HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



คนไทยคิดสั้นเพิ่ม ผู้สูงอายุฆ่าตัวตายสูงขึ้น








องค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ไว้ว่าในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากถึงปีละกว่า 1 ล้านคน หรือเฉลี่ย 3,000 รายต่อวัน สำหรับประเทศไทยมีรายงานการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงถึง 4,000 รายต่อปี ฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จอีก 50,000 รายต่อปี อย่างไรก็ตาม หลังจากปี พ.ศ. 2542 อัตราเฉลี่ยการฆ่าตัวตายสำเร็จเริ่มลดลงมาเรื่อยๆ จาก 8 รายต่อประชากร 1 แสนคน มาอยู่ที่ 5-6 ราย ต่อประชากร 1 แสนคนในปัจจุบัน (ภาพที่ 1)


ภาพที่ 1 จำนวนการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร จำแนกตามปี




ที่มา : http://www.suicidethai.com/report/graph/stat_r.asp


โดยผู้ชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิงเกือบ 4 เท่า (ดังภาพที่ 2) และส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน แต่จากข้อมูลการฆ่าตัวตายสำเร็จเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า แนวโน้มการฆ่าตัวตายสำเร็จในผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีจำนวน 500 กว่าคนในปี 2553 เพิ่มเป็น 600 กว่าคนในปี 2554 (ดังภาพที่ 3) ซึ่งถือว่ามีจำนวนการฆ่าตัวตายที่ใกล้เคียงกับวัยแรงงานซึ่งมีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละประมาณ 700 – 900 คนต่อปี


ภาพที่ 2 แสดงจำนวนการฆ่าตัวตายต่อแสนประชากร ประจำปี พ.ศ. 2540-2544 จำแนกตามเพศ




ที่มา : http://www.suicidethai.com/report/stat2553_r.asp


ภาพที่ 3 แสดงจำนวนการฆ่าตัวตาย ประจำปี พ.ศ.2552-2554 จำแนกตามอายุ




ที่มา : http://www.suicidethai.com/report/dmh/age.asp


สำหรับจังหวัดที่พบการฆ่าตัวตายสำเร็จ 10 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดลำพูน มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 15.58 รายต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ระยอง 13.45 รายต่อแสนประชากร เชียงใหม่ 12.90 รายต่อแสนประชากร น่าน 12.17 รายต่อแสนประชากร เชียงราย 11.43 รายต่อแสนประชากร พะเยา 11.10 รายต่อแสนประชากร เพชรบูรณ์ 11.07 รายต่อแสนประชากร นครสวรรค์ 10.63 รายต่อแสนประชากร แพร่ 10.44 รายต่อแสนประชากร และอุตรดิตถ์ 10.39 รายต่อแสนประชากร (ดังภาพที่ 4)


ภาพที่ 4 แสดง 10 จังหวัดอันดับแรกที่มีอัตราการค่าตัวตายสูงสุด ในช่วงปี 2554 (รายต่อแสนประชากร)




ที่มา : http://www.suicidethai.com/report/graph/asp/chart_r.asp


การฆ่าตัวตายเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงปัญหาสังคม และยังสะท้อนถึงวิธีการแก้ไขปัญหาของคนไทยอีกด้านหนึ่ง นักวิชาการด้านสุขภาพจิตเผยว่า “การฆ่าตัวตายสำเร็จของคน 1 คนจะมีผลกระทบต่อผู้อื่นอีกอย่างน้อย 5 คน ได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อนสนิท คนรัก ดังนั้น ในประเทศไทยที่มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ยปีละ 4,000-5,000 คน ก็จะมีผู้รับผลกระทบทนทุกข์กับการสูญเสียถึงปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 คน”



เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา : - กรมสุขภาพจิต. ป้องกันการฆ่าตัวตายในทุกช่วงวัยของชีวิต.
   อ้างใน http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1047

- สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายของคนไทย: การสำรวจระดับชาติ.
   อ้างใน http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/56-4/08-Wan.pdf

- โครงการช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และป้องกันผู้มีภาวะซึมเศร้า. แสดง อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากร 100,000 คนแยกตามปี อ้างใน http://www.suicidethai.com/report/graph/stat_r.asp