Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 10/03/2558 ]
โรคใหม่-ภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายระบบประสาทสมอง
 จากเพจในเฟซบุ๊ก 'แม่อ้อมและน้อง ลาเต้ กับโรค Anti-NMDA receptor encephalitis' พร้อมให้กำลังใจเธอและลูกสาววัย 2 ขวบ 10 เดือน ที่ต้องเผชิญกับโรค Anti-NMDA receptor encephalitis  หรือ ภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายสารสื่อประสาทในสมอง
          นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (ร.พ.เด็ก) อธิบายถึงโรคนี้ว่า เป็นโรคค่อนข้างใหม่ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพิ่งวินิจฉัยได้ประมาณปี 2550-2551 ซึ่งพบว่าเกิดจากสาร Anti-NMDA receptor encephalitis  ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา ทำให้เกิดอาการผิดปกติในสมอง ทำลายสารรับสื่อประสาท และส่งผลกระทบต่อหลายระบบ โดยเฉพาะระบบประสาท
          ก่อนหน้านี้จะพบว่า สัมพันธ์กับผู้ที่มี เนื้องอกในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ หรืออัณฑะ และส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่า ปัจจุบันแม้ไม่มีเนื้องอกก็สามารถ เกิดขึ้นได้ อาจจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
          อุบัติการณ์เกิดโรคได้ในผู้ป่วย อายุ 2-84 ปี ส่วนใหญ่เกิดในช่วงวัยรุ่น อาการเริ่มแรก จะมีไข้ ปวดศีรษะ เดินเซ ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ โดยเฉพาะมือ แขนขา ความดันโลหิตสูงต่ำขึ้นๆ ลงๆ พบความผิดปกติในชีวิตประจำวัน มีอาการคล้ายจิตเภท เช่น หูแว่ว ประสาทหลอน ได้ยินเสียง หรือเห็นภาพว่าใครจะมาทำร้าย ซึ่งอาการที่พบในผู้ใหญ่และเด็กจะคล้ายกัน
          ร.พ.เด็ก ได้รับเด็กที่ป่วยโรค Anti-NMDA receptor encephalitis ประมาณ 15 รายแล้ว เคยพบผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 14 ปี มีอาการสั่น มองเห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้าย ความดันสูง ชัก เมื่อเจาะน้ำในไขสันหลัง ส่งตรวจที่สถาบันประสาท ก็พบว่าเกิดโรค Anti-NMDA receptor encephalitis  จึงรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน IVIG ร่วมกับการให้สเตียรอยด์ ซึ่งอาการดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 4 อาการกลับมาเป็นปกติ เดินได้ แต่จำไม่ได้ว่าเคยป่วย
          ปัจจุบันถือว่าผลการรักษาน่าพอใจ แต่ต้องระวังอาการแทรกซ้อน โดยเฉพาะปอดอักเสบ เพราะต้องให้ยา กันชัก ยาปรับพฤติกรรม ยาควบคุมการเคลื่อนไหวซึ่งจะทำให้เสมหะเยอะ และเสี่ยงติดเชื้อ  มีปัญหาจากแผลกดทับจากการนอนนานๆ ดังนั้นจึงต้องรักษาแบบประคับประคอง ทำกายภาพบำบัดคู่ไปด้วย โดยภายหลังจากหายเป็นปกติ ผู้ป่วยที่มีอาการมาก อาจคิดช้า หรือมีปัญหาเรื่องสมาธิ
          เมื่อพบอาการผิดปกติสามารถวินิจฉัยด้วยการเจาะน้ำไขสันหลังเลือด และการตรวจคลื่นสมอง และยังต้องหาความผิดปกติของเนื้องอกร่วมด้วย เมื่อตรวจพบสาร AntiNMDA receptor encephalitis  แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เกิดเนื้องอก จะเกิดความผิดปกติของสาร Anti-NMDAreceptor encephalitis  แต่หากพบสาร ก็ต้องตรวจหาความผิดปกติของเนื้องอกเพิ่มเติม
          เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดสาร Anti-NMDA receptor encephalitis ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เพราะถือเป็นโรคใหม่ที่ทางการแพทย์กำลังเก็บข้อมูลของโรคเพิ่มเติม
 pageview  1205101    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved