HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



แนวโน้มการเจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออก








เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลของโรคที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกซึ่งมักจะมีการระบาดอย่างหนักในช่วงฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วยเหตุนี้โรคไข้เลือดออกจึงเป็นโรคที่ต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

โดยตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคมพบผู้ป่วยจากโรคนี้รวมแล้ว 10147 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 15.97 ต่อแสนประชากร ทั้งนี้เมื่อย้อนกลับไปดูสถิติการเจ็บป่วยจากไข้เลือดออกนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาจะเห็นได้ว่า แนวโน้มของอัตราการป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิม มีอัตราผู้ป่วยอยู่ที่ 62.59 ต่อแสนประชากร ในปี 2547 เพิ่มขึ้นมาเป็น 141.78 ต่อแสนประชากร ในปี 2551 (ดังภาพ)


ภาพแสดงอัตราการป่วยจากไข้เลือดออก (ต่อแสนประชากร) ระหว่างปี 2547-2551 



ที่มา : คำนวนอัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกแบบ D.H.F. และ Dengue fever โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/


พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูงสุด

ในช่วงปีที่ผ่านมา (2554) สำนักระบาดวิทยาได้รวบรวมข้อมูลอัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดออก พบว่า พื้นที่ที่มีการป่วยจกโรคนี้มากที่สุด คือ ภาคกลางมีอัตราการป่วย 164.64 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ภาคเหนือ 102.00 ต่อแสนประชากร ภาคอีสาน 70.80 ต่อแสนประชากร และภาคใต้ 60.50 ต่อแสนประชากร (ดังตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 จำนวนผู้ที่ป่วยจากโรคไข้เลือดออก (อัตราป่วยต่อแสนประชากร) ปี 2554
จำแนกตามภาค

ภาค อัตราป่วย (ต่อแสนประชากร)
     ภาคกลาง 164.64
     เหนือ 102.00
     อีสาน 70.80
     ใต้ 60.50


ที่มา : คำนวนอัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกแบบ D.H.F. และ Dengue fever โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/

จากข้อมูลอัตราการป่วยในแต่ละภาคนั้น มีการรายงานซึ่งระบุจังหวัดที่พบยอดผู้ป่วยสูงสุดและต่ำสุดไว้ดังนี้

ภาคกลาง

- จังหวัดที่อัตราผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ เพชรบุรี (372.21 ต่อแสนประชากร) ฉะเชิงเทรา (281.68 ต่อแสนประชากร) สมุทรสาคร (263.78 ต่อแสนประชากร) สมุทรสงคราม (238.57 ต่อแสนประชากร) และระยอง (232.57 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ

- จังหวัดที่มีอัตราป่วยน้อยที่สุด 5 อันดับแรก คือ นนทบุรี (12.94 ต่อแสนประชากร) สิงห์บุรี (24.76 ต่อแสนประชากร) ปทุมธานี (75.63 ต่อแสนประชากร) พระนครศรีอยุธยา (81.29 ต่อแสนประชากร) และกาญจนบุรี (101.27 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 แสดงลำดับของจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดและน้อยที่สุดในเขตภาคกลาง ปี 2554
(อัตราป่วยต่อแสนประชากร)

ลำดับ จังหวัดป่วยมากที่สุด อัตราป่วย
(ต่อแสนประชากร)
จังหวัดที่ป่วยน้อยที่สุด อัตราป่วย (ต่อแสนประชากร)
1 เพชรบุรี 372.21 นนทบุรี 12.94
2 ฉะเชิงเทรา 281.68 สิงห์บุรี 24.76
3 สมุทรสาคร 263.78 ปทุมธานี 75.63
4 สมุทรสงคราม 238.57 พระนครศรีอยุธยา 81.29
5 ระยอง 232.57 กาญจนบุรี 101.27


ที่มา : คำนวนอัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกแบบ D.H.F. และ Dengue fever โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/



ภาคใต้

- จังหวัดที่อัตราผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ กระบี่ (156.65 ต่อแสนประชากร) พังงา (121.25 ต่อแสนประชากร) สตูล (110.92 ต่อแสนประชากร) พัทลุง (91.32 ต่อแสนประชากร) และสงขลา (75.77 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ

- จังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยน้อยที่สุด 5 อันดับแรก คือ ปัตตานี (21.23 ต่อแสนประชากร) ยะลา (23.24 ต่อแสนประชากร) สุราษฎร์ธานี (33.30 ต่อแสนประชากร) นราธิวาส (41.90 ต่อแสนประชากร) และระนอง (44.15 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3)


ตารางที่ 3 แสดงลำดับของจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดและน้อยที่สุดในเขตภาคใต้ ปี 2554
(อัตราป่วยต่อแสนประชากร)

ลำดับ จังหวัดป่วยมากที่สุด อัตราป่วย
(ต่อแสนประชากร)
จังหวัดที่ป่วยน้อยที่สุด อัตราป่วย (ต่อแสนประชากร)
1 กระบี่ 156.65 ปัตตานี 21.23
2 พังงา 121.25 ยะลา 23.24
3 สตูล 110.92 สุราษฏร์ธานี 33.30
4 พัทลุง 91.32 นราธิวาส 41.90
5 สงขลา 75.77 ระนอง 44.15


ที่มา : คำนวนอัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกแบบ D.H.F. และ Dengue fever โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/



ภาคอีสาน

- จังหวัดที่อัตราผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ สุรินทร์ (139.38 ต่อแสนประชากร) ศรีสะเกษ (136.96 ต่อแสนประชากร)ร้อยเอ็ด (129.26 ต่อแสนประชากร) บุรีรัมย์ (108.13 ต่อแสนประชากร) และนครราชสีมา 94.51 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ

- จังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยน้อยที่สุด 5 อันดับแรก คือ สกลนคร (7.66 ต่อแสนประชากร) อุดรธานี (9.44 ต่อแสนประชากร) หนองบัวลำพู (17.90 ต่อแสนประชากร) หนองคาย (21.09 ต่อแสนประชากร) และกาฬสินธุ์ (21.99 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4)


ตารางที่ 4 แสดงลำดับของจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดและน้อยที่สุดในเขตภาคอีสาน ปี 2554
(อัตราป่วยต่อแสนประชากร)

ลำดับ จังหวัดป่วยมากที่สุด อัตราป่วย
(ต่อแสนประชากร)
จังหวัดที่ป่วยน้อยที่สุด อัตราป่วย (ต่อแสนประชากร)
1 สุรินทร์ 139.38 สกลนคร 7.66
2 ศรีสะเกษ 136.96 อุดรธานี 9.44
3 ร้อยเอ็ด 129.26 หนองบัวลำพู 17.90
4 บุรีรัมย์ 108.13 หนองคาย 721.09
5 นครราชสีมา 94.51 กาฬสินธุ์ 21.99


ที่มา : คำนวนอัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกแบบ D.H.F. และ Dengue fever โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/



ภาคเหนือ

- จังหวัดที่อัตราผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ พิจิตร (337.46 ต่อแสนประชากร) นครสวรรค์ (244.08 ต่อแสนประชากร) กำแพงเพชร (171.91 ต่อแสนประชากร) พิษณุโลก (145.09 ต่อแสนประชากร) และสุโขทัย (139.29 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ

- จังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยน้อยที่สุด 5 อันดับแรก คือ น่าน (9.45 ต่อแสนประชากร) แพร่ (21.32 ต่อแสนประชากร) ลำปาง (24.98 ต่อแสนประชากร) ลำพูน (26.72 ต่อแสนประชากร) และพะเยา (31.04 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 5)


ตารางที่ 5 แสดงลำดับของจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดและน้อยที่สุดในเขตภาคเหนือ ปี 2554
(อัตราป่วยต่อแสนประชากร)

ลำดับ จังหวัดป่วยมากที่สุด อัตราป่วย
(ต่อแสนประชากร)
จังหวัดที่ป่วยน้อยที่สุด อัตราป่วย (ต่อแสนประชากร)
1 พิจิตร 337.46 น่าน 9.45
2 นครสวรรค์ 244.08 แพร่ 21.32
3 กำแพงเพชร 171.91 ลำปาง 24.98
4 พิษณุโลก 145.09 ลำพูน 26.72
5 สุโขทัย 139.29 พะเยา 31.04


ที่มา : คำนวนอัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกแบบ D.H.F. และ Dengue fever โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/

แม้ว่าจากสถิติการระบาดของไข้เลือดออกในช่วงปีที่ผ่านมาจะพบมาในเขตพื้นที่ของภาคกลาง แต่จากข้อมูลล่าสุดตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า จังหวัดที่พบผู้ป่วยในอัตราสูงที่สุด คือ จังหวัดกระบี่ พบยอดผู้ป่วย 914 คน คิดเป็นอัตราป่วย 211.23 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ระยอง พบผู้ป่วย 645 คน คิดเป็นอัตราป่วย 102.97 ต่อแสนประชากร ระนอง พบผู้ปวย 122 คน คิดเป็นอัตราป่วย 66.64 ต่อแสนประชากร จากยอดจำนวนผู้ป่วยที่มีมากกว่า 50 คนต่อแสนประชากรนี้ ทำให้กรมควบคุมโรคคาดการณ์ไว้ว่าแนวโน้มอัตราการป่วยจากไข้เลือดออกอาจจะสูงขึ้นอีกในปีนี้ และต้องมีการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงแต่การระบาดของโรคนี้ไว้เป็นพิเศษ







เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา :  - สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) Communication Diseases D.H.F. อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=26

- สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) Communication Diseases Dengue fever. อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=66

- หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงผิดปกติ คาดปีนี้ระบาดหนัก อ้างใน http://www.thairath.co.th/content/edu/269264