Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 06/12/2562 ]
9ธ.ค.ดีเดย์ บุหรี่ซองเรียบ สกัด สายควัน

 

          9 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป "บุหรี่ซิกาแร็ต" ที่วางจำหน่ายในประเทศไทยได้ จะต้องเป็นซองบุหรี่ซิกาแร็ต รูปแบบใหม่หรือที่เรียกกันว่า "บุหรี่ซองเรียบ" (Plain Packaging) เท่านั้น สำหรับซองบุหรี่เรียบ คือซองบุหรี่ที่มีการจัดทำให้มีลักษณะเป็นมาตรฐานแบบเดียวกันทั้งหมด โดยบริษัทบุหรี่ถูกกำหนดให้กระทำตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สีของซองบุหรี่ ขนาดตัวอักษรของยี่ห้อบุหรี่ รูปภาพ หรือข้อความคำเตือนถึงอันตรายของบุหรี่ และข้อห้ามมิให้กระทำเนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาต เช่น การแสดงเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตรา โลโก้ หรือสีสัน ลูกเล่นต่างๆ บนซองบุหรี่ จะถูกห้าม มิให้ปรากฏอยู่บนซองบุหรี่ที่จำหน่ายใน ท้องตลาดอีกต่อไป
          มาตรการนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งต่อมาได้มีการยกร่างประกาศและระเบียบรองรับ รวม 2 ฉบับ
          ได้แก่  1.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแร็ต พ.ศ.2561
          และ 2.ระเบียบคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การเปรียบเทียบตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบ พ.ศ.2560
          สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวคือ การเปลี่ยนชุดภาพคำเตือนพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบบนซองบุหรี่ซิกาแร็ตชุดใหม่ เนื่องจากชุดภาพปัจจุบันใช้มานานกว่า 5 ปี ทำให้ประชาชนเกิดความคุ้นชินต่อภาพ
          และไม่เกิดความตระหนักถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่ รวมทั้งกำหนดให้ซองบุหรี่ มีรูปแบบเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ห้ามการใช้สีสัน ลวดลาย เครื่องหมายการค้า หรือลูกเล่นที่สวยงามบนซองบุหรี่ เพื่อช่วยลดแรงจูงใจในการสูบบุหรี่ของสิงห์อมควันทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่
          โดยหากพบการขายบุหรี่ซองรูปแบบเก่า ร้านค้าจะมีความผิดฐานขายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มิได้จัดให้มีหีบห่อตามที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ตามมาตรา 38 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
          นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค สธ.ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ (คผยช.) กล่าวว่า กลไกนี้จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          เนื่องจากระเบียบคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 จะทำให้การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิด ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายและความผิดนั้นกำหนดไว้เฉพาะโทษปรับ สามารถดำเนินการบังคับใช้ได้รวดเร็วขึ้น
          เพราะนอกจากตำรวจเปรียบเทียบปรับได้แล้ว ระเบียบฉบับนี้ได้มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตำแหน่งอื่นสามารถเปรียบเทียบปรับได้โดยไม่ต้องส่งฟ้องศาล
          ถามว่า บุหรี่ซองเรียบจะสกัดนักสูบได้จริงหรือ?
          ก่อนหน้านี้ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวย การศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้แสดงความคิดเห็นสนับสนุนมาตรการซองบุหรี่เรียบ ของประเทศไทย ที่ เริ่มบังคับใช้กฎหมายนี้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562
          แต่มีการผ่อนปรนเพื่อให้บริษัทผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ร้านค้า ได้มีเวลาเตรียมตัวถึง วันที่ 8 ธันวาคมนี้ ว่ามาตรการนี้ทำให้ประเทศ ไทยเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย และเป็นประเทศที่ 11 ของโลก ที่ใช้กฎหมายบุหรี่ซองเรียบ
          โดยออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้กฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบตั้งแต่ปี 2555 และประเทศล่าสุดที่ประกาศใช้เป็นประเทศที่ 10 คือ มอร์ริเชียส ในทวีปแอฟริกา
          ศ.นพ.รณชัยกล่าวว่า ซองบุหรี่เรียบเป็นมาตรการสำคัญตามข้อกำหนดและแนวปฏิบัติข้อ 11 ว่าด้วยการควบคุมหีบห่อสินค้ายาสูบ และข้อ 13 การห้ามโฆษณาสินค้ายาสูบ ของ "กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบขององค์การอนามัยโลก" (WHO-FCTC) ที่ได้แนะนำให้ประเทศสมาชิก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยถือปฏิบัติ เนื่องจากซองบุหรี่เรียบช่วยลดความดึงดูดของซองบุหรี่ ป้องกันไม่ให้ใช้ซองบุหรี่โฆษณา ใช้สีสัน หรือข้อความบนซองบุหรี่สื่อสารข้อมูลผิดๆ เช่น ปลอดภัย หรือมีอันตรายน้อย และทำให้ภาพคำเตือนสุขภาพสื่ออันตรายจากบุหรี่ได้ชัดเจนขึ้น
          ทั้งนี้ ศ.นพ.รณชัยได้ยืนยันข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยเปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยต่อซองบุหรี่แบบเรียบ ที่ ศจย.ได้สำรวจในกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อายุ 15-24 ปี จำนวน 1,239 คน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเป็นกลุ่มที่ตอบสนองต่อภาพคำเตือนสุขภาพบนซองบุหรี่แบบเรียบมากที่สุด
          โดยพบว่ามีความมั่นใจไม่สูบบุหรี่เพิ่ม 13 เท่า ส่วนกลุ่มวัยรุ่นที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน พบว่ามีความมั่นใจที่จะไม่กลับไปสูบบุหรี่เพิ่มเกือบ 4 เท่า และซองบุหรี่แบบเรียบส่งผลให้วัยรุ่นประมาณ 2 ใน 3 ไม่อยากซื้อบุหรี่มากกว่าซองแบบเดิม และวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งเห็นอันตรายจากบุหรี่มากกว่าซองแบบเดิม
          จากผลการศึกษานี้ จึงทำให้มั่นใจว่ามาตรการซองบุหรี่เรียบจะเป็นอีกมาตรการที่ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพราะจะเสริมมาตรการอื่นๆ ในการป้องกัน "นักสูบหน้าใหม่" ของประเทศไทย เช่น ห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาด และห้ามขายบุหรี่แบ่งขายแยกมวน
          จากนี้ไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ จะต้องทำงานอย่างหนัก โดยเจ้าหน้าที่ต้องลงพื้นที่บังคับใช้กฎหมายและดำเนินคดีทันทีกับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายรายใดก็ตามที่ฝ่าฝืน กฎหมาย เนื่องจากเรื่องนี้ได้ประกาศให้ ผู้ประกอบการรับทราบล่วงหน้าแล้วถึง 1 ปี
          9 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป "บุหรี่ซิกาแร็ต" ที่วางจำหน่ายในประเทศไทยได้ จะต้องเป็นซองบุหรี่ซิกาแร็ต รูปแบบใหม่หรือที่เรียกกันว่า "บุหรี่ซองเรียบ" (Plain Packaging) เท่านั้น สำหรับซองบุหรี่เรียบ คือซองบุหรี่ที่มีการจัดทำให้มีลักษณะเป็นมาตรฐานแบบเดียวกันทั้งหมด โดยบริษัทบุหรี่ถูกกำหนดให้กระทำตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สีของซองบุหรี่ ขนาดตัวอักษรของยี่ห้อบุหรี่ รูปภาพ หรือข้อความคำเตือนถึงอันตรายของบุหรี่ และข้อห้ามมิให้กระทำเนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาต เช่น การแสดงเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตรา โลโก้ หรือสีสัน ลูกเล่นต่างๆ บนซองบุหรี่ จะถูกห้าม มิให้ปรากฏอยู่บนซองบุหรี่ที่จำหน่ายใน ท้องตลาดอีกต่อไป
          มาตรการนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งต่อมาได้มีการยกร่างประกาศและระเบียบรองรับ รวม 2 ฉบับ
          ได้แก่  1.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแร็ต พ.ศ.2561
          และ 2.ระเบียบคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การเปรียบเทียบตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบ พ.ศ.2560
          สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวคือ การเปลี่ยนชุดภาพคำเตือนพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบบนซองบุหรี่ซิกาแร็ตชุดใหม่ เนื่องจากชุดภาพปัจจุบันใช้มานานกว่า 5 ปี ทำให้ประชาชนเกิดความคุ้นชินต่อภาพ
          และไม่เกิดความตระหนักถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่ รวมทั้งกำหนดให้ซองบุหรี่ มีรูปแบบเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ห้ามการใช้สีสัน ลวดลาย เครื่องหมายการค้า หรือลูกเล่นที่สวยงามบนซองบุหรี่ เพื่อช่วยลดแรงจูงใจในการสูบบุหรี่ของสิงห์อมควันทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่
          โดยหากพบการขายบุหรี่ซองรูปแบบเก่า ร้านค้าจะมีความผิดฐานขายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มิได้จัดให้มีหีบห่อตามที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ตามมาตรา 38 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
          นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค สธ.ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ (คผยช.) กล่าวว่า กลไกนี้จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          เนื่องจากระเบียบคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 จะทำให้การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิด ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายและความผิดนั้นกำหนดไว้เฉพาะโทษปรับ สามารถดำเนินการบังคับใช้ได้รวดเร็วขึ้น
          เพราะนอกจากตำรวจเปรียบเทียบปรับได้แล้ว ระเบียบฉบับนี้ได้มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตำแหน่งอื่นสามารถเปรียบเทียบปรับได้โดยไม่ต้องส่งฟ้องศาล
          ถามว่า บุหรี่ซองเรียบจะสกัดนักสูบได้จริงหรือ?
          ก่อนหน้านี้ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวย การศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้แสดงความคิดเห็นสนับสนุนมาตรการซองบุหรี่เรียบ ของประเทศไทย ที่ เริ่มบังคับใช้กฎหมายนี้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562
          แต่มีการผ่อนปรนเพื่อให้บริษัทผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ร้านค้า ได้มีเวลาเตรียมตัวถึง วันที่ 8 ธันวาคมนี้ ว่ามาตรการนี้ทำให้ประเทศ ไทยเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย และเป็นประเทศที่ 11 ของโลก ที่ใช้กฎหมายบุหรี่ซองเรียบ
          โดยออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้กฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบตั้งแต่ปี 2555 และประเทศล่าสุดที่ประกาศใช้เป็นประเทศที่ 10 คือ มอร์ริเชียส ในทวีปแอฟริกา
          ศ.นพ.รณชัยกล่าวว่า ซองบุหรี่เรียบเป็นมาตรการสำคัญตามข้อกำหนดและแนวปฏิบัติข้อ 11 ว่าด้วยการควบคุมหีบห่อสินค้ายาสูบ และข้อ 13 การห้ามโฆษณาสินค้ายาสูบ ของ "กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบขององค์การอนามัยโลก" (WHO-FCTC) ที่ได้แนะนำให้ประเทศสมาชิก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยถือปฏิบัติ เนื่องจากซองบุหรี่เรียบช่วยลดความดึงดูดของซองบุหรี่ ป้องกันไม่ให้ใช้ซองบุหรี่โฆษณา ใช้สีสัน หรือข้อความบนซองบุหรี่สื่อสารข้อมูลผิดๆ เช่น ปลอดภัย หรือมีอันตรายน้อย และทำให้ภาพคำเตือนสุขภาพสื่ออันตรายจากบุหรี่ได้ชัดเจนขึ้น
          ทั้งนี้ ศ.นพ.รณชัยได้ยืนยันข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยเปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยต่อซองบุหรี่แบบเรียบ ที่ ศจย.ได้สำรวจในกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อายุ 15-24 ปี จำนวน 1,239 คน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเป็นกลุ่มที่ตอบสนองต่อภาพคำเตือนสุขภาพบนซองบุหรี่แบบเรียบมากที่สุด
          โดยพบว่ามีความมั่นใจไม่สูบบุหรี่เพิ่ม 13 เท่า ส่วนกลุ่มวัยรุ่นที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน พบว่ามีความมั่นใจที่จะไม่กลับไปสูบบุหรี่เพิ่มเกือบ 4 เท่า และซองบุหรี่แบบเรียบส่งผลให้วัยรุ่นประมาณ 2 ใน 3 ไม่อยากซื้อบุหรี่มากกว่าซองแบบเดิม และวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งเห็นอันตรายจากบุหรี่มากกว่าซองแบบเดิม
          จากผลการศึกษานี้ จึงทำให้มั่นใจว่ามาตรการซองบุหรี่เรียบจะเป็นอีกมาตรการที่ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพราะจะเสริมมาตรการอื่นๆ ในการป้องกัน "นักสูบหน้าใหม่" ของประเทศไทย เช่น ห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาด และห้ามขายบุหรี่แบ่งขายแยกมวน
          จากนี้ไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ จะต้องทำงานอย่างหนัก โดยเจ้าหน้าที่ต้องลงพื้นที่บังคับใช้กฎหมายและดำเนินคดีทันทีกับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายรายใดก็ตามที่ฝ่าฝืน กฎหมาย เนื่องจากเรื่องนี้ได้ประกาศให้ ผู้ประกอบการรับทราบล่วงหน้าแล้วถึง 1 ปี

 

 pageview  1205025    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved