HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



ไม่เลือกเพศและวัย!! มะเร็งลำไส้ใหญ่








โรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรทั้งหญิง... ชายทั่วโลก คือ มะเร็งปอด รองลงมา มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งเต้านม ประเทศไทยพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งเช่นกัน มะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุด คือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ คนไทยเป็น...“มะเร็งลำไส้ใหญ่” ในอัตราประชากรชาย 10.9 คน ต่อประชากร 100,000 คน และในผู้หญิงมีอัตราส่วนอยู่ที่ 7.3 คน ต่อประชากร 100,000 คน

ทั่วโลก พบผู้ป่วยใหม่โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ประมาณ 1 ล้านคนต่อปี ในการนี้จะเสียชีวิตสาเหตุจากโรคประมาณ 0.5 ล้านคนต่อปี ส่วนในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2546 พบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนที่อยู่ในช่องท้องในผู้หญิง 5.2 รายและในส่วนลำไส้ตรง 2.6 ราย ต่อประชากรหญิง 100,000 คน ในผู้ชาย พบมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนอยู่ในช่องท้อง 7.4 ราย และในส่วนลำไส้ตรง 3.7 รายต่อประชากรชาย 100,000 คน

สถิติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทย

จากกราฟจะเห็นได้ว่า ในเพศชายจะพบผู้ป่วยที่เป็นมะเล็งลำไส้ อยู่อันดับที่ 1 (ดังกราฟที่ 1) และพบผู้ป่วยที่เป็นมะเล็งลำไส้ในเพศหญิง อยู่ในอันดับที่ 3 ก็ถือว่าเป็นอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็ง (ดังกราฟที่ 2)


กราฟที่ 1 แสดงโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศชาย ปี 2554



ที่มา : รายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ฉบับที่ 27 (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2554ถึงวันที่ 31 ธันวามคม 2554) หน่วยงานทะเบียนมะเร็ง กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ อ้างใน http://www.nci.go.th


กราฟที่ 2  แสดงโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศหญิง ปี 2554



ที่มา : รายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ฉบับที่ 27 (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2554ถึงวันที่ 31 ธันวามคม 2554) หน่วยงานทะเบียนมะเร็ง กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ อ้างใน http://www.nci.go.th

ในช่วงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้มากที่สุด คือ ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป จากกราฟจะเห็นได้ว่าช่วงอายุที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ในเพศชายเยอะที่สุด จะอยู่ในช่วงอายุ 65-69 ปี และช่วงอายุที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ในเพศหญิงเยอะที่สุด จะอยู่ในช่วง 55-59 ปี (ดังกราฟที่ 3)


กราฟที่ 3 แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้แยกตามช่วงอายุ ปี 2554



ที่มา : รายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ฉบับที่ 27 (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2554ถึงวันที่ 31 ธันวามคม 2554) หน่วยงานทะเบียนมะเร็ง กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ อ้างใน http://www.nci.go.th

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่

- อายุ 50 ปี หรือมากกว่า
- มีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- คนที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งรังไข่, มะเร็งมดลูก และมะเร็งเต้านม มาก่อน
- คนที่เคยมีติ่งเนื้อ (Polyps) ในลำไส้ใหญ่
- คนที่เคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
- โรคอ้วน
- สูบบุหรี่

วิธีการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

- รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหารที่มีผักผลไม้มากๆ หลีกเลี่ยงอาหารพลังงานสูง เช่น ของ หวานของมันเพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วน

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

- งดสูบบุหรี่

- ทำการตรวจคัดกรองโรคกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการชวนสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

“มะเร็ง” เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรโลก ผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมีสถิติสูงกว่าอุบัติเหตุและโรคหัวใจ ข้อมูลองค์การอนามัยโลกพบว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกๆปี จนคาดว่าจะเพิ่มเป็น 9 ล้านคน ในปี 2559 และเพิ่มเป็น 11.4 ล้านคน ในปี 2573






เรียบเรียงโดย :  ธัญญรัตน์ เกิดสุวรรณ สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา :  - http://www.tsco.or.th

 - http://www.nci.go.th

 - http://haamor.com