโรคภัยที่มากับหน้าฝนยังมีอีกหลายโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้งที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรง อาทิ โรคปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ซิกา โรคไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus) หรือ ไข้เห็บ ไข้ฉี่หนู ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ภัยจากสัตว์และพืชมีพิษต่างๆ อีกด้วย
          ยังคงอยู่ในช่วงหน้าฝน ซึ่งคงต้องเฝ้าระวังสำหรับโรคภัยต่างๆ ที่มากับหน้าฝน โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ไม่เพียงแต่ประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเมืองเท่านั้น สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้ป่า หรือบริเวณเขตชายแดน นับเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน โดยนอกจากต้องระมัดระวังโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังต้องระวังโรคไข้มาลาเรียอีกด้วย
          มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ การระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรค ไข้มาลาเรีย ซึ่งขณะนี้การกลับมาระบาดของทั้ง 2 โรคมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกล่าสุด ของกระทรวงสาธารณสุข (วันที่ 31 กรกฎาคม 2562) พบว่าตั้งแต่ต้นปีมี ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 59,167 ราย เสียชีวิต 67 ราย จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก มากกว่าปี 2561 ในช่วงเวลาเดียวกัน 1.6 เท่า โดยกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5-14 ปี รองลงมาคือ 15-34 ปี ขณะที่ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียนั้น จากข้อมูลล่าสุด (วันที่ 2 สิงหาคม 2562) พบแล้ว 3,477 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ ในช่วงอายุ 22-44 ปี รองลงมาคือ 5-14 ปี
          จากตัวเลขดังกล่าวทำให้ทุกคนต้องระมัดระวังและดูแลสุขภาพตนเองให้มากขึ้น ซึ่งสาเหตุของการระบาดของโรคมีอยู่หลายปัจจัย ทั้งปริมาณยุงลายพาหะของโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอากาศที่ร้อนและร้อนเร็วขึ้น ทำให้วงจรชีวิตของยุงถูกเร่งให้เข้าสู่ช่วงตัวเต็มวัยจาก 7 วัน เป็น 5 วัน รวมถึงมีผู้ป่วยติดเชื้อในหลายพื้นที่ทั่วประเทศเมื่อผู้ป่วยถูกยุงลายกัดและยุงไปกัดคนอื่นต่อก็จะมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ยิ่งเป็นช่วง ฤดูฝนทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงมีเพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียเพิ่มขึ้นอีกในช่วงครึ่งปีหลัง
          ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรค ไข้เลือดออก คือกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ไขมัน หัวใจขาดเลือด ไทรอยด์ หอบหืด โดยเฉพาะ ในเด็กเล็กที่มีน้ำหนักตัวมาก จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรครุนแรงได้มาก นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน หากจำนวนเชื้อไวรัสในเลือดของคุณแม่สูง ก็สามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
          สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงซึ่งต้องเฝ้าระวังในการเกิดโรค คือประชาชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่า รวมไปถึงเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งต้องออกปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อุทยานและบริเวณเขตชายแดน ต้องคอยระวังและหลีกเลี่ยงสาเหตุของการโรคภัยเหล่านี้ โดยทุกคนควรสังเกตอาการเจ็บป่วยของตนเอง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นหรือจุดแดงขึ้นคล้ายผื่นของโรคหัด หน้าแดง บางรายอาจมีภาวะเลือดออก ในรายที่มีอาการรุนแรงมากหลังมีไข้มาหลายวันอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อกขึ้นได้ ส่วนโรคไข้มาลาเรียนั้นจะมีอาการทั่วไป คล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เหงื่อออก และ เบื่ออาหาร
          มีคำแนะนำดีๆ จากทีมเภสัชกร บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์คุณภาพชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย รวมไปถึงวิธีการป้องกัน ดังนี้
          เบื้องต้น หากมีอาการเจ็บป่วย หรือไม่สบาย หรือสงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกหรือโรคไข้มาลาเรีย แนะนำว่า ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาตามอาการของโรคจะปลอดภัยที่สุด ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หรือรับประทานแค่ยาพาราเซตามอล เพราะไข้จะไม่ลด นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม NSAIDs เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียง คือทำให้ระบบเลือดไม่คงที่และทำให้เลือดออกง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวหากรักษาไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้ ส่วนวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ควรหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด ได้แก่ นอนในมุ้ง ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น บริเวณ ที่มีน้ำขัง ฉีดพ่นหมอกควันไล่ยุง และ หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่การระบาดของโรค
          สำหรับโรคภัยที่มากับหน้าฝนยังมีอีกหลายโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้งที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรง อาทิ โรคปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ซิกา โรคไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus) หรือ ไข้เห็บ ไข้ฉี่หนู ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ภัยจากสัตว์และพืชมีพิษต่างๆ อีกด้วย

 

 pageview  1205131    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved