Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 19/06/2556 ]
โรคริดสีดวงทวาร

  ริดสีดวงทวาร(Hemorrhoids) เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิงริดสีดวงทวารเป็นเนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไปในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัว เรียกว่า "หัวริดสีดวง" แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว อาจพบเป็นเพียงหัวเดียวหรือหลายหัวก็ได้
          * สาเหตุ
          เกิดจากการเบ่งถ่ายอุจจาระท้องผูกการนั่งนานๆ ภาวะตั้งครรภ์ หรืออาจส่งผลมาจากน้ำหนักตัวมากการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไอเรื้อรัง ตับแข็ง ต่อมลูกหมากโตและผู้ที่มีเนื้องอกในช่องท้อง เป็นต้น
          * ลักษณะอาการ
          ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด คือ จะถ่ายอุจจาระออกมาก่อน จากนั้นจะมีเลือดสดๆ ไม่มีมูกเลือดปนมีก้อนที่ยื่นออกมาจากทวาร ขณะที่เบ่งอุจจาระคลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนักเจ็บและคันบริเวณทวารหนัก
          * วิธีการรักษา
          ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักหลายวิธี
          - รักษาโดยการให้ยาเหน็บที่ทวารหนักเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและสร้างความแข็งแรงของผนังหลอดเลือดอาจใช้ร่วมกับยาระบายได้
          - ฉีดยาที่หัวริดสีดวงทวารเพื่อให้เกิดพังผืดรัดหัวริดสีดวงและฝ่อได้เอง มักใช้ในกรณีที่หัวริดสีดวงมีเลือดออกและหัวริดสีดวงที่ย้อยไม่มาก
          - ยิงยางรัดหัวริดสีดวง (Baron Gun) จะทำให้ริดสีดวงนั้นฝ่อและหลุดออกไปเองประมาณ 7 วัน
          - รักษาโดยการผ่าตัดมักใช้ในระยะที่ 3,4 และริดสีดวงที่มีการอักเสบ
          อาการหลังผ่าตัด อาจมีเลือดออกได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่ 10 ของการผ่าตัดปกติจะมีเลือดออกไม่มากและจะหยุดเอง ถ้ามีเลือดออกมากให้มาพบแพทย์หรือมีน้ำเหลืองซึมที่ขอบทวาร 4-6 สัปดาห์ ในกรณีที่ไม่ได้เย็บปิดแผลและบริเวณปากทวารหนักอาจบวมเป็นติ่ง แนะนำให้นั่งแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น อาจถ่ายอุจจาระไม่ออกในระยะแรก
          การป้องกัน เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หรือยาเพิ่มกากใยดื่มน้ำวันละประมาณ 6-8 แก้ว หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีถึง 1 ชม.อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ฝึกขับถ่ายอุจจาระสม่ำเสมอและขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน
          ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำให้สังเกตว่าอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ให้รับประทานอาหารชนิดนั้นเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ติดต่อกันอย่างน้อย 6-8 ชม.ต่อวัน และหลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนานๆ ให้เปลี่ยนอริยาบทบ่อยๆ
          ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลธนบุรี โทร.0-2412-0020
          'สุขภาพดี ส่งต่อได้'
          โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ฉลองครบรอบ 20 ปี เปิดแคมเปยส่งเสริมสุขภาพภายใต้แนวคิด "สุขภาพดี...ส่งต่อได้" เพื่อตอกย้ำและสร้างกระแสให้ประชาชนเกิดความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ในการดูแลสุขภาพให้ครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ และสังคม ด้วยการจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี อาทิ การส่งต่อความรู้สุขภาพดีไปยังชุมชนด้วยการจัดกิจกรรมให้ความรู้สุขภาพแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโรงพยาบาล การมอบตู้ยาสามัญให้แก่หน่วยงานราชการ ชุมชน และโรงเรียน รวมไปถึงโครงการส่งเสริมอนามัยในโรงเรียน
          และการจัดโปรแกรมตรวจสุขภาพราคาพิเศษ เริ่มต้นที่ 2,200 บาท โดยทุก 20 บาท จากทุกโปรแกรมตรวจสุขภาพของโรงพยาบาล ร่วมสมทบทุนมูลนิธิหลวงพ่อพุธ-รพ.ไทยนครินทร์ ส่งต่อเพื่อบริจาคช่วยเหลือพระอาพาธที่โรงพยาบาลสงฆ์อีกด้วย
          ในงานพบกับพระอาจารย์ ธวัชชัย ธมมทีโป จาก ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ บ้านวังเมือง จ.พังงา ดอน จมูกบาน ดาราตลกอาวุโสและ "โก้" เศกพล อุ่นสำราญ ศิลปินนักเป่าแซ็กโซโฟน มาร่วมพูดคุยเรื่องราวสุขภาพ พร้อมร่วมชมพื่นที่บริการแห่งใหม่ ศูนย์ตรวจสุขภาพและศูนย์หัวใจ
          ในวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน เวลา 09.00-12.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0-2361-2727 หรือ 0-2361-2828 ต่อ 3042, 3056 หรือ wwww.thainakarin.co.th
 

 pageview  1205517    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved