Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 20/06/2556 ]
หลอดเลือดแดงใหญ่ ในช่องท้องโป่งพอง

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องเป็นโรคทางหลอดเลือดอย่างหนึ่งที่พบบ่อย หากปล่อยให้แตกและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสให้เกิดการเสียชีวิตสูง โชคดีที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยี และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยบวกกับประสบการณ์ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีส่วนช่าวทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่เป็โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองลดลงได้
          เนื่องจากหากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แต่ไม่รู้ตัว ปล่อยทิ้งไว้รอวันที่มันแตก เหมือนลาวาที่รอการประทุได้ทุกเมื่อ ตามสถิติแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงประมาณ 50-90% แต่หากเรารู้ก่อน รักษาก่อน โอกาสเสียชีวิตจะเหลือเพียงประมาณ 5%
          หลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) เปรียบเสมือนท่อประปาหลัก ที่ส่งผ่านน้ำไปยังบ้านต่างๆหลอดเลือดก็เหมือนท่อน้ำที่นำทางเลือดไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆทั่วร่างกาย เริ่มต้นจากหัวใจสูบฉีดเลือดไหลผ่านลงมาทางหน้าอก ผ่านกระบังลม เข้าไปยังช่องท้อง หัวเหน่า จนถึงสะดือ แล้วจึงแยกออกเป็น 2 สาย เพื่อไปเลี้ยงขาทั้ง 2 ข้าง และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ดังนั้นหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับหลดเลือด หรือหลอดเลือดปริแตกแทนที่เลือดจะไหลไปตามหลอดเลือด หรือท่อทางที่กำหนด เลือดก็ไหลรั่วออกทางด้านข้างหมด ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปถึงอวัยวะอื่นๆได้ จึงทำให้เกิดการเสียชีวิต เหมือนกับท่อน้ำประปาที่แตก น้ำก็ไหลนองท่วมบ้านเสียหาย
          โรคหลอดเลือดแเดงใหย่ในช่องท้องโปางพอง คือ สภาวะหลิดเลือดแดงที่อยู่ในช่องท้องขยายใหญ่ หรือโป่งพองขึ้นกว่าปกติหรือมากกว่า 1.5-2 ซม. สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป้นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้หลอดเลือดแดงโป่งพองได้คือคนที่สูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง ภวาะไขมันในเลือดสูง และเกิดจากรรมพันธุ์ ซึ่งพบมากในผู้ชายอายุ 60 ปีขึ้นไป และมักพบในชายอายุ 60 ปีขึ้นไป และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
          ความน่ากลัวของโรคนี้คือ ผู้ป่วยมักไม่มีอาการใดๆนำมาก่อน เมื่อมีอาการนั่นอาจหมายถึงหลอดเลือดนั้นแตกหรือกำลังจะแตกแล้ว อาการที่สังเกตเห็นคือ ปวดท้องร่วมกับปวดหลังเนื่องจากหลอดเลือดจะอยูด้านหลังช่องท้อง คลำเจอก้อนที่เต้นได้ในช่องท้อง แต่ในผู้ป่วยบางรายที่อ้วนมากจะไม่สามารถคลำเจอเนื่องจากมีผนังหน้าท้องที่หนา
          การรักษาหากพบการโป่งพองไม่เกิน 5 เซนติเมตร ถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ไม่ต้องทำการผ่าตัดรักษา แต่ต้องตรวจสุขภาพและมาพบแพทยืเป็นประจำ ร่วมกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ หากโป่งพองมากว่า 3 เซนติเมตร ต้องตรวจทุกปี ดป่งพองมากกว่า 4 เซนติเมตร ต้องตรวจทุก 6เดือน โป่งพอง 5 เซนติเมตรขึ้นไปคสรพบศัลยแพทย์หลอดเลือดเพื่อหาแนวทางการป้องกันและรักษาแต่เนิ่นๆ แต่ในกรณีที่โตเร็วมากกว่า 5 มิลลิเมตรใน 6 เดือน หรือ 1 เซนติเมตรใน 1 ปี หรือโป่งพองมากกว่า 5.5 เซนติเมตร ขึ้นไปจะมีโอกาสแตกได้มาก จึงเป็นข้อบ่งชี้ให้ทำการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดนั้นมี 2 แบบคือ
          การผ่าแบบเปิดช่องท้อง หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า การผ่าตัดแบบใหญ่ เป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐาน แพทย์ต้องวางยาสลบ เปิดแผลใหญ่ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงหัวเหน่า แล้วใส่หลอดเลือดเทียมทดแทนหลอดเลือดทดแทนหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพอง ผลการรักษาในระยาวดี แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดนานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
          การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียม(Endovasclar Aneurysm Repair) มักเรียกว่าผ่าตัดแบบเล็ก คือการใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด (Stent Graft) ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง เพื่อสอดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพองในช่องท้อง เป็นทางเลือกใหม่ ที่ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แผลผ่าตัดขนาดเล็ก ไม่ต้องวางยาสลบ ลดอัตราการเลี่ยงและการให้เลือด ผลในระยะสั้นและระยะกลางยังมีประสิทธิภาพดี แต่ต้องมาพบแพทย์บ่อยเพื่อติดตามผลในระยะยาว ซึ่งอัตราการเสียชีวิต ภายใน 30 วันของการผ่าตัดเล็กในกลุ่มหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องที่ไม่มีอาการมีเพียงประมาณ 1-1.5% ซึ่งน้อยกว่าแบบใหญ่ถึง 3 เท่า
          การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผู้ป่วยและลักษณะกายวิภาคของหลอดเลือด สำหรับคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี และมีร่างกายทีแข็งแรง มีแนวโน้วทำการผ่าตัดใหญ่มากกว่า แต่หากเกิน 70 ปีขึ้นไป มักจะแนะนำให้ผ่าตัดแบบเล็กมากกว่า แต่หากอายุน้อยกว่า 60 ปีก็จริง แต่สุขภาพไม่แข็งแรง มีโรคร่วมมาก เช่นโรคหัวใจหรือโรคปอด และต้องการอยู่โรงพยาบาลไม่นาน มีภาวะแทรกซ้อนน้อย ก็ต้องทำการผ่าตัดแบบเล็ก ซึ่งแพทย์จะทำการพิจารณาเป็นรายๆไป
          โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงแต่สามารถป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และควรปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ อย่าคิดว่าแค่โป่งพอง แต่ไม่แตกก็ใช้ชีวิตกันไปอย่างลุ้นๆซึ่งคงไม่สนุกเหมือนกับการลุ้นรางวัลแจ็กพ็อตเป็นแน่ การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ เพื่อป้องกันการแตกของหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี พร้อมการตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง ตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ก่อน ไม่ต้องเอาชีวิตมาเสี่ยง
          โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
          โทร.0-2711-8181

 pageview  1205508    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved