Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 02/03/2555 ]
เคล็ดขจัดเครียดพิชิตภาวะจิตซึมเศร้า

จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบว่า ปัญหาทางด้านจิตใจที่พบบ่อยที่สุดร้อยละ 12-15 เป็นผู้ที่มีความวิตกกังวลและเป็นโรคซึมเศร้า
          ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนนั้นถือเป็นเรื่องธรรมชาติอย่างหนึ่งที่พบได้เป็นปกติ เป็นพลังกระตุ้นให้คนเราตื่นตัวในการเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ความเครียดต่างๆ เป็นแรงผลักดันให้คนเราแก้ปัญหาและคิดพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้
          แต่ถ้าความคิดวิตกกังวลนั้นมากจนเกินไปจนไม่สามารถควบคุมได้อาจส่งผลให้เกิดความเครียด ความทุกข์ใจ ทำให้การดำเนินชีวิตไม่ราบรื่นไม่มีสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง มีปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว บางครั้งอาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย เนื่องจากหาทางออกไม่ได้
          น.พ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล จิตแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความวิตกกังวลใจที่อาจบั่นทอนประสิทธิภาพในการทางานหรือทาให้การดาเนินชีวิตประจาวันเสียไปว่า เรื่องของความเครียดและความวิตกกังวลเป็นโรคของยุคสมัยปัจจุบัน คือทั่วทั้งโลกปัญหาเรื่องความกังวลความเครียด กลายเป็นเรื่องใหญ่
          สาเหตุที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้น ทำ ให้วิถีชีวิตเปลี่ยน แปลงรวดเร็ว เต็มไปด้วยความเร่งรีบนอกจากนี้ยังมีเรื่องอาหารการกินขาดการออกกำลังกาย การนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ รวมถึงการมีอายุขัยเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น ทำให้เรื่องของจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องความเครียดและความวิตกกังวลกลายเป็นโรคของยุคสมัยใหม่ ทำให้การกิน การนอน สมาธิในการทำงานและความสัมพันธ์เสียไป ความสามารถในการคุมอารมณ์ลดลง
          น.พ.ประเวชให้ข้อสังเกตว่าผู้ที่มีความวิตกกังวลอาจมีอาการแสดงออกที่แตกต่างกันไป เช่น ตัวเย็น มือเย็น ปากแห้ง เหงื่อออกคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย กลืนอาหารลาบาก กระวนกระวาย เหนื่อยง่ายขาดสมาธิ หงุดหงิดบ่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและนอนไม่หลับ ส่งผลเสียต่อการทางานและการดาเนินชีวิตประจาวัน ควรหันมาดูแลจิตใจและจัดการเรื่องของความเครียดความกังวลแต่เนิ่นๆ ก่อนที่มันจะส่งผลเสียต่อชีวิตเรา
          จิตแพทย์ระบุว่า ในปัจจุบันบางองค์กรเริ่มดูแลสุขภาพจิตในที่ทำงาน เพราะทันทีที่หน่วยงานจัดการดูแลจิตใจให้กับคนทำงาน จะมีผลตอบแทนคืนมาในรูปของการที่คนคนนั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น หากพูดในด้านการเงิน จะให้ผลตอบแทนกลับคืนมา 5-13 ดอลลาร์ ในทุกการลงทุน 1 ดอลลาร์ แปลว่าการดูแลเรื่องของจิตใจไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตและเพิ่มประสิทธิผลของงาน
          "ถ้าเราจัดการความกังวลได้ดีเราก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น เราจะมีความสุข ประสิทธิภาพสูงขึ้น แล้วเราจะสามารถจัดการตัวเอง สร้างสัมพันธภาพได้ดีในการทำให้งานประสบผลสำเร็จ เนื่องจากงานปัจจุบันต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่าย ไม่มีงานไหนที่จะสำเร็จโดยใช้สาขาวิชาชีพเดียวในปัจจุบัน การฝึกจัดการตัวเองโดยเฉพาะเรื่องความเครียดและความกังวลเป็นการเติมศักยภาพภายในให้นำออกมาใช้ได้ดีขึ้น"
          น.พ.ประเวชแนะเทคนิคจัดการความกังวลใจและความเครียดที่สามารถฝึกได้ด้วยตนเอง 4 ประการ ดังนี้
          1.ฝึกทักษะผ่อนคลาย เพราะร่างกายกับจิตใจเราสัมพันธ์กัน ทักษะหนึ่งที่ฝึกได้ง่ายๆ คือ ฝึกการหายใจ มีหลักง่ายๆ สามข้อ
          หนึ่งไม่ต้องตั้งใจมาก เพราะหากตั้งใจมากจะเกร็งและไม่ผ่อนคลาย สอง หายใจออกให้ยาวกว่าหายใจเข้า อาจใช้การนับเลขช่วย หายใจเข้านับ 1 - 2 - 3 - 4 กลั้นไว้ นับ 1-2 หายใจออก นับ 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 สาม หายใจเข้าท้องพองออก กลั้นไว้ หายใจออก ท้องแฟบลง หรืออาจใช้วิธีหายใจเข้าให้สุด ออกให้สุด
          นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการยืดเหยียด การบริหารร่างกาย เพื่อให้ได้กลับมาอยู่กับตัวเอง เพราะเวลาที่คนเราเคลื่อนไหวความคิดจะลดลง ความสงบทางใจก็กลับมา ถ้าฝึกนานพอจะรู้สึกเบาโล่ง
          2.จัดการด้านความคิด ระวังความคิดที่ทำให้เรากังวลและเครียด ไม่ไปเผลอคิดมัน รู้ทันมัน ฝึกวิธีคิดที่ช่วยให้เรามีความสุข
          3.จัดการปัญหาชีวิต โดยเฉพาะปัญหาความสัมพันธ์ ซึ่งมีส่วนทำให้คนเราเครียดและกังวลได้มาก
          4.เรื่องอาหารการกินพบว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะหงุดหงิดง่าย การควบคุมอารมณ์ต่ำลง เห็นชัดในเด็กที่มีสมาธิ สูตรของการกินอาหารเพื่อสมองเป็นสูตรเดียวกับการกินอาหารเพื่อสุขภาพอาหารอะไรที่ดีต่อหัวใจจะดีต่อสมองด้วย กินอาหาร
          เพื่อสุขภาพให้ดีสมองก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย
          ปัจจุบัน โรงพยาบาลมนารมย์ซึ่งมีนโยบายส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตเชิงป้องกัน ได้พัฒนารูปแบบการจัดการอบรม ให้ความรู้ ตลอดจนฝึกฝนทักษะการจัดการความวิตกกังวล ความเครียด ตลอดจนการเสริมสร้างความมั่นใจอย่างหลากหลาย ผู้สนใจดาวน์โหลดข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพจิต แบบทดสอบความเครียดได้ที่ www.manarom.com
          หรือหากต้องการรับคาปรึกษาจากจิตแพทย์ในด้านต่างๆ รวมถึงสมัครเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี อาทิ โปรแกรมสร้างสุขในชีวิต หรือเข้าฟังการบรรยายเรื่อง"จิตซึมเศร้า....รักษาได้" สอบถามได้ที่โทร. 0-2725-9595, 0-2399-2822
 

 pageview  1206086    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved