Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 24/06/2556 ]
ชายเลือกคู่อายุน้อยต้นเหตุวิวัฒนาการวัยทอง

 พฤติกรรมวัวแก่กินหญ้าอ่อน หรือการที่ผู้ชายมักเลือกผู้หญิงซึ่งมีอายุอ่อนกว่าเป็นคู่ครอง กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เพศหญิงมีวิวัฒนาการให้มีภาวะหมดประจำเดือนเมื่ออายุมากขึ้น หลังนักวิทยาศาสตร์จากประเทศแคนาดาเปิดเผยทฤษฎีใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าปรากฏการณ์ที่ผู้หญิงย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเมื่ออายุมากขึ้นเป็นไปตามหลักการคัดสรรทางธรรมชาตินั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ชายพึงพอใจที่จะเลือกคู่ที่มีอายุน้อย
          ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดยศาสตราจารย์รามา สิงห์ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ทำการจำลองแบบวิวัฒนาการด้วยคอมพิวเตอร์ก่อนจะสามารถสรุปได้ว่าคำตอบของวิวัฒนาการที่ทำให้เกิดภาวะวัยทองขึ้น มีสาเหตุมาจากการเลือกคู่ของเพศชายในประวัติศาสตร์นิยมที่จะเลือกคู่อายุน้อย ส่งผลให้ความเจริญพันธุ์ในผู้หญิงที่มีอายุมากไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
          ศาสตราจารย์สิงห์ เจ้าของทฤษฎีใหม่ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารพับบลิก ไลบรารี ออฟ ไซนส์ คอมพิว
          พฤติกรรมวัวแก่กินหญ้าอ่อน หรือการที่ผู้ชายมักเลือกผู้หญิงซึ่งมีอายุอ่อนกว่าเป็นคู่ครอง กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เพศหญิงมีวิวัฒนาการให้มีภาวะหมดประจำเดือนเมื่ออายุมากขึ้น หลังนักวิทยาศาสตร์จากประเทศแคนาดาเปิดเผยทฤษฎีใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าปรากฏการณ์ที่ผู้หญิงย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเมื่ออายุมากขึ้นเป็นไปตามหลักการคัดสรรทางธรรมชาตินั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ชายพึงพอใจที่จะเลือกคู่ที่มีอายุน้อย
          ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดยศาสตราจารย์รามา สิงห์ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ทำการจำลองแบบวิวัฒนาการด้วยคอมพิวเตอร์ก่อนจะสามารถสรุปได้ว่าคำตอบของวิวัฒนาการที่ทำให้เกิดภาวะวัยทองขึ้น มีสาเหตุมาจากการเลือกคู่ของเพศชายในประวัติศาสตร์นิยมที่จะเลือกคู่อายุน้อย ส่งผลให้ความเจริญพันธุ์ในผู้หญิงที่มีอายุมากไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
          ศาสตราจารย์สิงห์ เจ้าของทฤษฎีใหม่ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารพับบลิก ไลบรารี ออฟ ไซนส์ คอมพิวเทชันนัล ไบโอโลยี ระบุว่า "ภาวะหมดประจำเดือนนั้นอาจรู้สึกเหมือนกับเกี่ยวข้องกับอายุขัย แต่จริงๆ แล้วมันแตกต่างออกไปเพราะมันเป็นกระบวนการที่ถูกเร่งด้วยการเลือกคู่"
          ทฤษฎีใหม่เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับวัยทองในแบบเดิมที่ว่าวัยทองเกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้หญิงที่มีอายุมากสามารถสืบพันธุ์ได้ แต่ในทางตรงกันข้ามทฤษฎีของศาสตราจารย์สิงห์ ระบุว่าภาวะวัยทองนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการสืบพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และในทางกลับกันหากในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาผู้หญิงมีการสืบพันธุ์อย่างต่อเนื่องและไม่มีเงื่อนไขในการเลือกคู่ของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิงที่อายุมากแล้ว ผู้หญิงจะสามารถสืบพันธุ์ได้ตลอดช่วงอายุขัยเช่นเดียวกับผู้ชาย และหากผู้หญิงเป็นฝ่ายเลือกคู่ที่เป็นชายอายุน้อยแล้ว สถานการณ์ก็จะกลับกลายเป็นฝ่ายชายจะวิวัฒนาการให้ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไปแทน
          นอกจากนี้ศาสตราจารย์สิงห์ ยังให้เหตุผลเพิ่มเติมว่าการคัดสรรทางธรรมชาติไม่ได้สร้างภาวะวัยทองขึ้น เนื่องจากภาวะวัยทองไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์กับสายพันธุ์ของมนุษย์ แต่ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์จะไม่มีประโยชน์บางช่วงอายุ โดยหลักการคัดสรรทางธรรมชาติได้ปกป้องภาวะสืบพันธุ์ไว้กับผู้หญิงในช่วงเวลาที่จะสามารถสืบพันธุ์ได้เหมาะสมที่สุด ซึ่งสามารถนำมาอธิบายได้เช่นเดียวกันว่าทำไมเด็กผู้หญิงจึงไม่มีภาวะเจริญพันธุ์
          อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์แม็กซ์เวลล์ เบอร์ตัน-เชลลูว์ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ปฏิเสธสมมติฐานของศาสตราจารย์สิงห์ โดยยกตัวอย่างผึ้งงานตัวเมียซึ่งเป็นหมันทั้งหมด เพื่อแสดงให้เห็นว่าการคัดสรรทางธรรมชาติก็เลือกภาวะที่ไม่เจริญพันธุ์เช่นกัน และว่าเหตุผลที่เพศชายเลือกคู่เพศหญิงที่มีอายุน้อยเนื่องจากผู้หญิงอายุมากมีความเจริญพันธุ์น้อยกว่า ซึ่งในจุดนี้ศาสตราจารย์สิงห์ไม่ได้กล่าวถึง
          ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่ผู้หญิงจะก้าวเข้าสู่ภาวะวัยทองเฉลี่ยอยู่ที่อายุ 51 ปี แต่สำหรับผู้หญิงบางคนอาจมาเร็วกว่านั้นได้ในช่วงอายุหลังจากย่างเข้าสู่วัย 40 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ มนุษย์เป็นสัตว์ 1 ใน 3 ชนิดนอกจากวาฬนำร่องและวาฬเพชฌฆาต ที่เกิดภาวะไม่เจริญพันธุ์หรือภาวะวัยทองในช่วงอายุขัย

 pageview  1205516    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved