Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ [ วันที่ 30/04/2555 ]
เคล็ดลับกินดีให้มีสุขภาพดี

การตามล่าหาของกินอร่อยๆ ถือเป็นความสุขง่ายๆอย่างหนึ่งของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ กระนั้น อันตรายไม่คาดคิดที่มักตามติดมาด้วยคือ สารเคมีในอาหารที่เราทานอยู่ทุกวัน ซึ่งอาจสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดโรคร้ายสารพัดอยากมีสุขภาพดีต้องรู้จักเคล็ดลับการทานอาหารอย่างมีคุณภาพ โดยเวิร์คกิ้งวูแมนคนเก่ง “เฟย์ อรชุมา ดุรงค์เดช” เปิดเผยว่า คนส่วนใหญ่ชอบอาหารที่อร่อย แต่ลืมใส่ใจว่าในอาหารเหล่านั้นมีเคมีปะปนหรือเปล่า เวลาเลือกร้านอาหาร “เฟย์” จะเลือกร้านที่บรรยากาศดีค่ะ สะอาดและถูกสุขอนามัย ที่เน้นเป็นพิเศษคือ วัตถุดิบต้องสดใหม่ ถ้าเลือกได้จะเลือกอาหารที่ไม่ค่อยผ่านกระบวนการปรุงแต่งมากนัก เพราะเราไม่ทราบว่าในอาหารจานนั้นปรุงแต่งจากอะไรบ้าง
          แม้จะเป็นคนกินง่ายอยู่ง่าย แต่ “เฟย์” ก็พิถีพิถันในการเลือกสรรอาหารไม่น้อย โดยส่วนใหญ่จะเลือกอาหารพวกย่างหรือนึ่ง ผักต้องสดและปลอดสารพิษ ถ้าจำเป็นต้องปรุงรสเปรี้ยวก็ควรเป็นน้ำมะนาวคั้นสด ปลอดภัยและได้กลิ่นหอมของมะนาว น้ำตาลก็ต้องสะอาดผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เพราะถ้าไม่สะอาดหรือมีสารเคมีเจือปน รับประทานบ่อยๆเข้าอาจตกค้างในร่างกาย ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ และเครื่องปรุง ต้องเลือกเฉพาะวัตถุดิบสดใหม่เท่านั้น
          ด้าน  “ดร. แก้ว กังสดาลอำไพ”  นักวิชาการสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในอาหาร กล่าวเสริมว่า อาหารแทบทุกประเภทมีเคมีตกค้าง และพวกเราบริโภคเข้าไปโดยไม่รู้ตัว จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคจะต้องศึกษาหาข้อมูลให้ลึกถึงต้นตอของอาหาร แค่ดูด้วยตาว่าสินค้าสะอาดอย่างเดียวไม่เพียงพอแล้ว แต่ต้องเจาะลึกไปถึงกระบวนการผลิตขั้นแรกสุดด้วย เช่น ถ้าจะซื้อน้ำตาล ต้องพิจารณาถึงขั้นตอนการปลูกอ้อย ว่าใช้สารเคมีระดับที่ปลอดภัยต่อร่างกายหรือไม่ หรือใช้วิธีธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้มั่นใจว่าเวลานำอ้อยมาผลิตเป็นน้ำตาลจะได้มีเคมีตกค้างน้อยที่สุด.
 

 pageview  1205849    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved