Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 21/06/2562 ]
ชี้สูบบุหรี่ในบ้าน เอาผิดได้ ตามกม.ฉบับใหม่

 

          เท่ากับทำรุนแรงคนในครอบครัว
          งานเข้าสิงห์อมควันอีก หลัง พม.ออกมาเผย สูบบุหรี่ในบ้านเท่ากับทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งรวมถึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย ชี้เอาผิดได้ ตามก.ม.ครอบครัวฉบับใหม่ มีผล 20 ส.ค.นี้ ด้าน รพ.รามาฯ เผยเด็กที่บ้านมีคนสูบบุหรี่ ตรวจฉี่เจอสารพิษโคตินินสูง จี้ คอนโดฯ อพาร์ตเมนต์ ประกาศชัด ห้ามสูบบุหรี่ เหตุกระทบสุขภาพผู้อื่น
          เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ที่ศูนย์ประชุม วายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แถลงข่าว "บ้านปลอดบุหรี่ ลดความรุนแรงต่อสุขภาพ" ขณะนี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ส.ค. นี้ ซึ่งการสูบบุหรี่ในบ้านสามารถเอาผิดได้ ในเรื่องของความรุนแรงในครอบครัว เนื่องจากคำนิยามของความรุนแรงในครอบครัวนั้น รวมถึงการทำอันตรายต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นหากใครได้รับผล กระทบ หรือพบเห็นผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว ทุกจังหวัด หรือ พม.จังหวัดได้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลและพิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่จริงหรือไม่
          "หากได้รับผลกระทบจริง หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมฯ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพ โดยศาลสามารถสั่งให้ออกห่างจากคู่กรณีและให้ไปบำบัดรักษาปรับพฤติกรรมได้ ส่วนการลงโทษจะใช้คดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญาแทน ซึ่งโทษขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่ได้รับ เรียกว่า 1 คดี ส่งขึ้น 2 ศาล ก็จะทำให้เกิดความเกรงกลัวมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่บุหรี่ แต่การได้รับผลกระทบจากยาเสพติดหรือสุราก็สามารถร้องเอาผิดได้" นายเลิศปัญญา กล่าวและว่า กฎหมายนี้คุ้มครองการกระทำภายในครอบครัวเท่านั้น หากได้รับผลกระทบจากคนข้างบ้าน ก็ไม่เข้าข่าย
          รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ควันบุหรี่ถือเป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายที่สุดในบ้าน แม้สูบนอกบ้านก็ยังคงมีสารพิษตกค้างอยู่ในบ้านได้ ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยเด็กที่มาฉีดวัคซีนที่ รพ.รามาธิบดี 75 ราย มีประวัติคนในบ้านสูบบุหรี่ พบร้อยละ 76 มีสารโคตินินในปัสสาวะ ในจำนวนนี้มีร้อยละ 43 มีค่าสูงเกิน 2 นาโนกรัมต่อซีซีถึง 2 เท่า โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยในคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ ทาวน์เฮาส์ ทั้งนี้ หากคนในบ้านสูบมากกว่า 20 มวน จะเจอสารโคตินินในปัสสาวะเด็กมากกว่าเกือบ 2 เท่าเช่นกัน
          รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นจึงมองว่ากฎหมายของ พม.ที่ออกมาเป็นเรื่องดี แต่มีข้อเสนออีก 3 ประการ คือ 1.ครัวเรือนควรรับรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่ โดยเฉพาะเรื่องพิษมือสองมือสาม และพิษต่อเด็ก 2.ผู้ให้บริการ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข เมื่อตรวจสุขภาพเด็กหรือฉีดวัคซีน หากทราบประวัติของเด็กว่าคนในบ้านมีการสูบบุหรี่ ควรดำเนินการให้คนในบ้านเข้ารับการบำบัด หากไม่ดำเนินการจะเข้าข่ายไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการคุ้มครองเด็ก คือ การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม และ 3.การสูบบุหรี่ในพื้นที่ยูนิตรวม เช่น คอนโดฯ อพาร์ตเมนต์ ถือเป็นการทำร้ายผู้อื่น เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้อากาศร่วมกัน จึงควรมีการห้ามไม่ให้มีการสูบบุหรี่ภายในห้อง หรือนิติบุคคลต้องประกาศให้ชัดแต่แรกว่า โครงการนี้ห้ามสูบบุหรี่ในห้องหรือสูบได้ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อหรือไม่ซื้อ เหมือนการประกาศห้ามเลี้ยงสุนัขหรือแมวในห้อง ยิ่งการสูบบุหรี่ที่เป็นการทำร้ายร่างกายคนอื่น ก็ควรใช้หลักคิดเดียวกันหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงการสูบบุหรี่ในรถสาธารณะด้วย
          ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่ามีครัวเรือนที่มีคนสูบบุหรี่ 4,962,045 ครัวเรือน คนที่ไม่สูบบุหรี่จึงได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน โดยเฉลี่ยมากถึง 10,333,653 คน และมีผลการวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีสามีสูบบุหรี่ หรือผู้ที่ทำงาน ในสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และร้อยละ 19 ตามลำดับ ส่วนทารกที่มีผู้ปกครองสูบบุหรี่มีโอกาสเกิดภาวะไหลตายเพิ่มขึ้น 2 เท่า โอกาสเกิดหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบเพิ่มขึ้นร้อยละ 47 และมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.
          เท่ากับทำรุนแรงคนในครอบครัว
          งานเข้าสิงห์อมควันอีก หลัง พม.ออกมาเผย สูบบุหรี่ในบ้านเท่ากับทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งรวมถึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย ชี้เอาผิดได้ ตามก.ม.ครอบครัวฉบับใหม่ มีผล 20 ส.ค.นี้ ด้าน รพ.รามาฯ เผยเด็กที่บ้านมีคนสูบบุหรี่ ตรวจฉี่เจอสารพิษโคตินินสูง จี้ คอนโดฯ อพาร์ตเมนต์ ประกาศชัด ห้ามสูบบุหรี่ เหตุกระทบสุขภาพผู้อื่น
          เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ที่ศูนย์ประชุม วายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แถลงข่าว "บ้านปลอดบุหรี่ ลดความรุนแรงต่อสุขภาพ" ขณะนี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ส.ค. นี้ ซึ่งการสูบบุหรี่ในบ้านสามารถเอาผิดได้ ในเรื่องของความรุนแรงในครอบครัว เนื่องจากคำนิยามของความรุนแรงในครอบครัวนั้น รวมถึงการทำอันตรายต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นหากใครได้รับผล กระทบ หรือพบเห็นผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว ทุกจังหวัด หรือ พม.จังหวัดได้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลและพิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่จริงหรือไม่
          "หากได้รับผลกระทบจริง หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมฯ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพ โดยศาลสามารถสั่งให้ออกห่างจากคู่กรณีและให้ไปบำบัดรักษาปรับพฤติกรรมได้ ส่วนการลงโทษจะใช้คดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญาแทน ซึ่งโทษขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่ได้รับ เรียกว่า 1 คดี ส่งขึ้น 2 ศาล ก็จะทำให้เกิดความเกรงกลัวมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่บุหรี่ แต่การได้รับผลกระทบจากยาเสพติดหรือสุราก็สามารถร้องเอาผิดได้" นายเลิศปัญญา กล่าวและว่า กฎหมายนี้คุ้มครองการกระทำภายในครอบครัวเท่านั้น หากได้รับผลกระทบจากคนข้างบ้าน ก็ไม่เข้าข่าย
          รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ควันบุหรี่ถือเป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายที่สุดในบ้าน แม้สูบนอกบ้านก็ยังคงมีสารพิษตกค้างอยู่ในบ้านได้ ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยเด็กที่มาฉีดวัคซีนที่ รพ.รามาธิบดี 75 ราย มีประวัติคนในบ้านสูบบุหรี่ พบร้อยละ 76 มีสารโคตินินในปัสสาวะ ในจำนวนนี้มีร้อยละ 43 มีค่าสูงเกิน 2 นาโนกรัมต่อซีซีถึง 2 เท่า โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยในคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ ทาวน์เฮาส์ ทั้งนี้ หากคนในบ้านสูบมากกว่า 20 มวน จะเจอสารโคตินินในปัสสาวะเด็กมากกว่าเกือบ 2 เท่าเช่นกัน
          รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นจึงมองว่ากฎหมายของ พม.ที่ออกมาเป็นเรื่องดี แต่มีข้อเสนออีก 3 ประการ คือ 1.ครัวเรือนควรรับรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่ โดยเฉพาะเรื่องพิษมือสองมือสาม และพิษต่อเด็ก 2.ผู้ให้บริการ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข เมื่อตรวจสุขภาพเด็กหรือฉีดวัคซีน หากทราบประวัติของเด็กว่าคนในบ้านมีการสูบบุหรี่ ควรดำเนินการให้คนในบ้านเข้ารับการบำบัด หากไม่ดำเนินการจะเข้าข่ายไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการคุ้มครองเด็ก คือ การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม และ 3.การสูบบุหรี่ในพื้นที่ยูนิตรวม เช่น คอนโดฯ อพาร์ตเมนต์ ถือเป็นการทำร้ายผู้อื่น เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้อากาศร่วมกัน จึงควรมีการห้ามไม่ให้มีการสูบบุหรี่ภายในห้อง หรือนิติบุคคลต้องประกาศให้ชัดแต่แรกว่า โครงการนี้ห้ามสูบบุหรี่ในห้องหรือสูบได้ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อหรือไม่ซื้อ เหมือนการประกาศห้ามเลี้ยงสุนัขหรือแมวในห้อง ยิ่งการสูบบุหรี่ที่เป็นการทำร้ายร่างกายคนอื่น ก็ควรใช้หลักคิดเดียวกันหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงการสูบบุหรี่ในรถสาธารณะด้วย
          ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่ามีครัวเรือนที่มีคนสูบบุหรี่ 4,962,045 ครัวเรือน คนที่ไม่สูบบุหรี่จึงได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน โดยเฉลี่ยมากถึง 10,333,653 คน และมีผลการวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีสามีสูบบุหรี่ หรือผู้ที่ทำงาน ในสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และร้อยละ 19 ตามลำดับ ส่วนทารกที่มีผู้ปกครองสูบบุหรี่มีโอกาสเกิดภาวะไหลตายเพิ่มขึ้น 2 เท่า โอกาสเกิดหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบเพิ่มขึ้นร้อยละ 47 และมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.

 

 pageview  1204430    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved