Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 11/01/2562 ]
เตือนคนกรุงระวังโรคจากยุงลาย

 

          เมื่อวันที่ 9 มกราคม นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ช่วงนี้บางพื้นที่อาจมีฝนตก ส่งผลให้เกิดแหล่งน้ำขังตามภาชนะต่างๆ ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทั้งนี้ จากสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 80,650 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในกรุงเทพฯ 8,345 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตดินแดง บึงกุ่ม บางนา และลาดพร้าว ผู้ป่วยโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา 573 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในกรุงเทพฯ 129 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตบางกะปิและตลิ่งชัน ผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย 2,383 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในกรุงเทพฯ 104 ราย พื้นที่ที่ระบาด ได้แก่ เขตจอมทอง ประเวศ และธนบุรี
          "จึงขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน ดูแลตนเองและบุตรหลาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ให้ปลอดภัยจากโรค ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยป้องกันอย่าให้ยุงกัด ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ทาครีมหรือพ่นสเปรย์ไล่ยุง จุดยากันยุง ฉีดสเปรย์ฆ่ายุง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บ ได้แก่ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายอยู่อาศัย เก็บขยะและเศษภาชนะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และเก็บน้ำโดยปิดฝาให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่และเปลี่ยนน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ แจกันแก้วน้ำบูชาพระ แจกันเลี้ยงพลูด่าง ทุกสัปดาห์ หากมีอาการไข้มากกว่า 3 วัน หรือมีผื่นขึ้นที่ใบหน้า แขนขา ตามตัว และมีอาการปวดตามข้อมือข้อเท้าอย่างมากให้ไปพบแพทย์ทันที หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ศูนย์ไข้เลือดออก กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. โทร 0-2203-2892-3" นายทวีศักดิ์กล่าว
          เมื่อวันที่ 9 มกราคม นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ช่วงนี้บางพื้นที่อาจมีฝนตก ส่งผลให้เกิดแหล่งน้ำขังตามภาชนะต่างๆ ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทั้งนี้ จากสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 80,650 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในกรุงเทพฯ 8,345 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตดินแดง บึงกุ่ม บางนา และลาดพร้าว ผู้ป่วยโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา 573 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในกรุงเทพฯ 129 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตบางกะปิและตลิ่งชัน ผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย 2,383 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในกรุงเทพฯ 104 ราย พื้นที่ที่ระบาด ได้แก่ เขตจอมทอง ประเวศ และธนบุรี
          "จึงขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน ดูแลตนเองและบุตรหลาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ให้ปลอดภัยจากโรค ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยป้องกันอย่าให้ยุงกัด ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ทาครีมหรือพ่นสเปรย์ไล่ยุง จุดยากันยุง ฉีดสเปรย์ฆ่ายุง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บ ได้แก่ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายอยู่อาศัย เก็บขยะและเศษภาชนะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และเก็บน้ำโดยปิดฝาให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่และเปลี่ยนน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ แจกันแก้วน้ำบูชาพระ แจกันเลี้ยงพลูด่าง ทุกสัปดาห์ หากมีอาการไข้มากกว่า 3 วัน หรือมีผื่นขึ้นที่ใบหน้า แขนขา ตามตัว และมีอาการปวดตามข้อมือข้อเท้าอย่างมากให้ไปพบแพทย์ทันที หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ศูนย์ไข้เลือดออก กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. โทร 0-2203-2892-3" นายทวีศักดิ์กล่าว

 

 pageview  1204966    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved