Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 24/10/2555 ]
ศาสตร์การบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรม ตอนที่ 52

อ.วิริทธิ์พล ศรีหามาตย์ (ต้น) ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์แผนไทยชมพูจันทน์ 847 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร 02-321-2172, 08-5963-7118, 08-3067-3245
          ถามมา-ตอบไป เกี่ยวกับ "อาการปวดศีรษะ ตื้อ มัน งง, อาการปวดตึงคอ หมุนหรือเอียงษีรษะไม่ได้ (อาการคอตกหมอน)" (ตอนที่ 2)
          จากที่ผมได้เกริ่นไปแล้วว่าทั้งสองอาการนี้จะมีลักษณะอาการและวิธีการบำบัดอาการใกล้เคียงกัน มักพบในผู้ป่วยที่เป็น "ออฟฟิศซินโดรม" (Office Syndrome) และมีผู้ป่วยจำนวนมากที่เข้ามารับการบำบัดรักษา ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ทางการแทพย์แผนไทย หรือแพทย์ทางเลือกก็ตาม จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ป่วยหลายๆ คน ส่วนใหญ่มักตอบว่าการบำบัดรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมของตนนั้นขึ้นอยู่กับความชอบหรือความเชื่อส่วนบุคคลที่ต้องการจะเข้ารับการบำบัดรักษาด้วยศาสตร์หรือวิธีการรักษาที่ตงจุดหรือตงใจของผู้ป่วยตามทัศนะของผู้ป่วยเอง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเวลาที่ใช้ในการบำบัดรักษาแต่ละครั้งว่านานแค่ไหน ค่าใช้จ่ายในการรักษา และวิธีการบำบัดรักษาว่ามีวิธีการอย่างไร จะเห็นผลมากน้อยเพียงใด มีผลข้างเคียงต่อร่างกายหรือไม่ เพราะบางรายไม่ชอบรับประทานยาเนื่องจากกลัวมีผลต่อร่างกายและอวัยวะภายใน บางรายบอกว่าชอบรับประทานยาเพราะว่าเห็นผลเร็วดีและง่ายต่อการรักษา และบางรายก็บอกว่าอย่างไหนก็ได้ที่ทำให้ไม่ต้องเจ็บปวดหรือทรมานกับอาการที่เป็นอยู่
          สำหรับผมคิดว่าไม่ว่าจะศาสตร์แขนงใดหรือวิชาการบำบัดรักษาด้วยวิธีการใดก็ตาม ล้วนมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการบำบัดมีอาการและสุขภาพที่ดีขึ้น และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลักอยู่แล้ว แต่ผู้ป่วยควรใช้วิจารณญาณในการบำบัดรักษาอาการป่วยของตนเองด้วยหลักการและเหตุผล ไม่เชื่อและงมงายในคำโฆษณา เพราะหากตัดสินใจผิดพลาด นั่นหมายถึงสุขภาพร่างกายและชีวิตทั้งชีวิตเลยทีเดียวครับ ซึ่งไม่สามารถจะเอาคืนกลับมาได้
          ที่สำคัฐผู้ป่วยควรได้รับการบำบัดรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการบำบัดรักษาเฉพาะโรคเฉพาะทาง ก็จะยิ่งทำให้ได้รับความปลอดภัยและได้ผลอย่างดีและรวดเร็วมากขึ้น
          จากการเก็บสถิติและทำการวิจัยพฤติกรรมผู้ป่วยที่มี "อาการปวดศีระษะ ตื้อ มัน งง, ปวดตึงคอ บ่า ไหล่ หมุนหรือเอียงศีรษะไม่ได้ (อาการคอตกหมอน) มีอาการปวดร้าวลงแขน ชาปลายนิ้วมือ" ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอยู่ในพฤติกรรมซ้ำๆ เดิมๆ นานๆ ตลอดเวลา บางรายอาจเป็นแค่อาการใดอาการหนึ่งเท่านั้น แต่บางรายอาจเป็นได้ทั้งสิงอาการเลยก็มี มักพบผู้ป่วยที่มีอาการในลักษณะนี้เป็นจำนวนมากกว่า 90% ส่วนใหญ่ทำงานประจำออฟฟิศ และอาชีพอื่นๆ เช่น ครู ตำรวจ ทหาร ทนายความ พนักงานขับรถ หมอ พยาบาล แม่บ้าน ฯลฯ

 pageview  1205867    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved