Follow us      
  
  

ไทยโพสต์ [ วันที่ 06/02/2555 ]
ต่างชาติมองบัตรทองสกัดการเมืองไม่อยู่
          สาธารณสุข * ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศประเมิน 10 ปีบัตรทอง มีภารกิจยังทำไม่สำเร็จ ไม่สามารถออกแบบระบบให้สกัดการแทรกแซงและผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มทุนและการเมืองได้ ย้ำถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องทำให้ระบบรักษาพยาบาล 3 กองทุนเท่าเทียมและมีมาตรฐานเดียวกัน และให้เอกชนมีส่วนร่วมให้บริการมากขึ้น
          ศ.แอน มิลล์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณสุข ม.ลอนดอน เปิดเผยว่า หลังจากที่ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนไทยเป็นเวลา 1 ทศวรรษนั้น ยังมีภารกิจการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทยที่ยังไม่สำเร็จ และสิ่งที่ประ เทศไทยจะต้องดำเนินการต่อไปในอนาคต คือ 1.การ สร้างระบบให้มีธรรมาภิบาลที่ปราศจากการแทรก แซงและป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการเมืองที่พยายามเข้ามาแทรกแซงจนทำให้ระบบบิดเบี้ยวไป ควรเพิ่มบทบาทตัวแทนของภาคประชาสังคมและภาคชุมชน และควรแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มิได้มาจากราชการเพิ่มขึ้น เพื่อให้การตัดสินใจต่างๆ อิงกับหลักฐานเชิงประจักษ์มากขึ้น นอกจากนั้นยังต้องจัดการความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ต้องทำให้มีความเป็นอิสระต่อกัน แต่ก็ต้องเอื้อประโยชน์ต่อกันเพื่อการจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนด้วย
          นักวิชาการรายนี้กล่าวต่อว่า สำหรับการลดความเหลื่อมล้ำของ 3 กองทุนสุขภาพไทย ทั้งประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง เนื่องจากปัจจุบันทั้ง 3 กองทุนมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะไม่เป็นผลดีกับประเทศ ซึ่งการลดความแตกต่างกันของทั้ง 3 กองทุนมีหลายวิธี อาจจะไม่ใช่การรวมกองทุน แต่อาจจะต้องทำให้ทั้ง 3 กองทุนมีวิธีการจัดการที่เหมือนกัน มีสิทธิประโยชน์เหมือนกัน เพื่อไม่ให้ผู้ให้บริการมีการเลือกปฏิบัติ เช่น บัตรทองนั้น 10 ปีที่ผ่านมามีการปฏิรูปหลายอย่างที่ก้าวหน้าไปมาก แต่ประกันสังคมและข้าราชการมีความก้าวหน้าน้อยมาก หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ความแตกต่างระหว่าง 3 กองทุนจะมีมากขึ้น
          ประการที่ 3 การสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยบริการภาคเอกชน ซึ่ง สปสช.ควรมีการออกแบบให้หน่วยบริการภาคเอกชน เช่น คลินิกเอกชน รพ.เอกชน เข้ามาร่วมเป็นหน่วยบริการให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีพบเห็นเฉพาะในเขตเมืองเท่านั้น 4.ในระดับพื้นที่จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น และต่อรองระหว่างผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เช่น ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ให้บริการ และผู้มีสิทธิ์ เพื่อจัดการกับปัญหาอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ และสร้างความร่วมมือในการนำนโยบายไปสู่เป้าหมายได้
          ประการที่ 5 ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันไม่ให้เกิดโรค จึงต้องทำให้สมดุลคู่ไปกับการให้การรักษาด้วย เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาล รวมทั้งการควบคุมคุณภาพโดยการติดตามจากข้อมูล
 pageview  1204505    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved