Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 27/02/2556 ]
พบอหิวาต์ฮิโกจิมาดื้อยา เป็นสายพันธุ์พบน้อยในไทย

 นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการเฝ้าระวังการดื้อยาของเชื้ออหิวาตกโรคทางห้องปฏิบัติการ โดยทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ 4 ชนิค คือ แอมพิซิลลิน(Ampicillin),คลอแรมเฟนิคอล(Chloramphenicol),ไซโปรฟลอกซาซิน(Ciprofloxacin),โคไตรม็อกซาโซล(Co-trimoxazole),นอร์ฟล็อกซาซิน(Norfloxacin)และเตตราไซคลีน(Tetracycline)2553-2555พบว่าเชื้อ Vibrio Cholerae O1,ElTor,Ogawa ดื้อยาโคไตรม็อกซาโซล(Co-trimoxazole)ร้อยละ97.7และเตตราไซคลีน(Tetracycline)ร้อยละ 94.7 เชื้อ Vibrio cholerae O1,El Tor,Inaba ดื้อยาโคไตรม็อกซาโซล(Co-trimoxazole)ร้อยละ 99.1 เชื้อ Vibrio cholerae O1,El Tor,Hikojima ดื้อยาโคไตรม็อกซาโซล(Co-trimoxazole)และเตตราไซคลีน(Tetracycline)ร้อยละ 100 ส่วน Vibrio cholerae O139 ไม่ดื้อยาที่ทดสอบซึ่ง เชื้อ Vibrio cholerae O1,El Tor,Hikojima ในประเทศไทยพบน้อยมาก
          ทั้งนี้อหิวาตกโรค เป็นโรคติดต่อจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae O1 และ O139 กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์ว่าในปี 2556 จะมีการระบาดใหญ่ เนื่องจากการระบาดของโรคจะเป็นลักษณะเกิดโรค 1 ปี เว้น 2 ปี โดยเกิดระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในปี 2547-2550 และ 2553 ตามลำดับ คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคไม่เกิน 1,000 รายต่อปี

 pageview  1205464    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved