HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



ความฉลาดทางอารมณ์ และความฉลาดทางสติปัญญา








ความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ (Emotional Quotient หรือ Emotional Intelligence) ในภาษาไทยยังสามารถแปลความหมายได้อีกหลายชื่อ อาทิเช่น การบริหารอารมณ์ สติอารมณ์ อัจฉริยะทางอารมณ์ เชาว์อารมณ์ ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ ปรีชาเชิงอารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ปัญญาทางอารมณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้มาจากคำภาษาอังกฤษที่มีความหมายเดียวกัน

ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีจิตใจที่มั่นคง การมองโลกในแง่ดี รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ มีเหตุผล มีสติ สามารถควบคุมตนเอง มีความสามารถในการรับรู้ถึงความต้องการของคนอื่น และรู้จักมารยาททางสังคม เป็นต้น ความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ๓ ประการได้แก่ ๑. ความดี ๒. ความเก่ง ๓. ความสุข ซึ่งแต่ละปัจจัยก็ให้ความหมายที่แต่กต่างกันดังต่อไปนี้

ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง

- รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง

- ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้

- แสดงออกอย่างเหมาะสม


ความสามารถในการเห็นใจผู้อื่น

- ใส่ใจผู้อื่น

- เข้าใจและยอมรับผู้อื่น

- แสดงความเห็นใจอย่างเหมาะสม


ความสามารถในการรับผิดชอบ

- รู้จักการให้ รู้จักการรับ

- รู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย

- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม



เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบไปด้วย

ความสามารถในการรู้จักและสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง

- รู้ศักยภาพของตนเอง

- สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้

- มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย


ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

- รับรู้และเข้าใจปัญหา

- มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

- มีความยืดหยุ่น


ความสามารถในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น

- รู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

- กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

- แสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์



และสุดท้ายก็คือ สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเองพอใจในชีวิต และมีความสุขสงบทางใจ ประกอบไปด้วย

ความภูมิใจในตนเอง

- เห็นคุณค่าในตนเอง

- เชื่อมั่นในตนเอง


ความพึงพอใจในชีวิต

- รู้จักมองโลกในแง่ดี

- มีอารมณ์ขัน

- พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่


ความสงบทางใจ

- มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข

- รู้จักผ่อนคลาย

- มีความสงบทางจิตใจ


ดังนั้น ความฉลาดทางอารมณ์ สามารถสรุปได้ดังนี้

ความฉลาดทางอารมณ์ = เข้าใจตนเอง + เข้าใจผู้อื่น + แก้ไขความขัดแย้งได้

เข้าใจตนเอง ---> เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการในชีวิตของตนเอง

เข้าใจผู้อื่น ---> เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถแสดงออกมาได้อย่างเหมาะสม

แก้ไขความขัดแย้งได้ ---> เมื่อมีปัญหาสามารถแก้ไขจัดการให้ผ่านพ้นไปได้อย่างเหมาะสมทั้งปัญหาความเครียดในใจ หรือปัญหาที่เกิดจากการขัดแย้งกับผู้อื่น



นอกจากความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ยังมีความฉลาดอีกด้านหนึ่งที่ควบคู่กันไป คือ ความฉลาดทางสติปัญญา หรือ IQ (Intelligence Quotient) หมายถึง ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แสดงออกให้เห็นผ่านพฤติกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดจาก พันธุกรรมตลอดไปจนถึงสิ่งแวดล้อม และยังสามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขได้ เพื่อให้ผู้วัดมองเห็นความบกพร่องของความสามารถทางด้านอารมณ์ของตนเองที่ต้องพัฒนาและแก้ไข ดังนั้นจึมีการวัดค่าออกมาเพื่อแสดงถึงระดับ ความฉลาดทางอารมณ์ (IQ) ได้ดังนี้



การวัดค่าระดับไอคิว
  ฉลาดมาก (very superior)   130 คะแนนขึ้นไป
  ฉลาด (superior)   120-129 คะแนน
  สูงกว่าปกติ (bright normal)   110-119 คะแนน
  ปกติ (normal)   90-109 คะแนน
  ต่ำกว่าปกติ (dull normal)   80-89 คะแนน
  คาบเส้น (borderline)   70-79 คะแนน
  ปัญญาอ่อน (mental retardation)   ต่ำกว่า 70 คะแนน


ระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) ของมนุษย์

มนุษย์มีทั้งหมด 3 เผ่าพันธุ์หลัก คือ

1. คอเคซอยด์ เช่น ฝรั่ง, เเขกขาว, ละติน

2. มองโกลอยด์ เช่น เอเชียตะวันออก, เเขกดำ, อินเดียนเเดง, เอสกิโม

3. นิกรอยด์ เป็นสายพันธุ์ที่มียีนแรงที่สุด


มองโกลอยด์เป็นสายพันธุ์ที่มีระดับ IQ เฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อเทียบกันทั้ง 3 เผ่าพันธุ์ แต่เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ แบ่งย่อยออกเป็นเชื้อสาย “ยิว” (คอเคซอยด์สายพันธุ์หนึ่ง) ซึ่งเป็นเชื้อสายที่มี IQ เฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 117 สูงที่สุดในเผ่าพันธุ์ของมนุษย์หรือฉลาดที่สุดในโลกก็ว่าได้ ส่วนในแถบเอเชียนั้น ยังมี IQ ที่แตกต่างกัน อย่างเช่น คนเอเชีย (ผิวเหลือง) จะมี IQ เฉลี่ยสูงที่สุดคือ 106รองลงมาก็คือ คนเอเชีย (ผิวขาว) IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 100 และคนเอเชีย (ผิวสี) IQ จะอยู่ที่ 85 แต่เผ่าพันธุ์ที่มี IQ สูงสุด คือ ชาวยิว ที่มี IQ เฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 117 สูงที่สุดในเผ่าพันธุ์ของมนุษย์



ความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) ของเด็กไทยในปัจจุบัน

ผลจากการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย ปี 2554 จำแนกออกเป็นภูมิภาค ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ระดับ IQ เฉลี่ยทั่วประเทศ อยู่ที่ 98.59 เมื่อแบ่งออกตามภาคส่วน จะเห็นได้ว่าในส่วนของกรุงเทพคะแนนเฉลี่ย IQ อยู่ที่ 104.5 คะแนน ถือว่าสูงที่สุดในประเทศ รองลงมาก็คือภาคกลางอยู่ที่ 101.29 ภาคเหนือ 100.11 ภาคใต้ 96.85 และภาคอีสานเป็นภาคที่มีระดับ IQ เฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ที่ 95.85 คะแนน ตามลำดับ ดังภาพที่ 1


ภาพที่ 1 ผลการสำรวจค่าเฉลี่ย IQ ทั่วประเทศ จำแนกตามภูมิภาค



ที่มา : การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย 2554 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข



ในส่วนของเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า ในเขตพื้นที่การศึกษาจะมีระดับ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 100.26 คะแนน และนอกเขตการศึกษา มีระดับ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 97.46 คะแนน ตามลำดับ ดังภาพที่ 2


ภาพที่ 2 ผลการสำรวจค่าเฉลี่ย IQ จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา



ที่มา : การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย 2554 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

เมื่อจำแนกตามอายุ จะเห็นได้ว่าในช่วงอายุ 15 ปี เป็นช่วงอายุที่มีระดับ IQ เฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ที่ 100.96 คะแนน รองลงมาก็คือ อายุ 12 ปี มีระดับ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 100.38 และในช่วงอายุ 7 ปี มีระดับ IQ เฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ที่ 95.82 คะแนน ดังภาพที่ 3


ภาพที่ 3 ผลการสำรวจค่าเฉลี่ย IQ จำแนกตามอายุ (ปี)



ที่มา : การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย 2554 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

และเมื่อเทียบเป็นเพศ จะเห็นได้ว่าเพศหญิงจะมี ระดับ IQ เฉลี่ยสูงกว่าเพศชาย ซึ่งในเพศหญิงมีระดับ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 99.91 คะแนน และเพศชายอยู่ที่ 97.69 คะแนน ตามลำดับ ดังภาพที่ 4


ภาพที่ 4 ผลการสำรวจค่าเฉลี่ย IQ จำแนกตามเพศ



ที่มา : การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย 2554 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข


ระดับเฉลี่ยสติปัญญาของเด็กไทยต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศอื่นๆในโลกซึ่งมีระดับ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 104 คะแนน ซึ่งเด็กไทยมีระดับ IQ เฉลี่ย ที่ยังถือว่าต่ำอยู่ค่อนข้างมาก สำหรับสาเหตุหลักๆ น่าเกิดจาก

1. การขาดไอโอดีน ไอโอดีนมีผลต่อระดับ IQ

2. การศึกษา ไม่เอื้อต่อการพัฒนา อาจเป็นเพราะ หลักสูตร วิธีการสอน เท็คโนโลยียังน้อยมาก 3G บ้านเรายังไม่มี

3. สภาพแวดล้อม ในการเลี้ยงดู

4. กรรมพันธุ์ไม่น่ามีผล เพราะ โดยหลักวิชาการ น่าจะ อยู่ในระดับสูง






เรียบเรียงโดย :  ธัญญรัตน์ เกิดสุวรรณ สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา : - กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์สารนิเทศและประชาสัมพันธ์ กรมสุขภาพจิต, 2545.

- http://www.watpon.com/test/emotional_intelligence.htm

- http://www.oknation.net/blog/navyseal007/2007/11/18/entry-7

- http://www.oknation.net/blog/NVC/2010/12/10/entry-1