Follow us      
  
  

ไทยโพสต์ [ วันที่ 07/08/2555 ]
'เต้นโขน'ช่วยต้านโรคมะเร็ง

  การฝึกโขนนั้นเปรียบเสมือนการวอร์มอัพร่างกายให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา เพราะผู้ที่จะฝึกเล่นโขนนั้นนอกจากจะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว การฝึกท่าทางภายใต้อากาศที่ร้อนวันละ 3 ชั่วโมงยังช่วยขับเหงื่อและกำจัดสารพิษควบคุมน้ำหนักไปในตัว ซึ่งถือเป็นภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดอย่างโรคมะเร็ง ดังนั้นการเต้นโขนจึงนับเป็นการประยุกต์ศิลปะชั้นสูงของไทย ให้กลายเป็นท่าออกกำลังกายที่นอกจากงดงาม สามารถทำตามได้ และยังแฝงไว้ด้วยคุณประโยชน์ในการต้านโรคได้เช่นกัน
          อาจารย์จรัญ พูลลาภ ครูชำนาญการ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เผยวิธีบริหารร่างกายท่าโขนภายใต้บูธชีวจิต ผ่าน 4 ท่าหลักต่อไปนี้
          เริ่มด้วย "ท่าย่อเหลี่ยม" สำหรับการฝึกท่านี้อาจารย์จรัญแนะนำว่า 1.ให้ผู้ฝึกยืนตัวตรง จากนั้นให้วางขาทั้งสองข้างแยกออกไปนอกลำตัว โดยให้เข่าชี้ไปด้านข้าง 2.ให้ย่อตัวลงเล็กน้อย โดยที่ตัวตั้งตรง มือเท้าเอวหรือวางไว้ที่หน้าขาก็ ได้เช่นกัน 3.ทำซ้ำท่านี้ในลักษณะยืนย่อประ มาณ 3-5 ครั้ง ต่อกันด้วย "ท่าทอนเท้า" หลังจากการย่อเหลี่ยมแล้ว ครูชำนาญการแนะนำให้ผู้ฝึก 1.เริ่มท่าทอนเท้าขวา (ยกเท้าไปด้านข้างลำตัว) ไปทางขวา 2.จากนั้นยกเท้าซ้ายตามไปแล้วยกเท้า ขวาวางประกบกัน 3.สลับข้างโดยการเปลี่ยนเป็นทอนเท้าซ้าย 4.จากนั้นยกเท้าขวาตามประกบเท้าซ้าย 5.แล้วยกเท้าซ้ายมาประกบเท้าขวา แล้วจบด้วยท่ายืนตรง
          ส่วนท่าต่อมาอย่าง "ท่าเหลียว" นั้น เป็น การแสดงท่าทางในการหันศีรษะไปทางด้านใดด้านหนึ่ง แล้วสลัดหน้ากลับมาที่เดิม โดยเริ่มจาก 1.ให้ผู้ฝึกกางขาทั้งสองข้างออกโดยที่มือเท้าสะเอว 2.จากนั้นย่อตัวลงพร้อมๆ กับการสลัดหน้าไปทางด้ายซ้าย 3.หันหน้ากลับมาที่เดิม 4.จากนั้นให้ เปลี่ยนทำสลับข้างกัน มาถึงท่าสุดท้ายอย่าง "ท่าขึ้น" หากเป็นการขึ้นทางขวานั้น 1.ให้ผู้ฝึกยก เท้าขวามาวางชิดทางซ้าย 2.จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้นและทอดเท้าซ้ายตึงไป (แขนทั้งสองข้างแตะอยู่ที่บริเวณเอว) 3.กลับมาสู่จุดเดิมโดยประกบเท้าให้ เท่ากัน 4.จากนั้นให้เปลี่ยนสลับข้างโดยการขึ้นเท้าซ้าย 5.ยกเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา 6.จากนั้นยกเท้า ขวาขึ้นแล้วเหยียดเท้าขวาตึงไป 7.ยกเท้าทั้งสอง ข้างมาประกบกันตรงกลาง
          สำหรับท่าทั้ง 4 นอกจากต้านโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งแล้ว ยังมีจุดเด่นในเรื่องของการป้องกันโรคหัวใจและโรคภูมิแพ้ได้ เนื่องจากแต่ละท่าของการเต้นโขนนั้นจะต้องใช้พลังในการฝึกที่ค่อนข้างเยอะ หรือใช้การหายใจไปพร้อมกับการออกท่าทาง ดังนั้นจึงช่วยต้านทานโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี และการเต้นโขนบริหารร่างกายยังสามารถฝึกได้ทุกเพศทุกวัยโดยไม่จำกัดช่วงอายุ ส่วนระยะเวลาในการบริหารร่างกายทั้ง 4 ท่านี้ อาจารย์จรัญแนะนำว่าควรฝึกวันละประมาณครึ่งชั่วโมง.
 

 pageview  1205841    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved