Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 19/08/2562 ]
อย่าใช้ก้านสาลีเช็ดหู

 

          อันตรายติดเชื้อถึงกะโหลก
          นิตยสาร "แดทส์ ไลฟ์!" ของออสเตรเลียเปิดเผยถึงกรณีของ "จัสมิน" หญิงสาววัย 37 ปีที่ใช้ก้านสำลี หรือคอตตอนบัด ทำ ความสะอาดหูทุกคืนจนติดเป็นนิสัย ต่อมาเกิดปัญหาการได้ยินจากหูข้างซ้าย จนต้องไปพบแพทย์ ซึ่งบอกเพียงว่าหูของจัสมินมีอาการติดเชื้อและจ่ายยาปฏิชีวนะมาใช้รักษาอาการ แต่อาการดังกล่าวไม่ดีขึ้นแถมยังสังเกตพบรอยเลือดติดมากับก้านสำลีด้วยอีกต่างหาก จึงเดินทางไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก ซึ่งส่งตัวจัสมินไปทำซีทีสแกนในทันที
          ผลของการทำซีทีสแกน พบว่าช่องหูด้านในของจัสมิน ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกำลังเกาะกินกระดูกกะโหลกศีรษะบริเวณหลังหูของเธอไปเรื่อยๆ
          ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก บอกกับ จัสมินว่า ควรมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ เมื่อ 4-5 ปีมาแล้ว เพราะต้องรับการผ่าตัดทันทีเมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากอาการติดเชื้อนี้อาจกลายเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้
          เหยื่อเคราะห์ร้ายรายนี้ต้องเข้ารับการผ่าตัดนานถึง 5 ชั่วโมง เพื่อให้ศัลยแพทย์จัดการนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกจนหมด และพยายามประกอบช่องหูของเธอขึ้นมาใหม่ ทีมแพทย์ที่ทำศัลยกรรมบอกว่า พบเศษเส้นใยฝ้ายจำนวนมากสะสมอยู่ในหูของจัสมินแล้ว กลายเป็นที่บ่มเพาะเชื้อแบคทีเรียเป็นอย่างดี
          "เศษคอตตอนไปสะสมอยู่นานอย่างน้อย 5 ปี กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ทำให้กระดูกกะโหลกหลังใบหูตอนนี้บางเหลือเท่าแผ่นกระดาษแล้ว" จัสมินบอกผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโสตศอนาสิก วิทยา-ศัลยกรรมศีรษะและลำคออเมริกัน (เอเอโอ-เอชเอ็นเอสเอฟ) เตือนว่า โดยทั่วไปแล้วทุกคนไม่ควรนำอะไรเข้าสู่ช่องหูโดยเด็ดขาดหากไม่จำเป็น รวมทั้งก้านสำลีเช็ดทำความสะอาดด้วย เนื่องจากการใช้ก้านสำลีนั้นจริงๆ แล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ไม่สามารถขจัดขี้หูได้ แต่จะดันขี้หูกลับเข้าไปด้านในมากขึ้น นอกจากนั้น ยังอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง หรือเกิดบาดแผล อย่างเช่น แก้วหูทะลุ หรือ เกิดการติดเชื้อขึ้นได้
          เมื่อเดือนมีนาคมต้นปีนี้ แพทย์ในประเทศอังกฤษก็รายงานกรณีของผู้ป่วยชายรายหนึ่งซึ่งเกิดอาการติดเชื้อในกะโหลกศีรษะหลังจากที่ก้านสำลีเกิดหลุดติดอยู่ในช่องหูเป็นเวลานานเช่นเดียวกัน
          ในกรณีของจัสมิน แม้ผ่านการผ่าตัดแล้ว อาการติดเชื้อหายขาดไป แต่หูข้างซ้ายของเธอก็สูญเสียการได้ยินโดยถาวร เธอพยายามเตือนทุกๆ คนในทุกโอกาสว่าอย่าใช้คอตตอนบัด แบบผิดๆ อย่างที่เคยใช้จนติดเป็นนิสัย
          "หูของเราละเอียดอ่อนมาก และเป็นส่วนที่เปราะบางมากที่สุดส่วนหนึ่งในร่างกายของเรา จำเป็นต้องดูแลใส่ใจอย่างดี" จัสมินย่ำ
          อันตรายติดเชื้อถึงกะโหลก
          นิตยสาร "แดทส์ ไลฟ์!" ของออสเตรเลียเปิดเผยถึงกรณีของ "จัสมิน" หญิงสาววัย 37 ปีที่ใช้ก้านสำลี หรือคอตตอนบัด ทำ ความสะอาดหูทุกคืนจนติดเป็นนิสัย ต่อมาเกิดปัญหาการได้ยินจากหูข้างซ้าย จนต้องไปพบแพทย์ ซึ่งบอกเพียงว่าหูของจัสมินมีอาการติดเชื้อและจ่ายยาปฏิชีวนะมาใช้รักษาอาการ แต่อาการดังกล่าวไม่ดีขึ้นแถมยังสังเกตพบรอยเลือดติดมากับก้านสำลีด้วยอีกต่างหาก จึงเดินทางไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก ซึ่งส่งตัวจัสมินไปทำซีทีสแกนในทันที
          ผลของการทำซีทีสแกน พบว่าช่องหูด้านในของจัสมิน ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกำลังเกาะกินกระดูกกะโหลกศีรษะบริเวณหลังหูของเธอไปเรื่อยๆ
          ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก บอกกับ จัสมินว่า ควรมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ เมื่อ 4-5 ปีมาแล้ว เพราะต้องรับการผ่าตัดทันทีเมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากอาการติดเชื้อนี้อาจกลายเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้
          เหยื่อเคราะห์ร้ายรายนี้ต้องเข้ารับการผ่าตัดนานถึง 5 ชั่วโมง เพื่อให้ศัลยแพทย์จัดการนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกจนหมด และพยายามประกอบช่องหูของเธอขึ้นมาใหม่ ทีมแพทย์ที่ทำศัลยกรรมบอกว่า พบเศษเส้นใยฝ้ายจำนวนมากสะสมอยู่ในหูของจัสมินแล้ว กลายเป็นที่บ่มเพาะเชื้อแบคทีเรียเป็นอย่างดี
          "เศษคอตตอนไปสะสมอยู่นานอย่างน้อย 5 ปี กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ทำให้กระดูกกะโหลกหลังใบหูตอนนี้บางเหลือเท่าแผ่นกระดาษแล้ว" จัสมินบอกผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโสตศอนาสิก วิทยา-ศัลยกรรมศีรษะและลำคออเมริกัน (เอเอโอ-เอชเอ็นเอสเอฟ) เตือนว่า โดยทั่วไปแล้วทุกคนไม่ควรนำอะไรเข้าสู่ช่องหูโดยเด็ดขาดหากไม่จำเป็น รวมทั้งก้านสำลีเช็ดทำความสะอาดด้วย เนื่องจากการใช้ก้านสำลีนั้นจริงๆ แล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ไม่สามารถขจัดขี้หูได้ แต่จะดันขี้หูกลับเข้าไปด้านในมากขึ้น นอกจากนั้น ยังอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง หรือเกิดบาดแผล อย่างเช่น แก้วหูทะลุ หรือ เกิดการติดเชื้อขึ้นได้
          เมื่อเดือนมีนาคมต้นปีนี้ แพทย์ในประเทศอังกฤษก็รายงานกรณีของผู้ป่วยชายรายหนึ่งซึ่งเกิดอาการติดเชื้อในกะโหลกศีรษะหลังจากที่ก้านสำลีเกิดหลุดติดอยู่ในช่องหูเป็นเวลานานเช่นเดียวกัน
          ในกรณีของจัสมิน แม้ผ่านการผ่าตัดแล้ว อาการติดเชื้อหายขาดไป แต่หูข้างซ้ายของเธอก็สูญเสียการได้ยินโดยถาวร เธอพยายามเตือนทุกๆ คนในทุกโอกาสว่าอย่าใช้คอตตอนบัด แบบผิดๆ อย่างที่เคยใช้จนติดเป็นนิสัย
          "หูของเราละเอียดอ่อนมาก และเป็นส่วนที่เปราะบางมากที่สุดส่วนหนึ่งในร่างกายของเรา จำเป็นต้องดูแลใส่ใจอย่างดี" จัสมินย่ำ

 

 pageview  1205100    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved