Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 18/07/2562 ]
ลายม์ ไมใช่โรคประจำถิ่น

 

          สธ.วอนอย่ากังวลเกินเหตุ
          อธิบดีกรมควบคุมโรคชี้'โรคลายม์'พบยากในประเทศไทย ไม่ติดต่อจาก คนสู่คน หากติดเชื้อมียารักษา แนะสังคมรู้เท่าทันเพื่อป้องกันตัวเอง
          กรณีหญิงชาวไทยรายหนึ่งเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศตุรกี หลังจากนั้นกลับมาป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการหนัก และแพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อ "โรคลายม์" (Lyme disease) ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นของหลายประเทศ แต่ไม่เคยพบในประเทศไทย โดยได้ทำการรักษาใช้เวลาอยู่โรงพยาบาล 2 เดือน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ความจำบางส่วนหายไปนั้น
          เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงโรคลายม์ว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่าโบเรลเลีย (Borellia) ติดต่อสู่คนจากการถูกเห็บที่มีเชื้อนี้กัด สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการรายงานผู้ป่วยจากโรคนี้ มีแค่การทบทวนว่ามีการศึกษาหนึ่งที่มีเพียงสัตว์ตัวเดียวที่ตรวจเจอ ดังนั้นความเสี่ยงที่ว่าเห็บในไทยจะมีเชื้อตัวนี้ค่อนข้างต่ำมาก จึงไม่ต้องเป็นกังวลกับโรคนี้มากนัก ทั้งนี้ โรคดังกล่าวไม่ติดต่อจากคนสู่คน ส่วนอาการหลังรับเชื้อจะมีระยะเวลาฟักตัว 2-4 สัปดาห์ บางคนอาจสั้นกว่า ซึ่งการถูกเห็บกัดจะคล้ายกับการถูกแมลงกัดทั่วไป คือ จะมีรอยบวมแดงบริเวณที่ถูกกัด บางคนมีรอยเป็นผื่นวงกลม และเนื่องจากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีอาการไข้ ปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เป็นต้น
          "บางส่วนหลังจากผ่านในช่วงแรกไป มักจะไม่ค่อยมีอาการอื่น แต่จะมีจำนวนหนึ่งที่เชื้อลุกลามหรือแพร่ไปสู่อวัยวะอื่น ทำให้หลายสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา จะมีอาการของอวัยวะอื่นๆ ตามมา เช่น ปวดข้อ มักจะเป็นมากกว่า 1 ข้อ หรือหากเชื้อไปที่หัวใจ ก็จะมีอาการเต้นผิดปกติ บางรายไปสู่สมอง ทำให้สมองอักเสบ บางครั้งถ้ารับการรักษาไปแล้ว อาจจะมีผลตกค้างอันเนื่องจากสมองติดเชื้อทำให้มีความผิดปกติที่อาจจะถาวรหรือกึ่งถาวร ถ้าไปอยู่ตรงตำแหน่งความจำ ก็อาจทำให้ความจำหายไป หรือบางรายที่ไปเกี่ยวกับเรื่องจุดที่ควบคุมทำหน้าที่ต่างๆ ก็จะมีอาการไปตามนั้น" นพ.สุวรรณชัยกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม โรคนี้มียารักษาให้หายได้ คือ ยาปฏิชีวนะ เช่น ดอกซี ไซคลีน อะม็อกซีซีลลิน หรือกลุ่มเซฟาโลสปอริน เป็นต้น
          นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า การวินิจฉัยหาโรคนี้ทำได้โดยดูประวัติว่าเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการรายงานโรคหรือมีเชื้อนี้เป็นโรคประจำถิ่น และมาด้วยเรื่องอาการไข้ เมื่อทำการตรวจร่างกาย หากสงสัยโรคนี้ก็ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถตรวจระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ และนำมาประกอบการยืนยันวินิจฉัยได้ สำหรับการป้องกัน คือ ควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงสัมผัสเห็บ สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดในการไปจุดที่มีโอกาสหรือมีความเสี่ยง และการไปท่องเที่ยวในแต่ละวันควรตรวจดูว่ามีรอยนูนแดงที่เกิดจากถูกสัตว์ แมลง หรือเห็บกัดหรือไม่ หากมีก็อาจขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือพบแพทย์เพื่อตรวจ
          นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า หากถูกเห็บกัด 1.ทำ ความสะอาดบาดแผล ใส่ยา และขอคำแนะนำจากแพทย์ 2.เห็บอาจไม่ได้ก่อโรคโดยตรง แต่การถูกกัดบางคนจะไปเกาจนมีการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มเติม กลายเป็นผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ กลายเป็นแผลหนองหรือติดเชื้อในกระแสโลหิตตามมา บางคนภูมิต้านทานไม่ดี เมื่อเป็นแผลก็มีการลุกลาม ดังนั้น การถูกสัตว์กัดให้ดูแลแผลถือเสมือนมีโอกาสติดเชื้อได้เสมอ และอย่ากังวลมากจนเกินไป เพราะการเกิดโรคติดเชื้อจากต่างประเทศ มีหลายโรค ทั้งนี้ คนไทยที่จำเป็นต้องไปต่างประเทศ ต้องรู้ว่าประเทศนั้นมีคำแนะนำอย่างไร มีโรคประจำถิ่นอะไร เพื่อรู้เท่าทันและป้องกันตนเองได้ถูกต้อง
          สธ.วอนอย่ากังวลเกินเหตุ
          อธิบดีกรมควบคุมโรคชี้'โรคลายม์'พบยากในประเทศไทย ไม่ติดต่อจาก คนสู่คน หากติดเชื้อมียารักษา แนะสังคมรู้เท่าทันเพื่อป้องกันตัวเอง
          กรณีหญิงชาวไทยรายหนึ่งเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศตุรกี หลังจากนั้นกลับมาป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการหนัก และแพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อ "โรคลายม์" (Lyme disease) ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นของหลายประเทศ แต่ไม่เคยพบในประเทศไทย โดยได้ทำการรักษาใช้เวลาอยู่โรงพยาบาล 2 เดือน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ความจำบางส่วนหายไปนั้น
          เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงโรคลายม์ว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่าโบเรลเลีย (Borellia) ติดต่อสู่คนจากการถูกเห็บที่มีเชื้อนี้กัด สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการรายงานผู้ป่วยจากโรคนี้ มีแค่การทบทวนว่ามีการศึกษาหนึ่งที่มีเพียงสัตว์ตัวเดียวที่ตรวจเจอ ดังนั้นความเสี่ยงที่ว่าเห็บในไทยจะมีเชื้อตัวนี้ค่อนข้างต่ำมาก จึงไม่ต้องเป็นกังวลกับโรคนี้มากนัก ทั้งนี้ โรคดังกล่าวไม่ติดต่อจากคนสู่คน ส่วนอาการหลังรับเชื้อจะมีระยะเวลาฟักตัว 2-4 สัปดาห์ บางคนอาจสั้นกว่า ซึ่งการถูกเห็บกัดจะคล้ายกับการถูกแมลงกัดทั่วไป คือ จะมีรอยบวมแดงบริเวณที่ถูกกัด บางคนมีรอยเป็นผื่นวงกลม และเนื่องจากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีอาการไข้ ปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เป็นต้น
          "บางส่วนหลังจากผ่านในช่วงแรกไป มักจะไม่ค่อยมีอาการอื่น แต่จะมีจำนวนหนึ่งที่เชื้อลุกลามหรือแพร่ไปสู่อวัยวะอื่น ทำให้หลายสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา จะมีอาการของอวัยวะอื่นๆ ตามมา เช่น ปวดข้อ มักจะเป็นมากกว่า 1 ข้อ หรือหากเชื้อไปที่หัวใจ ก็จะมีอาการเต้นผิดปกติ บางรายไปสู่สมอง ทำให้สมองอักเสบ บางครั้งถ้ารับการรักษาไปแล้ว อาจจะมีผลตกค้างอันเนื่องจากสมองติดเชื้อทำให้มีความผิดปกติที่อาจจะถาวรหรือกึ่งถาวร ถ้าไปอยู่ตรงตำแหน่งความจำ ก็อาจทำให้ความจำหายไป หรือบางรายที่ไปเกี่ยวกับเรื่องจุดที่ควบคุมทำหน้าที่ต่างๆ ก็จะมีอาการไปตามนั้น" นพ.สุวรรณชัยกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม โรคนี้มียารักษาให้หายได้ คือ ยาปฏิชีวนะ เช่น ดอกซี ไซคลีน อะม็อกซีซีลลิน หรือกลุ่มเซฟาโลสปอริน เป็นต้น
          นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า การวินิจฉัยหาโรคนี้ทำได้โดยดูประวัติว่าเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการรายงานโรคหรือมีเชื้อนี้เป็นโรคประจำถิ่น และมาด้วยเรื่องอาการไข้ เมื่อทำการตรวจร่างกาย หากสงสัยโรคนี้ก็ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถตรวจระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ และนำมาประกอบการยืนยันวินิจฉัยได้ สำหรับการป้องกัน คือ ควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงสัมผัสเห็บ สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดในการไปจุดที่มีโอกาสหรือมีความเสี่ยง และการไปท่องเที่ยวในแต่ละวันควรตรวจดูว่ามีรอยนูนแดงที่เกิดจากถูกสัตว์ แมลง หรือเห็บกัดหรือไม่ หากมีก็อาจขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือพบแพทย์เพื่อตรวจ
          นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า หากถูกเห็บกัด 1.ทำ ความสะอาดบาดแผล ใส่ยา และขอคำแนะนำจากแพทย์ 2.เห็บอาจไม่ได้ก่อโรคโดยตรง แต่การถูกกัดบางคนจะไปเกาจนมีการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มเติม กลายเป็นผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ กลายเป็นแผลหนองหรือติดเชื้อในกระแสโลหิตตามมา บางคนภูมิต้านทานไม่ดี เมื่อเป็นแผลก็มีการลุกลาม ดังนั้น การถูกสัตว์กัดให้ดูแลแผลถือเสมือนมีโอกาสติดเชื้อได้เสมอ และอย่ากังวลมากจนเกินไป เพราะการเกิดโรคติดเชื้อจากต่างประเทศ มีหลายโรค ทั้งนี้ คนไทยที่จำเป็นต้องไปต่างประเทศ ต้องรู้ว่าประเทศนั้นมีคำแนะนำอย่างไร มีโรคประจำถิ่นอะไร เพื่อรู้เท่าทันและป้องกันตนเองได้ถูกต้อง

 

 pageview  1205105    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved