Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 20/06/2562 ]
เวิร์ก-ไลฟ์ไม่บาลานซ์ เสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม

เป็นที่ทราบกันดีว่าไลฟ์สไตล์การทำงานของมนุษย์ออฟฟิศใน ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน อย่างสิ้นเชิง สาเหตุหลักมาจาก การปรับตัวเข้าสู่โลกการทำงานในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และคงปฏิเสธได้ยากว่าสื่อดิจิทัลรวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ นั้นกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันของคนยุคนี้ ไปเรียบร้อยแล้ว ยุคดิจิทัลทำให้ การติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลต่างๆมีความง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยคนสมัยนี้สามารถ ใช้ประโยชน์จากความสะดวกสบายดังกล่าวในการทำงาน เช่น ส่งอีเมล จากที่บ้าน ประชุมหรือส่งงานผ่านกรุ๊ปไลน์ การติดตามข่าวสารการตลาดหรือธุรกิจผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เป็นต้น แต่ความสะดวกสบายนี้ก็มา พร้อมกับความกดดันและความ คาดหวังให้ก้าวทันเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น บนโลกใบนี้ บางคนถึงกลับกล่าวว่าเพียงแค่หยุดอยู่กับที่เฉยๆ ก็อาจทำให้ล้าหลังคนอื่นแล้ว จึงไม่แปลกที่คนทำงานรุ่นใหม่จะมีชีวิตติดดิจิตอลและใช้เวลาบนโลกออนไลน์ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆไม่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเลต โน้ตบุ๊ค และคอมพิวเตอร์มากเกินไป จนหลงลืมการให้เวลากับครอบครัวและดูแลตัวเอง
          จากไลฟ์สไตล์ข้างต้นส่งผลให้มนุษย์ออฟฟิศยุคใหม่มีความเครียดสูง เพราะต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ใช้สายตามาก มีเวลา พักผ่อนน้อย ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ทานอาหารไม่ตรงเวลาหรือทานอาหาร ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งหากปล่อยละเลยหรือไม่ได้รับการป้องกันที่ ทันท่วงทีจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม เช่น โรคกรด ไหลย้อน นิ้วล็อก หมอนรองกระดูกทับ เส้นประสาท กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ฯลฯ ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายต่อสุขภาพในระยะยาวและการใช้ชีวิตประจำวันได้
          นอกจากนั้น ผลสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360ฐ ของ "ซิกน่า" ยังพบข้อมูลในทำนอง เดียวกันด้วยว่า คุณภาพชีวิตของ คนวัยทำงานซึ่งมีอายุระหว่าง 30- 45 ปี ที่มักนั่งทำงานติดโต๊ะและต้องพบกับความเครียดสูงทั้งจากปัญหาการทำงานและชีวิตส่วนตัว มีคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวมที่ต่ำกว่ากลุ่มคนช่วงอายุอื่นโดยเฉพาะคะแนนด้านการงาน และคนกลุ่มนี้มีความเครียดที่ค่อนข้างสูง ซึ่งมากกว่า 88% ของคนกลุ่มนี้มีความเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวลในเรื่องการทำงานหนักและการใช้เวลากับคนในครอบครัวที่ไม่เพียงพอ
          สำหรับอาการของออฟฟิศ ซินโดรม จาก ข้อมูลของศูนย์เวชศาสตร์ ฟื้นฟูโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ เผยว่า 1.ปวดกล้ามเนื้อ เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเช่น คอ บ่า ไหล่สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้างไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วยมีลักษณะอาการปวดล้าๆ ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก 2.อาการของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งพบร่วมได้เช่น ช่า วูบเย็น เหน็บ ขนลุก เหงื่อออกตามบริเวณทั้งปวดร้าวถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่า 3.อาการทางระบบประสาทที่ถุกกดทับเช่นอาการชาบริเวณแขนและมือรวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาท
          ส่วนการรักษาอาการ ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น การยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธี ด้วยตัวเอง, การรักษาด้วยวิธีทาง กายภาพบำบัด ด้วยอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมและทันสมัย, การนวดแผนไทย, การฝังเข็ม และการรับประทานยา
          สำหรับการป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการเช่น การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น การ ออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ โดยอาศัยความใส่ใจและความสม่ำเสมอ, ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบายปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการยืดเหยียดหรือเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างทุกๆ 1 ชั่วโมง
          ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมรับมือกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากไลฟ์สไตล์ในการทำงานที่เปลี่ยนไป กลุ่มคนวัยทำงานยุคใหม่ต้องรู้เท่าทันและต้องหันกลับมาเตรียมตัววางแผนดูแลสุขภาพของตนเองให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ในการทำงานยุคปัจจุบันนั่นเอง

 pageview  1205111    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved