Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 31/10/2555 ]
เปิดปม'แม่วัยใส'ยายวัยซ่า-ย่าวัยซิ่ง

สถาบันรามจิตติ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) สนับสนุนทุนวิจัยแก่กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศึกษาวิจัย "แม่วัยใส ยายวัยซ่า ย่าวัยซิ่ง" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเชิงพื้นที่เพื่อการวิเคราะห์สภาวการณ์และขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพ มหานคร (Child Watch BKK.)
          พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่าคณะวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลแม่วัยใสในกรุงเทพมหานคร 15 คน อายุระหว่าง 13-16 ปี ส่วนใหญ่เคยศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และยายวัยซ่า ย่าวัยซิ่ง อายุต่ำกว่า 34 ปี รวม 6 คน ระหว่างเดือนก.ค.-ก.ย.2555
          พบตัวแปรที่เป็นสาเหตุของปัญหาคือ 1.สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ทั้งที่บ้าน ชุมชน สังคม เด็กสัมผัสพบเห็นอยู่เป็นประจำ แม้กระทั่งในโลกอินเตอร์เน็ต โลกออนไลน์ เด็กได้รับรู้พบเห็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ด้านเพศเชิงลบตลอดเวลา 2.การอบรม เลี้ยงดูบุตรหลานที่ถูกละเลย เด็กถูกปล่อย ให้อยู่กับเพื่อน ร้าน เกม ให้เงินใช้จ่าย นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และเข้าสู่การมีเพศสัมพันธ์และเสพ
          ดร.จิราพร สวัสดิรักษ์ยาเสพติด 3.ความอยากรู้อยากลอง โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามวัยที่คึกคะนอง 4.สถานภาพครอบครัว ทั้งสภาพครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่แยกทาง หรือภาวะที่เด็กต้องอยู่กับปู่ย่าตายาย ทำให้เด็กขาดความอบอุ่น 5.พฤติกรรมเลียนแบบ โดยเฉพาะสื่อที่เกิดขึ้นมากมาย ทำให้เด็กเสพสื่อโดยขาดวิจารณญาณ และ 6.ทักษะชีวิต พบว่าแม่วัยใสส่วนใหญ่ขาดทักษะในการจัดการเกี่ยวกับเพศและ
          อนามัยเจริญพันธุ์
          ดร.จิราพร สวัสดิรักษ์ นักวิจัยและอาจารย์โรงเรียนไทรน้อย จ.นนทบุรี กล่าวว่า "แม่วัยใส ยายวัยซ่า ย่าวัยซิ่ง" เป็นชื่อที่มาจากประเด็นปัญหาที่ทำให้ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 17 ปี ตั้งครรภ์ เป็น "แม่วัยใส" และส่วนใหญ่เป็นบุตรของมารดาที่เป็นแม่วัยใสมาก่อน เป็นพฤติกรรมเลียนแบบบุคคลที่อยู่ใกล้ตัว เมื่อแม่วัยใสมีบุตร มารดาของแม่วัยใสจึงมีฐานะเป็นยาย ซึ่งคณะวิจัยเรียกว่า "ยายวัยซ่า" เพราะมีอายุต่ำกว่า 34 ปี และเช่นเดียวกัน เมื่อบุตรชายมีบุตร มารดาก็จะเป็นคุณย่า ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 34 ปี ซึ่งคณะวิจัยเรียกว่า "ย่าวัยซิ่ง""การท้องไม่พร้อมที่เกิดขึ้นในแม่วัยใสทุกวันนี้ มีผลกระทบต่อตนเองเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แม่ที่อยู่ในอายุต่ำกว่า 17 ปี ที่ยังเรียนหนังสืออยู่จะต้องออกจากโรงเรียนด้วยความอับอาย ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการอนุญาตให้เข้าเรียนได้ปกติแล้วก็ตาม
          ส่วนผลกระทบทางร่างกายที่ต้องอุ้มท้องในช่วงอายุน้อยขณะที่อุ้งเชิงกรานยังไม่ใหญ่พอ อาจเสี่ยงต่อการตกเลือด เด็กเกิดผิดท่า พิการหรือตายก่อนคลอด สำหรับปัญหาครอบครัวคือนอกจากแม่ต้องมานั่งเลี้ยงลูก ที่ยังเรียนหนังสืออยู่ ยังต้องมาเลี้ยงหลาน ซึ่งบางกรณีสามีไม่ยอมรับ ทำให้ไม่สามารถออกไปสู้หน้ากับสังคมได้
          รวมถึงปัญหาทางด้านสังคมที่มีผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อเนื่องไปถึงประเทศชาติ อาทิ เมื่อเด็กออกมาพิการ ก็ต้องดูแลรักษาเยียวยาโดยหน่วยงานของรัฐเข้าไปช่วยเหลือ หรือเด็กที่ออกมาไม่สมบูรณ์จะเกิดโรครุมเร้า ส่งผลกระทบไปยังสถานการณ์แรงงานและเศรษฐกิจของประเทศตามมา" ดร.จิราพรกล่าว
          ด้าน พ.ต.อ.หญิงจินดา กลับกลาย อาจารย์ประจำวิทยาลัยตำรวจ กล่าวด้ว่า จากผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่าง 2 พันคน พบเด็กและเยาวชนยอมรับว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ในชั้นมัธยมต้น ร้อยละ 15, ชั้นมัธยมปลาย ร้อยละ 16,
          ระดับอาชีวะ ร้อยละ 35 และอุดมศึกษา ร้อยละ 35 ปัญหาที่น่าห่วงอีกประเด็นหนึ่งคือเด็กและเยาวชนคิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ก่อนเรียนจบ ชั้นมัธยมต้น ร้อยละ 5.8, ชั้นมัธยมปลาย ร้อยละ 12.4, ระดับอาชีวะ ร้อยละ 2.4 และระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 9.6
          ขณะที่จำนวนเด็กและเยาวชนยอมรับว่าการอยู่ก่อนแต่งในกลุ่มของนักเรียนนักศึกษาเป็นเรื่องปกติและนำไปสู่การท้องไม่พร้อม ชั้นมัธยมต้น ร้อยละ 32.7, ชั้นมัธยมปลาย ร้อยละ 38, ระดับอาชีวะ ร้อยละ 47 และระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 60
          นางนงลักษณ์ ในไพศาล ประธานชุมชนบ้านพักรถไฟ เขตบางซื่อ กล่าวว่า ปัญหาในสังคมของเด็ก สถาบันครอบครัวมีบทบาทสูงสุด จะสังเกตได้ว่าบางครอบครัวลูกไปมีสัมพันธ์กับชายที่ยังอยู่ในวัยเรียนและให้มาอยู่ด้วยกันจนมีลูก คนเป็นแม่เองก็มีลูกขึ้นมาอีก เกิดเป็นความซับซ้อนและเป็นแบบอย่างที่เด็กหรือลูกหลานคนอื่นๆ จะทำตาม และอาจทำให้เด็กขาดความอบอุ่น
          ในชุมชนมีปัญหาต่างๆ มากมายที่เกิดมาจากการที่ครอบครัวพ่อแม่ไม่ได้เข้ามาดูแลให้ความอบอุ่นกับลูกอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี จึงอยากฝากให้ภาครัฐ หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องสนับสนุนและดูแลให้มากยิ่งขึ้น
          ทั้งนี้ พล.ต.ต.อำนวยกล่าวในตอนท้ายว่า คณะวิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ สถานศึกษาควรเพิ่มกิจกรรมหรือจัดหลักสูตรเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กวัยรุ่น โรงเรียน บ้านและชุมชนควรร่วมมือจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับนักเรียนและเยาวชน บ้านต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน ชุมชนต้องปลอดจากแหล่งเสื่อมโทรม
          กระทรวงศึกษาธิการควรร่วมกับกระทรวง
          การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข ช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนตามโครงการ "เขตปลอดแม่วัยใส ส่งเสริมอนามัยเจริญพันธุ์" เมื่อพบกลุ่มเสี่ยงจัดอบรมให้ความรู้ตามกระบวนการ และไม่ถือเป็นความบกพร่องของสถานศึกษา
          พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องมีวุฒิภาวะและเข้าใจการเลี้ยงดูบุตรหลาน รัฐบาลควรจัดทำโครงการอบรมคู่สมรส รวมทั้งควรมีโครงการ "พ่อแม่พาลูกพ้นภัย" ในด้านความอยากรู้อยากลอง สถานศึกษาต้องมีโครงการสร้างจิตสำนึกรักตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ
          นอกจากนี้ ควรมีโครงการฝึกทักษะการแก้ปัญหา การจัดการกับอารมณ์เพศ รู้จักหักห้ามใจตนเอง สร้างจิตสำนึกที่ดี ฝึกการคิดเชิงบวกควบคู่กับการอบรมธรรมะ รัฐบาลควรมีนโยบายเฝ้าระวังด้านคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับการป้องกันและพัฒนาแม่วัยใส โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอกเข้าช่วยเหลือ
 

 pageview  1205867    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved