Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 29/08/2562 ]
เบาหวาน โรคใกล้ตัว แนะสำรวจตนเองก่อนเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง

 "เบาหวาน" เป็นโรคใกล้ตัว ที่มีสถิติคนไทยป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดจากการที่ฮอร์โมนอินซูลินซึ่งสร้างจากตับอ่อนมีระดับต่ำหรือน้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกาย นำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ ส่งผลให้มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดสูงขึ้น จึงทำให้เป็นเบาหวานในที่สุด
          สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยสำคัญของการเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ อาหารยังมีส่วนที่ทำให้เกิดเบาหวานได้ มีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทานของหวานที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล หรืออาหารที่มีแคลอรี่สูง เช่น ไขมัน ของมัน หรืออาหารที่ผ่านกระบวนการ แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เบคอน ตลอดจนเครื่องดื่มยอดฮิตต่างๆ เช่น ชานมไข่มุก เมื่อรับประทานเข้าไปมากๆ จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เกิด โรคอ้วนและโอกาสที่เป็นเบาหวานก็เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ
          นอกจากนี้ รูปแบบของการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้คนในยุคปัจจุบันหันไปรับประทานอาหารจานด่วน หรือฟาสต์ฟู้ด มากขึ้น โดยพฤติกรรมดังกล่าวล้วนเสี่ยง ทำให้เป็นเบาหวานเช่นกัน ซึ่งทีมแพทย์จากกลุ่มโรงพยาบาลพริ้นซ์ กลุ่ม โรงพยาบาลพิษณุเวช และโรงพยาบาลอื่นๆ ในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด แนะนำวิธีสังเกตตัวเองเบื้องต้นว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานหรือไม่ รวมไปถึงวิธีปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ดังนี้
          1.สำรวจตนเองก่อนเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่ 1.ผู้ที่มีบิดาหรือมารดาหรือพี่น้องมีประวัติเป็นเบาหวาน เรียกว่าเป็นความเสี่ยงตามพันธุกรรม 2.ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน และ 3.ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ทั้งสามปัจจัยนี้ เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดเบาหวาน หากไม่ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร ก็จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีรูปร่างปกติ ผอม หรือมีรูปร่างสมส่วน ก็สามารถอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน
          2.การรับประทานอาหารกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ซึ่งจะมีการให้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่เรามีในร่างกายคือ น้ำตาลที่สูงเกินไป ดังนั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ อาหารที่จะรับประทาน เข้าไปนั้น จะไปเพิ่มน้ำตาลในกระแสเลือดให้สูงขึ้นหรือไม่ โดยอาหารจำพวกแป้ง โปรตีน ผัก และผลไม้ต่างๆ นับว่าจำเป็นต่อร่างกายอยู่แล้ว แต่ควรรับประทานให้พอประมาณ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ขณะเดียวกันควรหมั่นออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
          3.ทุเรียน กับ ผู้ป่วยเบาหวาน ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ที่ใครหลายคนชื่นชอบ สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและตรวจเลือดแล้วว่าไม่เป็นเบาหวาน สามารถรับประทานได้ แต่สำหรับ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรระมัดระวัง หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน โอกาสความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานก็จะเพิ่มสูงขึ้น สำหรับผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้รักษาระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมายก่อน ก็จะสามารถรับประทานได้ แต่อาจจะหันไปลดปริมาณอาหารอย่างอื่นแทน ซึ่งแนะนำว่า ผู้ที่เป็นเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว ด้วยจะเป็นผลดีที่สุดต่อตนเอง
          4.เป็นเบาหวานแล้ว โรคไตจะถามหาหรือไม่ มีรายงานว่า ผู้ที่เป็น เบาหวานที่วินิจฉัยครั้งแรกจะมีค่าไตเสื่อมประมาณ 20-30% สำหรับผู้ที่เป็น เบาหวานมานาน 5-10 ปี จะมีความเสื่อมของไตเกิดขึ้นแล้วประมาณ 50% ยิ่งหากรับประทานอาหารรสเค็ม จะส่งผล ให้ความดันสูงขึ้นตามไปด้วย
          5.ไขข้อข้องใจเป็นเบาหวานแล้วมีโอกาสหายหรือไม่ ผู้ที่เป็นเบาหวานในระยะเริ่มต้น หากสามารถคุมอาหารได้ รักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ไม่ว่าจะทานยาหรือไม่ทานยาก็ตาม หมั่น ออกกำลังกาย ระดับน้ำตาลอาจจะกลับมา ในภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวานได้ แต่ ไม่สามารถใช้คำว่าหายขาดได้ หาก ไม่ดูแลตนเองให้ดีก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องพึงระลึกและบอกตนเองเสมอว่า ทำอย่างไรให้การรับประทานอาหารกับการใช้ยามีความสมดุลกัน ต้องกระจายมื้ออาหารอย่างไรที่ไม่ให้ระดับน้ำตาลสูง ควรออก กำลังกายในช่วงไหนบ้างที่จะให้น้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปนั้นอยู่ในภาวะที่สมดุลกัน หากรับประทานน้อยเกินไป เกิดภาวะน้ำตาลต่ำก็เป็นอันตราย หากรับประทานมากเกินไปน้ำตาลสูง ก็เกิดโรคแทรกซ้อน ดังนั้น การ รับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา ต้องสมดุลกัน
          หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรค เบาหวาน หรือเรื่องสุขภาพอื่นๆ สามารถขอคำปรึกษาจากทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด (โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (จังหวัดสมุทรปราการ) โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 และ 2 (จังหวัดนครสวรรค์) โรงพยาบาลพิษณุเวช (จังหวัดพิษณุโลก) โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ (จังหวัดอุตรดิตถ์) โรงพยาบาลสหเวช (จังหวัดพิจิตร) และโรงพยาบาลศิริเวชลำพูน (จังหวัดลำพูน) และสามารถติดตามสาระดีๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่เฟซบุ๊คเพจ : Principal Healthcare Company

 pageview  1204505    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved