Follow us      
  
  

ไทยโพสต์ [ วันที่ 19/07/2562 ]
อีโบลาภาวะฉุกเฉินสาธารณสุข

องค์การอนามัยโลกตัดสินใจประกาศให้การระบาดของโรคอีโบลาในประเทศดีอาร์คองโกเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้ว ระบุถึงเวลาที่ทั่วโลกต้องตระหนักหลังจากไวรัส มรณะนี้คร่าชีวิตชาวคองโกมากกว่า 1,600 คน ในเวลาไม่ถึง 1 ปี และเริ่มพบผู้ป่วยในเมืองใหญ่
          เอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 ว่าการแพร่ ระบาดของอีโบลาในภาคตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตย คองโก (ดีอาร์คองโก) ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการระบาด ครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งที่ 2 ของโรคนี้ ทำให้องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ประกาศภาวะ ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาเคยถูกประ กาศใช้เพียง 4 ครั้ง
          ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอ กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพุธ ภายหลังยอมรับคำแนะนำจากคณะกรรมการที่ปรึกษาขององค์ การในเรื่องนี้ว่า ตอนนี้ถึงเวลาที่ทั่วโลกต้องให้ความสนใจกับการระบาดของอีโบลาครั้งนี้
          สถานการณ์ในดีอาร์คอง โกน่าวิตกกังวลมากขึ้นในสัปดาห์นี้ ภายหลังการแพร่ระบาดที่เดิมเคยควบคุมไว้ได้ในพื้นที่ห่างไกล กลับปรากฏพบว่ามีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตในเมืองใหญ่เป็นครั้งแรก ที่เมืองโกมา ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดนอร์ทคิวู ทีโดรสเคยกล่าวไว้เมื่อต้นสัปดาห์ว่า ผู้ป่วยที่โกมาอาจเป็นผู้เปลี่ยนเกม เพราะเมืองนี้เป็น "ประตูเข้า-ออก" สู่เขตเกรตเลคของแอฟริกาและโลกภายนอก
          ผู้ป่วยที่โกมาเป็นศาสนา จารย์นิกายอีวานเจลิคอลที่เดินทางจากเมืองบูเตมโบ ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการระบาด มีรายงานว่า เขาสัมผัสผู้ป่วยอีโบลาหลายคนที่เมืองบูเตมโบ และปกปิดตัว ตนเพื่อหลีกเลี่ยงการคัดครองด้านสาธารณสุขระหว่างเดินทางมาเมืองโกมา เขาเสียชีวิตแล้ว
          สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศแสดงความยินดีกับการตัดสินใจของดับเบิลยูเอชโอ โดยแสดงความหวังว่า คำประกาศนี้จะทำให้วิกฤตินี้ได้รับความสนใจจากนานาชาติอย่างที่ควรจะเป็น
          ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลกเคยประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศมาแล้ว 4 ครั้ง ได้แก่ การระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอช 1 เอ็น 1 เมื่อปี 2552, การระบาดของไวรัสโปลิโอ ปี 2557, การระบาดของอีโบลาในแอฟริกา ตะวันตกระหว่างปี 2557-2559 และการเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันของ ผู้ติดไวรัสซิกาในลาตินอเมริกาเมื่อปี 2559
          ไวรัสอีโบลามีอัตราการเสีย ชีวิตสูง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 50% สามารถแพร่เชื้อจากสัตว์ป่าสู่คน ได้ และติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสของเหลวในร่างกาย, โลหิต, สารคัดหลั่ง หรืออวัยวะที่ผู้ที่ติดเชื้อ อีโบลาที่ระบาดในดีอาร์คองโกตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ทำให้มีคนเสียชีวิตแล้วมากกว่า 1,600 คน จากผู้ป่วยมากกว่า 2,500 คน
          กฎอนามัยระหว่างประเทศ ของดับเบิลยูเอชโอเมื่อปี 2558 ระบุว่า ภาวะฉุกเฉินใช้กับสถาน การณ์ที่เป็นเหตุการณ์ผิดธรรมดา ที่ก่อความเสี่ยงด้านสาธารณสุขต่อประเทศอื่นๆ จากการแพร่ระบาดระหว่างประเทศ และจำ เป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่าง ประเทศเพื่อรับมือ การประกาศเมื่อวันพุธทำให้เกิดความกังวลว่าบางประเทศอาจปิดพรมแดน แต่โรเบิร์ต สเตฟเฟน ประธานคณะกรรมการของดับเบิลยูเอชโอ ย้ำว่า ประเทศทั้งหลายไม่ควรตอบสนองต่อคำประกาศนี้ด้วยการปิดพรมแดนหรือจำกัดการค้า
          แถลงการณ์ยังได้เตือนประเทศเพื่อนบ้านของดีอาร์คอง โกว่ามีความเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่ รวันดา, เซาท์ซูดาน, บุรุนดี และอูกันดา ส่วนประเทศอีกกลุ่มมี ความเสี่ยงรองลงมา ได้แก่ สาธารณ รัฐแอฟริกากลาง, แองโกลา, แทน ซาเนีย, สาธารณรัฐคองโก และแซมเบีย

 pageview  1205111    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved