Follow us      
  
  

ไทยโพสต์ [ วันที่ 14/03/2555 ]
แนะกินยาให้ถูกเวลารักษาโรค

         ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า การกินยารักษาโรคหลายชนิด เช่น ไขข้ออักเสบ กระดูกพรุน และโรคกรดไหลย้อน จำเป็นต้องกินให้ถูกเวลาเพื่อประสิทธิผลในการรักษา
          เช่น ยาป้องกันอาการหัวใจวายหรือเส้นเลือดสมองตีบ ควรกินเมื่อตื่นนอนสิ่งสำคัญคือ นาฬิกาในร่างกายของเราเป็นตัวควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย การผลิตฮอร์โมน การเคลื่อนตัวของลำไส้และความเหนื่อยล้า
          ผู้เชี่ยวชาญมีคำแนะนำว่า โรคไหนควรกินยาในเวลาใด
          กระดูกพรุน
          ยาที่ใช้กันมากสำหรับรักษาโรคกระดูกพรุน คือ บิสฟอสโฟเนต ซึ่งป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก
          ซาราห์ เลย์แลนด์ พยาบาลอาวุโสของสมาคมโรคกระดูกพรุนแห่งชาติของอังกฤษ บอกว่า ยาตัวนี้ดูดซึมได้ยาก ละลายในน้ำมันและไขมันไม่ดีนัก ดังนั้นต้องกินพร้อมน้ำในทันทีที่ตื่นนอนขณะกระเพาะยังว่าง และงดอาหารในตอนกลางคืน แล้วรอประมาณหนึ่งชั่วโมงจึงค่อยกินหรือดื่ม
          คนไข้โรคกระดูกพรุนจำนวนมากต้องกินแคลเซียมหรือวิตามินดี แต่สารอาหารพวกนี้รบกวนการดูดซึม จึงควรรอไว้หนึ่งชั่วโมงหลังกินยาตัวนี้ แล้วจึงค่อยกินวิตามิน ถ้ากินหรือดื่มอย่างอื่นนอกจากน้ำหรือกินยาตัวอื่นก็จะไม่ได้ผลในการรักษา
          ความดันโลหิตสูง
          ผลวิจัยในสเปนชิ้นหนึ่งเมื่อปีที่แล้วระบุว่า การกินยาความดันโลหิตสูงในตอนกลางคืนจะควบคุมความดันได้ดีกว่า และลดความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายและเส้นเลือดสมองตีบ
          ในคนที่มีสุขภาพดีนั้น ความดันโลหิตในตอนกลางคืนจะลดลง 10-20% คนที่มีความดันไม่ลดลงมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการหัวใจวายและเส้นเลือดสมองแตก
          ในการศึกษาคนไข้ชายหญิง 2,156 รายซึ่งมีความดันโลหิตสูง คนที่กินยาลดความดันในตอนกลางคืนมีความเสี่ยงลดลง 33% ต่ออาการปวดรุนแรง, เส้นเลือดสมองแตกและหัวใจวาย เมื่อเทียบกับคนที่กินยาความดันในตอนเช้าเทียบกับคนที่กินยาความดันในตอนเช้า
          หัวหน้าทีมวิจัย รามอน เฮอร์มิดา แห่งมหาวิทยาลัยวีโก บอกว่า ความดันโลหิตในเวลานอนหลับจะลดลงได้ดีที่สุดเมื่อกินยาในตอนเข้านอน แต่คนที่กินในตอนเช้าไม่ควรเปลี่ยนมากินตอนกลางคืนโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
          ข้ออักเสบงาน
          วิจัยของมหาวิทยาลัยเทกซัสเทค พบว่า คนไข้โรคข้ออักเสบมักมีอาการปวดมากที่สุดในช่วงบ่าย เวลาที่เหมาะที่สุดในการกินยาแก้อักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน คือเวลาเที่ยงวันถึงบ่ายสาม เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ในช่วงที่มีอาการมากที่สุด
          นักวิจัยยังพบด้วยว่า คนไข้ข้ออักเสบรูมาตอยด์มักรู้สึกปวดมากที่สุดในช่วงเช้า ดังนั้นการกินยาแก้ปวดหลังอาหารค่ำจะได้ผลที่สุด ในการป้องกันไม่ให้อาการปวดเริ่มสั่งสมในตอนกลางคืน
          คอเลสเตอรอลสูง
          มีข้อแนะนำให้กินยาลดคอเลสเตอรอลในตอนเข้านอนแทนตอนเช้า ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์พบว่า เมื่อคนไข้ที่กินยาซิมวาสตาติน ซึ่งเป็นยาในกลุ่มสตาติน เปลี่ยนจากการกินตอนค่ำมาเป็นตอนเช้า ปรากฏว่า คอเลสเตอรอลชนิดเลว คือ แอลดีแอล ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
          งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในวารสาร International Journal of Clinical Practice เมื่อปี2551 เผยว่า การกินยาพวกสตาตินอีกตัวหนึ่ง คือ เอทอร์วาสตาติน (ชื่อการค้าLipitor) ในตอนค่ำ ให้ผลดีกว่าการกินในตอนเช้า ช่วยลดการค่ำ ให้ผลดีกว่าการกินในตอนเช้า ช่วยลดการเกิดอาการหัวใจวาย, เส้นเลือดอุดตัน และมีคอเลสเตอรอลชนิดดีมากขึ้น เส้นเลือดทำงานได้ดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญคิดว่า นั่นอาจเป็นเพราะคอเลสเตอรอลถูกผลิตขึ้นในตอนกลางคืนขณะเราไม่ได้กินอาหาร
          ยาโรคหัวใจ
          อาการหัวใจวายและเส้นเลือดสมองแตกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 เท่าที่จะเกิดขึ้นในช่วงเช้ามากกว่าช่วงเวลาอื่นแต่ยังไม่รู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ล่าสุดงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคส เวสเทิร์น รีเสิร์ฟ ในมลรัฐโอไฮโอ ได้พบโปรตีนชื่อเคแอลเอฟ 15 ซึ่งควบคุมจังหวะเต้นของหัวใจ
          นักวิจัยพบว่า ระดับของโปรตีนชนิดนี้จะขึ้นลงในรอบ 24 ชั่วโมง คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะเต้นช้าที่สุดในช่วง 6 โมงเช้าถึงเที่ยง ศาสตราจารย์ มูเกช จาอิน หัวหน้าทีมวิจัย บอกว่า เมื่อช่วงเวลาระหว่างการเต้นแต่ละครั้งช้าลง ทำให้มีแนวโน้มมากขึ้นที่หัวใจจะเต้นผิดจังหวะ เกิดการลัดวงจร ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย นั่นหมายความว่า เวลาที่ดีที่สุดในการกินยาโรคหัวใจคือ ตอนตื่นนอน.

 pageview  1205684    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved