Follow us      
  
  

ไทยโพสต์ [ วันที่ 16/01/2562 ]
แนะเช็กอากาศก่อนออกเดิน เลี่ยงสวนสาธารณะในเมือง

 

          มีคำเตือนเกี่ยวกับค่าฝุ่นละอองควันพิษจิ๋วออกมาต่อเนื่อง แต่ทว่าการออกกำลังกายก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังสม่ำเสมอ แม้ผู้สูงวัยหลายคนต้องหาหน้ากากมาใส่ปิดปากปิดจมูกขณะเอกเซอร์ไซส์ในสวนสาธารณะกลางใจเมือง แต่บางรายก็อดสงสัยไม่ได้ว่า การขยับร่างกายในช่วงที่มีปัญหามลพิษที่ถูกต้องนั้นจะต้องทำอย่างไร
          คุณหมอฟ้า-พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Anti-Aging Medicine ประจำศูนย์สุขภาพ "Vital Life" รพ.บำรุงราษฎร์ มีคำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่วงที่มีปัญหามลพิษว่า "อันดับแรก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ฝุ่นควันพิษจิ๋วขนาด 2.5 ไมครอน จากท่อไอเสียรถยนต์ ถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะหน้ากากอนามัยธรรมดาไม่สามารถกรองฝุ่นควันพิษเหล่านี้ได้ เมื่อเข้าไปที่กระแสเลือด จะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ อาทิ เป็นภูมิแพ้ หรือเป็นโรคถุงลมโป่งพองอยู่แล้ว ให้ทวีความรุนแรงของอาการมากขึ้น และโดยเฉพาะผู้สูงวัยอายุ 75 ปีขึ้นไปนั้น การได้สัมผัสหรือหายใจเอาฝุ่นควันพิษเกิน 2.5 ไมครอนเข้าไป จะเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อ "โรคหลอดเลือดหัวใจ" ได้ หรือทำให้ "หัวใจวาย" ได้เช่นกันค่ะ
          "หมอแนะนำว่าหากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะป่วยโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว หากต้องการออกกำลังกาย จำเป็นต้องตรวจเช็กสภาพมลพิษทางอากาศก่อนออกไป โดยสามารถ   เช็กได้ที่เว็บไซต์ของ WHO /air pollution แล้วเลือกสถานที่ตั้งคือกรุงเทพมหานคร หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ (aqmthai.com) และเลือกสถานที่ละแวกที่เราอยู่อาศัย โดยเมื่อเข้าไปเช็กแล้วพบว่าพื้นที่ที่จะไปออกกำลังกายเป็น "สีแดง" นั่นแปลว่าอันตราย จึงควรหลีกเลี่ยง หรือตรวจเช็กแล้วพบ "สีส้ม" หากเป็นผู้ที่สุขภาพแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว ก็สามารถไปออกกำลังกายได้
          แต่ถ้าเช็กแล้วมีการรายงานว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็น "สีส้มและสีแดง" ผู้สูงอายุไม่ควรไปออกกำลังกายในพื้นที่ดังกล่าวโดยเด็ดขาด แต่ถ้าจำเป็นต้องไปออกกำลังกายจริงๆ แนะนำว่าให้สวมหน้ากากอนามัยที่ปลอดภัยจากควันพิษจิ๋วอย่างหน้ากาก N 95 และต้องไปในสถานที่ไกลจากฝุ่นควันพิษ ไม่มีรถวิ่งผ่าน สังเกตง่ายๆ ว่าเป็นสวนสาธารณะที่มีต้นไม้สีเขียวจำนวนมาก อีกทั้งบริเวณโดยรอบนั้นไม่มีการเผาขยะ และปราศจากการก่อสร้างอาคารต่างๆ ที่สำคัญเลย ขณะที่ออกกำลังกายก็ให้ผู้สูงอายุพยายามหายใจผ่านทางจมูก เพราะ
          ระบบทางเดินหายใจจะมีขนจมูกคอยปกป้องฝุ่นละอองต่างๆ เพราะถ้าหายใจเข้า-ออกผ่านทางปาก จะไม่มีตัวกรองมลพิษนั่นเอง ซึ่งที่กล่าวมาไม่เพียงเป็นคำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุที่เลือกออกกำลังกายด้วยการ "เดินจ๊อกกิ้ง" แต่ผู้ที่ชื่นชอบ "การปั่นจักรยาน" ก็จำเป็นต้องปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวเช่นกัน หรือเลิกปั่นไปชั่วขณะก่อน ก็จะดีที่สุดค่ะ"
          "ในส่วนของการดูแลสุขภาพทั่วไป โดยเฉพาะการชะลอวัยนั้น เนื่องจากฝุ่นควันพิษเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ดังนั้น การบริโภคอาหารในกลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือช่วยชะลอการอักเสบจากปัญหามลพิษทางอากาศนั้น ได้แก่ "กลุ่มอาหารที่วิตามินซีสูง" ได้แก่ ฟักทอง หรือน้ำฟักข้าว กระทั่งฝรั่ง รวมถึง "อาหารกลุ่มที่มีสารไลโคปีน" อย่างมะเขือเทศ นอกจากนี้ก็แนะนำให้ติดเครื่องกรองอากาศภายในบ้านและในรถยนต์ โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีทั้งเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ที่สำคัญไส้กรองอากาศทั้งในบ้านและรถยนต์นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกๆ 3 เดือน และที่สำคัญหมออยากแนะนำให้ทุกคนช่วยกันคัดแยกขยะค่ะ โดยเฉพาะขยะที่รีไซเคิลได้ ตรงนี้จะช่วยลดการเผาขยะที่เป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ ซึ่งถ้าทุกคนช่วยกัน แน่นอนว่ามันก็จะช่วยลดปัญหามลภาวะได้ ซึ่งถือเป็นการป้องกันทางอ้อม ที่หากช่วยกันก็จะคืนอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ให้กับเมืองกรุงอีกครั้งค่ะ".

 มีคำเตือนเกี่ยวกับค่าฝุ่นละอองควันพิษจิ๋วออกมาต่อเนื่อง แต่ทว่าการออกกำลังกายก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังสม่ำเสมอ แม้ผู้สูงวัยหลายคนต้องหาหน้ากากมาใส่ปิดปากปิดจมูกขณะเอกเซอร์ไซส์ในสวนสาธารณะกลางใจเมือง แต่บางรายก็อดสงสัยไม่ได้ว่า การขยับร่างกายในช่วงที่มีปัญหามลพิษที่ถูกต้องนั้นจะต้องทำอย่างไร
          คุณหมอฟ้า-พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Anti-Aging Medicine ประจำศูนย์สุขภาพ "Vital Life" รพ.บำรุงราษฎร์ มีคำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่วงที่มีปัญหามลพิษว่า "อันดับแรก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ฝุ่นควันพิษจิ๋วขนาด 2.5 ไมครอน จากท่อไอเสียรถยนต์ ถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะหน้ากากอนามัยธรรมดาไม่สามารถกรองฝุ่นควันพิษเหล่านี้ได้ เมื่อเข้าไปที่กระแสเลือด จะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ อาทิ เป็นภูมิแพ้ หรือเป็นโรคถุงลมโป่งพองอยู่แล้ว ให้ทวีความรุนแรงของอาการมากขึ้น และโดยเฉพาะผู้สูงวัยอายุ 75 ปีขึ้นไปนั้น การได้สัมผัสหรือหายใจเอาฝุ่นควันพิษเกิน 2.5 ไมครอนเข้าไป จะเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อ "โรคหลอดเลือดหัวใจ" ได้ หรือทำให้ "หัวใจวาย" ได้เช่นกันค่ะ
          "หมอแนะนำว่าหากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะป่วยโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว หากต้องการออกกำลังกาย จำเป็นต้องตรวจเช็กสภาพมลพิษทางอากาศก่อนออกไป โดยสามารถ   เช็กได้ที่เว็บไซต์ของ WHO /air pollution แล้วเลือกสถานที่ตั้งคือกรุงเทพมหานคร หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ (aqmthai.com) และเลือกสถานที่ละแวกที่เราอยู่อาศัย โดยเมื่อเข้าไปเช็กแล้วพบว่าพื้นที่ที่จะไปออกกำลังกายเป็น "สีแดง" นั่นแปลว่าอันตราย จึงควรหลีกเลี่ยง หรือตรวจเช็กแล้วพบ "สีส้ม" หากเป็นผู้ที่สุขภาพแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว ก็สามารถไปออกกำลังกายได้
          แต่ถ้าเช็กแล้วมีการรายงานว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็น "สีส้มและสีแดง" ผู้สูงอายุไม่ควรไปออกกำลังกายในพื้นที่ดังกล่าวโดยเด็ดขาด แต่ถ้าจำเป็นต้องไปออกกำลังกายจริงๆ แนะนำว่าให้สวมหน้ากากอนามัยที่ปลอดภัยจากควันพิษจิ๋วอย่างหน้ากาก N 95 และต้องไปในสถานที่ไกลจากฝุ่นควันพิษ ไม่มีรถวิ่งผ่าน สังเกตง่ายๆ ว่าเป็นสวนสาธารณะที่มีต้นไม้สีเขียวจำนวนมาก อีกทั้งบริเวณโดยรอบนั้นไม่มีการเผาขยะ และปราศจากการก่อสร้างอาคารต่างๆ ที่สำคัญเลย ขณะที่ออกกำลังกายก็ให้ผู้สูงอายุพยายามหายใจผ่านทางจมูก เพราะ
          ระบบทางเดินหายใจจะมีขนจมูกคอยปกป้องฝุ่นละอองต่างๆ เพราะถ้าหายใจเข้า-ออกผ่านทางปาก จะไม่มีตัวกรองมลพิษนั่นเอง ซึ่งที่กล่าวมาไม่เพียงเป็นคำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุที่เลือกออกกำลังกายด้วยการ "เดินจ๊อกกิ้ง" แต่ผู้ที่ชื่นชอบ "การปั่นจักรยาน" ก็จำเป็นต้องปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวเช่นกัน หรือเลิกปั่นไปชั่วขณะก่อน ก็จะดีที่สุดค่ะ"
          "ในส่วนของการดูแลสุขภาพทั่วไป โดยเฉพาะการชะลอวัยนั้น เนื่องจากฝุ่นควันพิษเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ดังนั้น การบริโภคอาหารในกลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือช่วยชะลอการอักเสบจากปัญหามลพิษทางอากาศนั้น ได้แก่ "กลุ่มอาหารที่วิตามินซีสูง" ได้แก่ ฟักทอง หรือน้ำฟักข้าว กระทั่งฝรั่ง รวมถึง "อาหารกลุ่มที่มีสารไลโคปีน" อย่างมะเขือเทศ นอกจากนี้ก็แนะนำให้ติดเครื่องกรองอากาศภายในบ้านและในรถยนต์ โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีทั้งเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ที่สำคัญไส้กรองอากาศทั้งในบ้านและรถยนต์นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกๆ 3 เดือน และที่สำคัญหมออยากแนะนำให้ทุกคนช่วยกันคัดแยกขยะค่ะ โดยเฉพาะขยะที่รีไซเคิลได้ ตรงนี้จะช่วยลดการเผาขยะที่เป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ ซึ่งถ้าทุกคนช่วยกัน แน่นอนว่ามันก็จะช่วยลดปัญหามลภาวะได้ ซึ่งถือเป็นการป้องกันทางอ้อม ที่หากช่วยกันก็จะคืนอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ให้กับเมืองกรุงอีกครั้งค่ะ".

 pageview  1204989    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved