Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 28/02/2556 ]
ดูแลอย่างไร?เมื่อมีผู้ป่วยจิตเวชอยู่ร่วมครอบครัว!!

 www.dmh.go.th
          จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์สุขภาพจิตคนไทยในทุกๆ 5 ปี พบว่าอุบัติการณ์ของปัญหาสุขภาพจิต จากเล็กน้อยถึงรุนแรง ประมาณร้อยละ 20  ของประชากร หรือ 1 ใน 5 คน ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอายุ 18-25 ปี เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และจากตัวเลขการเข้ามาตรวจรักษากับทางโรงพยาบาลทั้งโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลจิตเวช พบมีผู้ป่วยด้วยโรคจิตเภทราว 650,000 คน มีอาการที่น่าเป็นห่วง ถึงขั้นมีอาการคลุ้มคลั่งราว 65,000 คน
          นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าถ้าเราอยู่ร่วมชายคาเดียวกันหรือเป็นญาติเป็นคนในครอบครัว เราสามารถสังเกตอาการของผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวชได้ โดยดูจากอาการที่ผิดปกติไปจากเดิมทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นคนสดใสร่าเริง เช่น นอนไม่หลับ เดินไปเดินมา มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น พูดคนเดียว หวาดระแวง เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร นั่งนิ่งเป็นหินไม่พูดจาใดๆ เป็นชั่วโมงๆ บางครั้งมีอารมณ์แปรปรวนง่าย บ่นอยากตาย  แสดงว่าเขาน่าจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตเกิดขึ้นแล้ว ควรพาไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัยและให้การรักษาทันทีตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการกำเริบ
          ถึงแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้น แต่อาจมีอาการหลงเหลือและมีความสามารถถดถอยมากน้อยแตกต่างกันไป จึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งด้านร่างกาย สังคม จิตใจ และอาชีพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง ให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้สังคมหรือคนปกติทั่วไปควรมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อผู้ป่วย และควรให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัว ให้ผู้ป่วยอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข"การป้องกันตัวเองจากปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวช สามารถทำได้โดยหมั่นสำรวจจิตใจตนเอง ทำความเข้าใจและรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง หาวิธีจัดการกับความเครียด ที่เกิดขึ้นหรือขอคำแนะนำจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันไม่ให้ความเครียดส่งผลกระทบต่อการ เจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตใจได้"อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวปิดท้าย
 

 pageview  1205464    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved