HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



สำรวจสุขภาพแรงงานหญิงชาย








ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 54.32 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานประมาณ 38.80 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 71.4 ของประชากรทั้งหมด) แบ่งเป็นชายจำนวน 21.13 ล้านคน และหญิง จำนวน 17.67 ล้านคน

ประชากรในวัยแรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล เกือบร้อยละ 98.3 โดยหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชายเล็กน้อย คือ ร้อยละ 98.5 ต่อร้อยละ 98.0

สวัสดิการฯ ที่แรงงานได้รับส่วนใหญ่ คือ บัตรประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ร้อยละ 24.6 รองลงมาเป็นประกันสังคม/กองทุนเงินทดแทน ร้อยละ 9.6 โดยแรงงานหญิงได้รับสวัสดิการจากบัตรประกันสุขภาพ (บัตรทอง) สูงกว่าชาย คือ ร้อยละ 26.1 ต่อ ร้อยละ 22.7 ขณะที่แรงงานชายได้รับสวัสดิการประเภทบัตรประกันสังคมมากกว่า คือ ร้อยละ 12.0 ต่อ ร้อยละ 7.5

ทั้งนี้มีแรงงานบางส่วนที่ไม่ได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลใด ๆ อีก ร้อยละ 1.7 ซึ่งเป็นแรงงานชายสูงกว่าหญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 2.0 ต่อ ร้อยละ 1.5) (ดังตารางที่ 1)


ตารางที่ 1  จำนวนและร้อยละของแรงงาน จำแนกตามการมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
จำแนกตามเพศ ทั้งราชอาณาจักร พ.ศ. 2552

 
ประเภทสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล รวม ชาย หญิง
   ไม่มีสวัสดิการฯ 1.7 2 1.5
   มีสวัสดิการฯและใช้ 38.1 38.3 37.8
   บัตรประกันสุขภาพ (บัตรทอง) 24.6 22.7 26.1
   บัตรประกันสุขภาพ (บัตรทอง) 24.6 22.7 26.1
   ประกันสังคม/กองทุนเงินทดแทน 9.6 12 7.5
   สวัสดิการข้าราชการหรือ
   ข้าราชการบำนาญ/รัฐวิสาหกิจ
3.3 2.8 3.7
   ประกันสุขภาพกับบริษัทประกัน 0.6 0.7 0.5
   สวัสดิการจัดโดยนายจ้าง 0 0.1 0
   มีสวัสดิการฯ แต่ไม่ใช้ 60.2 59.7 60.7



ที่มา : ภาวะสุขภาพแรงงานไทย พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
อ้างใน service.nso.go.th/nso/nsopublish/download/files/LaborHealty.pdf


เมื่อสอบถามถึงโรคที่แรงงานหญิงชายป่วยมากที่สุดในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 32.5 รองลงมาคือ ปวดหลังและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 20.7 และโรคเครียด นอนไม่หลับ และปวดหัว ร้อยละ 18.9 ตามลำดับ

โดยโรคที่แรงงานชายป่วยมากกว่าแรงงานหญิง คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 33.4 ต่อร้อยละ 31.9 รองลงมาคือ โรคปวดหลังและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 24.6 ต่อ ร้อยละ 17.6 ในขณะที่โรคที่แรงงานหญิงป่วยมากกว่าแรงงานชายได้แก่ โรคเครียด นอนไม่หลับ และปวดหัว ร้อยละ 21 ต่อ ร้อยละ 16.2 (ดังตารางที่ 2)

ตารางที่ 2  จำนวนร้อยละของแรงงานที่ป่วย
จำแนกตามกลุ่มโรค และเพศ ทั่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2552
 
กลุ่มโรค รวม ชาย หญิง
   ระบบทางเดินหายใจ 32.5 33.4 31.9
   ท้องร่วง/ท้องเสีย/บิด 3.3 3.7 2.9
   ปวดท้อง/ท้องอืด/ท้องเฟ้อ/
   โรคกระเพาะ
9.4 8.7 10
   ปวดหลัง/ปวดกล้ามเนื้อ 20.7 24.6 17.6
   ความเครียด/นอนไม่หลับ/ปวดหัว 18.9 16.2 21
   โรคผิวหนัง/กลากเกลื้อน/ผดผื่น 1.4 1.2 1.5
   ตา/หู/คอ/จมูก 1.8 1.9 1.7
   โรคในช่องปาก/ฟันผุ/โรคเหงือก 0.6 0.9 0.3
   โรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว 11.4 9.4 13.1



ที่มา : ภาวะสุขภาพแรงงานไทย พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
อ้างใน service.nso.go.th/nso/nsopublish/download/files/LaborHealty.pdf


สำหรับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบาดเจ็บนั้นพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับการบาดเจ็บเนื่องจากการขับขี่รถมอเตอร์ไซต์มากถึงร้อยละ 27.1 รองลงมาคือ อุบัติเหตุอื่นๆ ร้อยละ 13.6 และการถูกทำร้ายโดยการใช้ของมีคม ร้อยละ 10.9 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่แรงงานชายจะได้รับการบาดเจ็บมากกว่าแรงงานหญิง ยกเว้น กรณีการบาดเจ็บที่เกิดจากการพลัดตกหกล้ม การถูกทำร้ายโดยใช้กำลัง และการถูกทำร้ายโดยการใช้วัตถุมีคม (ดังตารางที่ 3)

ตารางที่ 3  จำนวนและร้อยละของแรงงานที่ได้รับการบาดเจ็บ
จำแนกตามประเภทการบาดเจ็บตามเพศ ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2552
 
ประเภทของการบาดเจ็บ รวม ชาย หญิง
   รถจักรยานยนต์ 27.1 30.8 20.8
   รถยนต์ รถกะบะ 5.2 4.5 6.2
   รถบรรทุกขนาดใหญ่
   และยานพาหนะอื่นๆ
0.8 0.7 1
   ถูกเครื่องจักรกล 8.2 8.7 7.4
   ถูกสัตว์มีพิษ 9.6 9.8 9.2
   ถูกสารเคมี 1.4 1.6 1.1
   พลัดตกหกล้ม 20 17.2 24.7
   อุบัติเหตุอื่นๆ 13.6 14.9 11.3
   ถูกทำร้ายโดยใช้กำลัง 2 1.1 3.7
   ถูกทำร้ายโดยใช้วัตถุมีคม 10.9 9.2 13.9
   ถูกทำร้ายโดยวิธีอื่นๆ 1.2 1.5 0.7



ที่มา : ภาวะสุขภาพแรงงานไทย พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
อ้างใน service.nso.go.th/nso/nsopublish/download/files/LaborHealty.pdf


ทั้งชายและหญิงต่างก็เป็นแรงงานที่ช่วยในการพัฒนาประเทศชาติ การได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเช่น การรักษาโรค จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสุขภาพที่ดีย่อมทำให้ร่างกายแข็งแรงสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงงานหญิงอีกเป็นจำนวนมากที่ยังประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพ ทั้งความเครียดจากการทำงาน รวมไปถึงการถูกทำร้ายร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ นานา ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรจะเพิกเฉยอีกต่อไป เพราะแรงงานหญิงก็มีส่วนสำคัญต่อการร่วมพัฒนาประเทศเท่าๆ กับแรงงานชายเหมือนกัน




เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา : - สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ภาวะสุขภาพแรงงานไทย พ.ศ. 2553
  อ้างใน service.nso.go.th/nso/nsopublish/download/files/LaborHealty.pdf

- สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลจากการสํารวจภาวะการทำงานของประชากรไทยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
  อ้างใน http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/lfs55/reportFeb.pdf