Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 14/08/2562 ]
ร่วมบริจาคโลหิต..ช่วยต่อชีวิตผู้ป่วย

 ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ
          เราสามารถทำความดีได้หลายวิธี แต่มีการทำบุญที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยแต่ได้ประโยชน์ทั้ง ผู้ให้และผู้รับได้อย่างชัดเจน คือ การบริจาคโลหิต นั่นเอง เพราะนอกจากจะสามารถนำเลือดไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการเลือดแล้วนั้น ยังเป็นผลดีกับผู้ให้ที่นอกจากจะเป็นการทำบุญช่วยชีวิตคนแล้ว ยังทำให้ผู้ที่บริจาคโลหิต มีร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณเปล่งปลั่งอีกด้วย
          โลหิต เป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาชีวิตผู้ป่วยให้รอดพ้นจากความตายยามที่ร่างกายเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ ผ่าตัด หรือผู้ป่วยโรคเลือดอย่าง เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคเลือดออกง่ายหยุดยากฮีโมฟีเลีย และโรคต่างๆ อีกจำนวนมาก การได้มีโอกาสบริจาคโลหิต จึงนับเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ที่ช่วยต่อลมหายใจให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตใหม่และกลับไปอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข
          ข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย แนะนำถึง คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต ดังนี้
          ผู้บริจาคโลหิตต้องมีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง แต่อายุ 18 ปี สามารถตัดสินใจบริจาคโลหิตได้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกับการมีสิทธิเลือกตั้ง
          ผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 60-65 ปี และบริจาคต่อเนื่อง มาตลอด ให้บริจาคได้ทุก 3 เดือน
          ผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 65-70 ปี และบริจาคต่อเนื่อง มาตลอด ให้บริจาคได้ทุก 6 เดือน และต้องมีการตรวจนับจำนวนของ เม็ดเลือดทุกชนิดทุกครั้ง ไม่รับบริจาคในหน่วยเคลื่อนที่
          สำหรับผู้ที่มีความต้องการจะบริจาคโลหิต ควรเตรียมตัวก่อนไปบริจาคโลหิต ดังนี้ควรนอนพักผ่อนอย่างปกติ ให้เพียงพอ สุขภาพพร้อมในวันที่บริจาคโลหิต และไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ
          ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูงภายใน 6 ชั่วโมง ก่อนมาบริจาคโลหิต ได้แก่ ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เพราะจะทำให้พลาสมาหรือน้ำเหลือง มีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้ และหลังจากบริจาคโลหิต ให้รับประทานอาหารตามปกติ ไม่จำเป็นต้องรับประทาน อาหารเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยโลหิต ที่บริจาคไป
          ไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้ที่ กำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่ากำลัง ตั้งครรภ์ และสตรีหลังคลอด ให้นมบุตร แท้งบุตร ต้องเว้นการบริจาคโลหิต อย่างน้อย 6 เดือน
          ไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต ถ้าขณะนั้นมีสุขภาพแข็งแรง มีประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ร่างกายทั่วไปสบายดี ไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ ก็สามารถบริจาคโลหิตได้ และสตรีที่หมดประจำเดือนแล้ว สามารถบริจาคโลหิตได้ หากสุขภาพร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีโรค ประจำตัวใดๆ
          ผู้ที่สักหรือเจาะผิวหนัง เช่น เจาะหู เจาะสะดือ เจาะจมูก ฯลฯ ให้งดการบริจาคโลหิต 12 เดือน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ฯลฯ ซึ่งอาจส่งต่อไปให้ผู้ป่วยรับโลหิตได้
          ผู้บริจาคอาจมีอาการอ่อนเพลีย และมีอาการหน้ามืดเป็นลม ภายหลังบริจาคโลหิตได้ ส่วนผู้ป่วยที่รับโลหิตอาจได้รับเชื้อที่เป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง ที่อาจติดทางกระแสโลหิต
          การที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้น อาจมีสาเหตุมาจากโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะโรคเอดส์ ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงสภาวะทางจิตใจที่มีความวิตกกังวล หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
          ผู้บริจาคโลหิตที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ คือ การผ่าตัดที่ต้องมีการใช้ยาสลบ หรือให้ยาชาเข้าไขสันหลัง มีการสูญเสียโลหิตจำนวนหนึ่ง ซึ่งต้องใช้เวลาสร้างทดแทนขึ้นโดยเฉพาะการผ่าตัดใหญ่อาจเสียโลหิตมาก เนื้อเยื่อของร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม จึงควรเว้นการบริจาคโลหิต 6 เดือน หากบางรายต้องรับโลหิตด้วยต้องเว้น 1 ปี
          ผู้บริจาคที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก คือ การผ่าตัดที่ไม่ต้องใช้ยาสลบ แต่ใช้การระงับความรู้สึกเฉพาะที่ และไม่ต้องมีการช่วยหายใจ ควรเว้นการบริจาคอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้ผู้บริจาคมีสุขภาพ แข็งแรงดีพอที่จะบริจาคโลหิต และลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการผ่าตัด
          การรักษาในช่องปากทำให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบภายใน 3 วัน อาจมีภาวะติดเชื้อโรคในกระแสโลหิตชั่วคราวโดยไม่มีอาการ ซึ่งเชื้อโรคในกระแสเลือด ทำให้ติดต่อไปสู่ผู้ป่วยได้ หากมีการ ผ่าตัดเล็ก เช่น ผ่าฟันคุด เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลหายสนิท ไม่มีอาการอักเสบ
          ผู้ที่เคยมีประวัติติดยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ อาจมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรค ที่มีการติดต่อทางโลหิตและน้ำเหลือง โดยเฉพาะโรคเอดส์และโรคตับอักเสบ เนื่องจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ รวมทั้งการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดร่วมกัน โดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน จึงควรงดบริจาคโลหิต 3 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าพ้นจากระยะ ฟักตัวของโรคต่างๆ ที่อาจได้รับมาแล้ว
          ยาในกลุ่มดังกล่าวมีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดแข็งตัวช้า เลือดไหลแล้วหยุดยาก ดังนั้น จึงควรแจ้งแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ให้ทราบก่อนบริจาคโลหิต เพื่อจะได้ไม่นำเกล็ดเลือดไปใช้กับผู้ป่วย
          ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด ให้เว้นการบริจาคโลหิตหลังฉีดยาครบแล้ว 10 วัน และผู้บริจาคไม่มีอาการของโรค ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานให้เว้นการบริจาคโลหิตหลังหยุดยา 3 วัน และผู้บริจาคไม่มีอาการของโรค
          กรณีผู้บริจาคโลหิตรับประทาน ยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ หมายความว่า ผู้บริจาคโลหิตมีการติดเชื้ออยู่ ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้าสู่กระแสโลหิตส่งมาถึงผู้ป่วยได้ บริจาคโลหิตหลังจากหยุดยาแล้วอย่างน้อย 7 วัน
          ผู้บริจาคที่เคยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ หากเป็นก่อนอายุ 11 ปี เมื่อหายแล้ว สามารถบริจาคโลหิตได้ หรือผู้ที่มีอาการดีซ่าน สาเหตุจากมีนิ่วอุดตันในทางเดินน้ำดี เมื่อผ่าตัดหายแล้ว ก็สามารถบริจาคโลหิตได้
          ผู้บริจาคที่มีประวัติการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือไวรัสตับอักเสบชนิดซี ภายหลังอายุ 11 ปี ถึงแม้ว่าจะมีผลการตรวจ HBsAg หรือ Anti-HCV ให้ผลลบ ให้งดบริจาคโลหิตถาวร
          ด้วย รพ.ราชวิถีมีผู้ป่วยรอรับ การรักษาเป็นจำนวนมากทุกวัน นพ.ชัชวาล นาคะเกศ หัวหน้างานธนาคารเลือด รพ.ราชวิถี เปิดเผยว่า รพ.ราชวิถี ขาดแคลนเลือด มีต้องการเลือดในการ รักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก จึงขอเชิญชวน ท่านที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มาร่วมบริจาคโลหิตที่ งานธนาคารเลือด ชั้น 7 ตึกสิรินธร รพ.ราชวิถี เปิดบริการ ทุกวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.30- 15.30 น. (โดยไม่มีพักกลางวัน) สอบถาม โทร.02-3548108 ต่อ 3031

 pageview  1205090    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved