Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 24/08/2561 ]
ชู กิจกรรม อาสาปราบยุง ควบคุมโรคไข้เลือดออก ทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่ เน้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาไข้เลือดออก ตามแนวนโยบายประชารัฐ

 

          “โรคไข้เลือดออก” เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า“เด็งกี่” ซึ่งเชื้อไวรัสเด็งกี่นี้มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ เด็งกี่ 1, เด็งกี่ 2, เด็งกี่ 3, และเด็งกี่ 4 โดยมีพาหะนำโรคคือยุงลาย ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก หลังจากมีไข้มาแล้วหลายวันผู้ป่วยอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อก มีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ วัดชีพจรไม่ได้ จนถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด
          กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเผยหลังฝนตกหลายพื้นที่จะมีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ เอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ชี้ข้อมูลปีนี้พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วกว่า 4 หมื่นราย เสียชีวิต 54 ราย พร้อมเดินหน้ารับมือสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ชู!!กิจกรรม “อาสาปราบยุง ควบคุมโรคไข้เลือดออก: ทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่” เน้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาไข้เลือดออก ตามแนวนโยบายประชารัฐ
          นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในฤดูฝน ทำให้มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เกิดน้ำท่วมขังและในบางพื้นที่มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆเอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก คาดว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้จะคล้ายปี 2558 ที่มีการระบาดสูงมาตั้งแต่ต้นปี ข้อมูลล่าสุดตั้งแต่ 1 มกราคม – 14 สิงหาคม 61 มีผู้ป่วยแล้ว 44,422 ราย เสียชีวิต 54 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มวัยเรียนถึงวัยทำงาน (อายุ 10-34 ปี) รวมกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยทั้งหมด  
          คาดว่าในช่วงหน้าฝนปีนี้ (มิ.ย.-ก.ย.) จะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากกว่า 10,000 รายต่อเดือน เห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม (13,233 และ 10,812 ราย ตามลำดับ) เฉพาะเดือนพฤษภาคมก่อนเข้าฤดูฝน กับเดือนมิถุนายนที่เป็นฤดูฝนแล้ว พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (7,020 กับ 13,233 ราย) โดยในช่วงนี้ทุกภาคของประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกได้
          นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวเพิ่มเติมว่าเพื่อรับมือกับโรคไข้เลือดออ กรมควบคุมโรคได้ดำเนินตามแนวนโยบายประชารัฐของรัฐบาลที่เน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ “อาสาปราบยุง ควบคุมโรคไข้เลือดออก : ทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่” เริ่มจากกระทรวงสาธารณสุขและขยายไปทุกหน่วยงานและทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดำเนินการในพื้นที่ 6 ร ได้แก่ โรงเรียน โรงแรม โรงงาน โรงพยาบาล โรงเรือน และโรงธรรม โดย“อาสาปราบยุง ควบคุมโรคไข้เลือดออก” จะทำหน้าที่ 1. ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อนบ้าน และญาติ 2. แนะนำและชวนเพื่อนบ้านและชุมชนสำรวจและกำจัดลูกน้ำในบ้านตนเองทุกสัปดาห์ จัดการแหล่งน้ำขังที่ยุงชอบวางไข่ และป้องกันยุงกัด อาทิ เช่น คว่ำ ถ้วย ชาม กะละมัง ไม่ให้น้ำขัง ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ และเก็บเศษขยะ ดูแลภาชนะที่ไม่ใช้แล้วไม่ให้มีน้ำขัง และหมั่นขัดทำความสะอาดภาชนะ ที่ใช้บรรจุน้ำทุกสัปดาห์เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งวางไข่ยุง 3. มีการรายงานผลการสำรวจให้ อสม. /รพ.สต.ทุกสัปดาห์ 4. หากพบผู้ป่วยสงสัย ให้แนะนำไปพบแพทย์ และให้ความรู้ที่ถูกต้องในการควบคุมแหล่งวางไข่ยุงแก่เจ้าของบ้านและทำลายแหล่งวางไข่ยุง 5. นำสเปรย์ฉีดยุงกระป๋องพ่นกำจัดยุงในบ้านผู้ป่วยทันทีภายใน 3 ชั่วโมง 6. ประสานกับทีมรพ.สต. เพื่อแจ้งทีมควบคุมโรค 7. ให้ความรู้ผู้ป่วย ในเรื่องการป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงกัด การดูแลรักษา ทานยาลดไข้เฉพาะยาพาราเซตตามอล ดื่มน้ำเกลือแทนดื่มน้ำเปล่า สังเกตอาการเสี่ยงต่อภาวะช็อก โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่ไม่ให้เกิน 10,000 ราย
          ทั้งนี้ขอแนะนำให้ประชาชนมั่นสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัว หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลันและไข้นานเกินกว่า 2 วัน  อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย เพราะหากเข้ามารับการวินิจฉัยช้า อาจเป็นเหตุสำคัญทำให้มีโรคแทรกซ้อนรักษายากขึ้นและเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตได้  ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 นายแพทย์สุวรรณชัยกล่าว
          “โรคไข้เลือดออก” เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า“เด็งกี่” ซึ่งเชื้อไวรัสเด็งกี่นี้มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ เด็งกี่ 1, เด็งกี่ 2, เด็งกี่ 3, และเด็งกี่ 4 โดยมีพาหะนำโรคคือยุงลาย ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก หลังจากมีไข้มาแล้วหลายวันผู้ป่วยอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อก มีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ วัดชีพจรไม่ได้ จนถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด
          กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเผยหลังฝนตกหลายพื้นที่จะมีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ เอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ชี้ข้อมูลปีนี้พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วกว่า 4 หมื่นราย เสียชีวิต 54 ราย พร้อมเดินหน้ารับมือสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ชู!!กิจกรรม “อาสาปราบยุง ควบคุมโรคไข้เลือดออก: ทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่” เน้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาไข้เลือดออก ตามแนวนโยบายประชารัฐ
          นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในฤดูฝน ทำให้มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เกิดน้ำท่วมขังและในบางพื้นที่มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆเอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก คาดว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้จะคล้ายปี 2558 ที่มีการระบาดสูงมาตั้งแต่ต้นปี ข้อมูลล่าสุดตั้งแต่ 1 มกราคม – 14 สิงหาคม 61 มีผู้ป่วยแล้ว 44,422 ราย เสียชีวิต 54 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มวัยเรียนถึงวัยทำงาน (อายุ 10-34 ปี) รวมกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยทั้งหมด  
          คาดว่าในช่วงหน้าฝนปีนี้ (มิ.ย.-ก.ย.) จะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากกว่า 10,000 รายต่อเดือน เห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม (13,233 และ 10,812 ราย ตามลำดับ) เฉพาะเดือนพฤษภาคมก่อนเข้าฤดูฝน กับเดือนมิถุนายนที่เป็นฤดูฝนแล้ว พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (7,020 กับ 13,233 ราย) โดยในช่วงนี้ทุกภาคของประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกได้
          นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวเพิ่มเติมว่าเพื่อรับมือกับโรคไข้เลือดออ กรมควบคุมโรคได้ดำเนินตามแนวนโยบายประชารัฐของรัฐบาลที่เน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ “อาสาปราบยุง ควบคุมโรคไข้เลือดออก : ทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่” เริ่มจากกระทรวงสาธารณสุขและขยายไปทุกหน่วยงานและทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดำเนินการในพื้นที่ 6 ร ได้แก่ โรงเรียน โรงแรม โรงงาน โรงพยาบาล โรงเรือน และโรงธรรม โดย“อาสาปราบยุง ควบคุมโรคไข้เลือดออก” จะทำหน้าที่ 1. ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อนบ้าน และญาติ 2. แนะนำและชวนเพื่อนบ้านและชุมชนสำรวจและกำจัดลูกน้ำในบ้านตนเองทุกสัปดาห์ จัดการแหล่งน้ำขังที่ยุงชอบวางไข่ และป้องกันยุงกัด อาทิ เช่น คว่ำ ถ้วย ชาม กะละมัง ไม่ให้น้ำขัง ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ และเก็บเศษขยะ ดูแลภาชนะที่ไม่ใช้แล้วไม่ให้มีน้ำขัง และหมั่นขัดทำความสะอาดภาชนะ ที่ใช้บรรจุน้ำทุกสัปดาห์เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งวางไข่ยุง 3. มีการรายงานผลการสำรวจให้ อสม. /รพ.สต.ทุกสัปดาห์ 4. หากพบผู้ป่วยสงสัย ให้แนะนำไปพบแพทย์ และให้ความรู้ที่ถูกต้องในการควบคุมแหล่งวางไข่ยุงแก่เจ้าของบ้านและทำลายแหล่งวางไข่ยุง 5. นำสเปรย์ฉีดยุงกระป๋องพ่นกำจัดยุงในบ้านผู้ป่วยทันทีภายใน 3 ชั่วโมง 6. ประสานกับทีมรพ.สต. เพื่อแจ้งทีมควบคุมโรค 7. ให้ความรู้ผู้ป่วย ในเรื่องการป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงกัด การดูแลรักษา ทานยาลดไข้เฉพาะยาพาราเซตตามอล ดื่มน้ำเกลือแทนดื่มน้ำเปล่า สังเกตอาการเสี่ยงต่อภาวะช็อก โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่ไม่ให้เกิน 10,000 ราย
          ทั้งนี้ขอแนะนำให้ประชาชนมั่นสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัว หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลันและไข้นานเกินกว่า 2 วัน  อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย เพราะหากเข้ามารับการวินิจฉัยช้า อาจเป็นเหตุสำคัญทำให้มีโรคแทรกซ้อนรักษายากขึ้นและเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตได้  ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 นายแพทย์สุวรรณชัยกล่าว

 

 pageview  1204948    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved