Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 06/02/2555 ]
อึ้งชีวิตมนุษย์ขยะอินโดฯเหนื่อย-เสี่ยง-รายได้น้อยนิด
          กรุงจาการ์ตาและรอบเขตเมืองหลวงเป็นบ้านของชาวอินโดนีเซียราว 28 ล้านคน ผลผลิตที่เกิดขึ้นในแต่ละวันจากประชากรเหล่านี้คือปริมาณขยะมหาศาล ชีวิตของคนเก็บขยะที่นี่เป็นเช่นไร บีบีซีนำมาเสนอผ่านซีรีส์ชื่อ Toughest Place to be...a Binman (แหล่งสุดโหดในการเป็นมนุษย์ถังขยะ)
          ในแต่ละวันเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น อิหม่ามซยาฟฟีเริ่มต้นวันด้วยการคว้าซาเล้งออกไปไล่เก็บขยะพร้อมกับร้องตะโกนว่า"แซมป้า"ซึ่งแปลว่า ขยะเพื่อให้ชาวบ้านรับรู้ว่าคนเก็บขยะมาแล้ว
          ที่เขตกันตูร์ ใกล้ย่านการเงินมีบรรยากาศที่แตกต่างไปจากที่อื่นๆ ในกรุงจาการ์ตา ที่นี่มีขณะที่แห่งอื่นๆ คนจนอยู่กันอย่างแออัด
          ถ้าบ้านไหนต้องการให้คนมาเก็บขยะจะต้องจ่ายเงิน ด้วยเหตุนี้จึงมีแต่คนในกันตูร์ที่มีเงินจ่ายค่าขยะ โดยบางคนยกขยะมาเท แต่ส่วนใหญ่ทิ้งขยะทางช่องกำแพงในสวน ซึ่งอิหม่ามจะใช้คราดโกยและต้องทำให้สะอาดเพื่อลูกค้าเศรษฐีทั้งหลายจะได้ไม่บ่น
          คนส่วนใหญ่ไม่มีใครคัดแยกขยะ ขยะเปียก อาหาร พลาสติกและกิ่งไม้ใบไม้จึงปนมาด้วยกันและไปจบในเตาเผาขยะ
          รถซาเล้งเก็บขยะมีขนาดใหญ่เท่าอ่างอาบน้ำแต่สูงกว่านั้น 3 เท่าแต่ขยะก็เต็มอย่างรวดเร็ว อิหม่ามจึงต้องคอยกระทืบให้ขยะแฟบลงบ้านหลังใหญ่กับถนนที่ปกคลุมด้วยใบไม้ หลังกำแพงมีสนามหญ้าหรือแม้กระทั่งสวนปาล์มและไม้พุ่ม
          วิลเบอร์ รามิเรซคนเก็บขยะในกรุงลอนดอนกล่าวอย่างชื่นชมขณะเหงื่อไหลย้อยที่หน้าผากว่า อิหม่ามทำงานหนักมาก
          บีบีซีให้วิลเบอร์ทิ้งชีวิตไฮเทคและรถเก็บขยะติดแอร์กับทีมเก็บขยะของเขา เดินทางไกล11,000 กิโลเมตรเพื่อมาสัมผัสชีวิตคนเก็บขยะในกรุงจาการ์ตา 10 วันร่วมกับอิหม่ามและประโยคนี้หลุดออกมาขณะเพิ่งเริ่มวันแรกของภารกิจ
          อิหม่ามขับรถซาเล้งไปกลับวันละ 3 เที่ยวเขาดูแลบ้านเกือบ 100 หลังซึ่งทางหมู่บ้านรับผิดชอบค่าใช้จ่าย สัปดาห์ละ 6 วันอิหม่ามหาเงินได้ 200,000 รูเปียห์หรือราว 680 บาท
          "เป็นงานที่ต้องใช้แรงกายมากกว่าที่คิดรถเก็บขยะหนักเป็นตันและเขาทำคนเดียว"วิลเบอร์กล่าว
          งานเก็บขยะถือเป็นงานที่มีค่าเพราะเป็นรายได้สม่ำเสมอและในเมืองมีคนเก็บขยะ เพียง3,000 คนเท่านั้น
          อิหม่ามกลัวว่าถ้าวันใดเกิดมีลูกค้าบ่นแม้แต่คนเดียวเขาอาจถูกไล่ออก "ถ้าทำไม่เสร็จ เขาจะโทร.ไปโวยกับทางหมู่บ้าน ยังมีคนอีกเพียบที่อยากทำงานนี้ ผมกลัวถูกไล่ออกเพราะไม่รู้จะเอาอะไรให้ลูกเมียกิน" อิหม่ามกล่าว
          เงินที่ได้ เขานำมาจ่ายค่าเช่าบ้านหลังเล็กๆ ที่ครอบครัวเขาใช้เป็นสถานที่รีไซเคิลขยะในตอนกลางคืน แยกของที่มีค่าออกเป็นกองแล้วนำไปขาย การคัดแยกขยะ 3 คืนทำรายได้ให้ครอบครัวนี้ 28,000 รูเปียห์ หรือราว 90 บาทแม้จะน้อยแต่มีความหมายมากสำหรับครอบครัวนี้
          "ถึงมันจะลำบาก ผมก็ต้องทำเพราะผมไม่มีความสามารถอื่น ผมทำงานอะไรก็ได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว"อิหม่ามกล่าว
          ด้าน นางวินดีภรรยากล่าวว่า"ถึงเราจะไม่มีเงินเยอะแต่ฉันก็มีความสุขเพราะสามีทำงานหนักเพื่อดูแลฉันและลูกชาย แม้เขาจะทำงานกับขยะ แต่เขาก็อุทิศตนด้วยความทุ่มเท เขาอาจจะเป็นแค่คนเก็บขยะแต่เขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนคนอื่นๆ"
          ทั้งนี้ ขยะส่วนใหญ่ของทั้งอินโดนีเซียหรือเกือบร้อยละ 20 ถูกทิ้งตามแม่น้ำลำคลองทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขพยายามกำจัดขยะออกจากทางน้ำแต่ก็ทำไม่ทั่วถึง
          อาชีพคนเก็บขยะจึงเป็นอาชีพที่สำคัญเพราะมีส่วนช่วยทำความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้กับประเทศแห่งนี้ไม่มากก็น้อย
 pageview  1204401    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved