HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



สำรวจความมั่นคงในชีวิต (3)
ปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน









กลุ่มประเมินผล สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในปี 2554 จำนวน 7,779 แห่งของพื้นที่ 4 ภาค รวมทั้งหมด 75 จังหวัด จากการสำรวจตัวบ่งชี้ต่างๆ ทั้งหมด 8 ด้านที่สะท้อนถึงปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาต่างๆ ดังนี้

1. ประชาชนถูกทำร้ายร่างกายในรอบปีที่ผ่านมา พบมากที่สุดในภาคกลาง ร้อยละ 9,669 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 34.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 16.7 และภาคใต้ ร้อยละ 14.2 ตามลำดับ

2. ประชาชนถูกล่วงละเมิดทางเพศในรอบปีที่ผ่านมา พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 35.2 รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 34.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 18.0 และภาคใต้ ร้อยละ 12.8 ตามลำดับ

3. ประชาชนถูกลักทรัพย์/ชิงทรัพย์/ถูกทำร้ายทรัพย์สินในรอบปีที่ผ่านมา พบมากในภาคกลาง ร้อยละ 33.9 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 28.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 18.2 และภาคใต้ ร้อยละ 17.1 ตามลำดับ

4. ประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุจากยานพาหนะในรอบปีที่ผ่านมา พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 33.8 รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 26.9 ภาคเหนือ ร้อยละ 20.0 และภาคใต้ ร้อยละ 15.3 ตามลำดับ

5. ประชาชนที่ประสบภัยจากการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา พบมากที่สุดในภาคใต้ ร้อยละ 32.4 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 30.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 20.1 และภาคกลาง ร้อยละ 17.1 ตามลำดับ

6. ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยในรอบปี (ทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์) พบมากที่สุดในภาคใต้ ร้อยละ 36.2 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 21.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 21.7 และภาคกลาง ร้อยละ 20.3

7. คนสูญหายติดต่อไม่ได้ในรอบปี พบมากที่สุดในภาคใต้ ร้อยละ 42.6 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 22.0 ภาคกลาง ร้อยละ 21.6 และภาคเหนือ ร้อยละ 13.8 ตามลำดับ

8. อื่นๆ เช่น ประชาชนถูกหลอกลวงฉ้อโกง/หลอกลวง วัยรุ่นก่อเหตุทะเลาะวิวาท เกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ พบมากที่สุดในภาคกลาง ร้อยละ 48.8 รองลงมาคือ ภาคใต้ ร้อยละ 45.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 4.0 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 2.3 ตามลำดับ

เมื่อนำตัวบ่งชี้ทั้ง 8 ด้านมารวมกัน ภูมิภาคที่มีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด คือ ภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 33.8 รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 22.0 และภาคกลาง ร้อยละ 21.2 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชาชนที่ประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน



ที่มา : ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ้างใน  http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf

ภาคใต้เป็นภาคที่รวมชนชาติต่างๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตที่แตกต่างหลากหลายมาอยู่รวมกัน ด้วยเหตุนี้คนใต้จึงต้องปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไปพร้อมๆ กับการที่ต้องรักษาความเชื่อแบบธรรมเนียมที่เป็นบรรทัดฐานของสังคมไว้ เพื่อให้การดำเนินชีวิตราบรื่นผาสุขตามครรลองที่สืบทอดกันมา แต่ภาคใต้ก็ยังประสบกับปัญหาความไม่ปลอดภัยจากชีวิตและทรัพย์สิน เพราะเกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝนตก ดินถล่ม และน้ำท่วม เหตุการณ์ดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชนในพื้นที่



เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา :  - กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อ้างใน http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf