Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 29/05/2563 ]
เตือนผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลว

 

          หายใจเหนื่อย-เพลีย-บวมน้ำรีบพบหมอทันที
          นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจผิดปกติที่โครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้พอเพียง ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากความผิดปกติของโรคเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุที่พบบ่อย เช่น ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจรูมาติก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การใช้สารเสพติด รวมทั้งเยื่อหุ้มหัวใจหนาตัวจากการอักเสบและมีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น โลหิตจางขั้นรุนแรง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น ผู้ป่วยจะพบอาการสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ หอบเหนื่อยในขณะที่ออกแรง หรือหายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ อ่อนเพลีย ทำให้ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกายลดลง มีอาการบวมน้ำ บวมกดบุ๋มที่เท้าและขา และน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ หากพบอาการเหล่านี้ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
          นพ.เอนก กนกศิลป์ ผอ.สถาบันโรคทรวงอกกล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวแพทย์จะวินิจฉัยโดยการซักประวัติ ประเมินภาวะคั่งน้ำในร่างกาย รวมทั้งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ การตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอายุรแพทย์หัวใจ
          สำหรับแนวทางการรักษาแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนี้ 1.การรักษาด้วยยา เช่น ยาขับปัสสาวะและยาสำหรับหัวใจล้มเหลวที่มีผลในการลดอาการและลดอัตราตายจากภาวะหัวใจล้มเหลว 2.การรักษาที่สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันด้วยยาหรือการทำบอลลูนหรือการผ่าตัดบายพาส รวมทั้งการควบคุมปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูงให้อยู่ในเกณฑ์ 3.การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ/เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร เพื่อให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกันในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ซึ่งต้องขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 4.การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (บายพาสหลอดเลือดหัวใจ) เพื่อแก้ไขที่สาเหตุและการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายที่การรักษาอื่นไม่ได้ผล
          นอกจากนี้ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวต้องรู้จักควบคุมปัจจัยเสี่ยงและดูแลสุขภาพตนเองด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ และควรหมั่นสังเกตตนเอง ควรชั่งน้ำหนักก่อนทานอาหารเช้าทุกวัน หรือภายหลังเข้าห้องน้ำขับถ่ายแล้วในช่วงเช้า ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 ก.ก. จากเดิมภายใน 1-2 วัน (หรือเพิ่มขึ้น 2 ก.ก. ภายใน 3 วัน) หรือพบอาการขาบวม กดบุ๋ม เหนื่อยนอนราบไม่ได้หรือต้องลุกมานั่งหอบตอนกลางคืนควรรีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งแพทย์ทราบก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
          หายใจเหนื่อย-เพลีย-บวมน้ำรีบพบหมอทันที
          นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจผิดปกติที่โครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้พอเพียง ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากความผิดปกติของโรคเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุที่พบบ่อย เช่น ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจรูมาติก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การใช้สารเสพติด รวมทั้งเยื่อหุ้มหัวใจหนาตัวจากการอักเสบและมีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น โลหิตจางขั้นรุนแรง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น ผู้ป่วยจะพบอาการสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ หอบเหนื่อยในขณะที่ออกแรง หรือหายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ อ่อนเพลีย ทำให้ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกายลดลง มีอาการบวมน้ำ บวมกดบุ๋มที่เท้าและขา และน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ หากพบอาการเหล่านี้ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
          นพ.เอนก กนกศิลป์ ผอ.สถาบันโรคทรวงอกกล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวแพทย์จะวินิจฉัยโดยการซักประวัติ ประเมินภาวะคั่งน้ำในร่างกาย รวมทั้งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ การตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอายุรแพทย์หัวใจ
          สำหรับแนวทางการรักษาแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนี้ 1.การรักษาด้วยยา เช่น ยาขับปัสสาวะและยาสำหรับหัวใจล้มเหลวที่มีผลในการลดอาการและลดอัตราตายจากภาวะหัวใจล้มเหลว 2.การรักษาที่สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันด้วยยาหรือการทำบอลลูนหรือการผ่าตัดบายพาส รวมทั้งการควบคุมปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูงให้อยู่ในเกณฑ์ 3.การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ/เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร เพื่อให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกันในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ซึ่งต้องขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 4.การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (บายพาสหลอดเลือดหัวใจ) เพื่อแก้ไขที่สาเหตุและการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายที่การรักษาอื่นไม่ได้ผล
          นอกจากนี้ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวต้องรู้จักควบคุมปัจจัยเสี่ยงและดูแลสุขภาพตนเองด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ และควรหมั่นสังเกตตนเอง ควรชั่งน้ำหนักก่อนทานอาหารเช้าทุกวัน หรือภายหลังเข้าห้องน้ำขับถ่ายแล้วในช่วงเช้า ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 ก.ก. จากเดิมภายใน 1-2 วัน (หรือเพิ่มขึ้น 2 ก.ก. ภายใน 3 วัน) หรือพบอาการขาบวม กดบุ๋ม เหนื่อยนอนราบไม่ได้หรือต้องลุกมานั่งหอบตอนกลางคืนควรรีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งแพทย์ทราบก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

 pageview  1205108    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved